โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

แบงก์ไทย เร่งเครื่องสินเชื่อยั่งยืน 4 เรื่อง SME ต้องเตรียมพร้อม

Businesstoday

อัพเดต 2 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 9 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Businesstoday

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ในไทย เร่งออกสินเชื่อยั่งยืนมากขึ้น จนสัดส่วนยอดคงค้างสินเชื่อยั่งยืนต่อสินเชื่อรวมเร่งขึ้นจากเฉลี่ย 1.6% ในปี 2021 เป็น 3.9% ในปี 2024 จากการเร่งบรรลุเป้าหมายการสนับสนุนการเงินยั่งยืน โดย ณ สิ้นปี 2024 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ของไทย 3 แห่ง บรรลุเป้าหมายการสนับสนุนการเงินยั่งยืนอย่างรวดเร็ว เฉลี่ย 74.1% จากเป้าหมาย 1.5 – 2.5 แสนล้านบาท ภายในปี 2025 – 2030

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าพอร์ตสินเชื่อของธนาคารจะทยอยเพิ่มสัดส่วนไปสู่ Green Portfolio มากขึ้นในระยะยาว จากแนวโน้มการขยายเป้าหมายวงเงินสนับสนุนการเงินยั่งยืน หลังใกล้บรรลุเป้าหมายเดิม

สิ้นปี 2024 สินเชื่อยั่งยืนกระจุกอยู่ในบริษัทขนาดใหญ่เกือบ 90% โดยเฉพาะภาคพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และพลังงาน จากการเร่งปรับตัวของอุตสาหกรรมที่ปล่อยคาร์บอนสูง ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนน้อยที่สุดเพียง 2% จากข้อจำกัดด้านต้นทุนและความซับซ้อนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่กระบวนการผลิตที่ยั่งยืน

แต่ในระยะข้างหน้า ช่องว่างตลาด (1.6 แสนล้านบาท) มีแนวโน้มกระจายมายัง SMEs และรายย่อยมากขึ้น จากการขยายฐานลูกค้าใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มที่ยังไม่ได้รับบริการเพียงพอ (underserved market) เพื่อลดความเสี่ยงจากการกระจุกตัวของสินเชื่อสำหรับธนาคารพาณิชย์

อีกทั้ง การแข่งขันทั้งในแง่ราคาและบริการจะเข้มข้นมากขึ้น จากการจำกัดอุตสาหกรรมที่ผ่านเกณฑ์ Thailand Taxonomy ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ต้องการเพิ่มการปล่อยสินเชื่อยั่งยืน ส่งผลให้ผู้ประกอบการ SMEs และรายย่อยมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อยั่งยืนได้มากขึ้น นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ในไทยอาจพิจารณาออกผลิตภัณฑ์ ‘ลดอัตราดอกเบี้ยตามการลดคาร์บอน’(Outcome-Based Rate) ถ้า SME ลดการปล่อย CO₂ ได้ตามแผน หรือเพิ่มบริการวัดคาร์บอนฟรี

การเตรียมตัวเพื่อขอรับสินเชื่อยั่งยืน ต้องแสดงให้เห็นถึงผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมทั้งความโปร่งใสในการดำเนินโครงการ โดย SMEs และรายย่อยอาจเตรียมตัวยื่นขอสินเชื่อยั่งยืน ดังนี้

1.พัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับเกณฑ์ ESG เป็นการออกแบบหรือปรับโครงการให้มีผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม หรือสังคม เช่น โครงการ Solar PV , โครงการ Wastewater Recycling

2.จัดเตรียมข้อมูลและหลักฐานสนับสนุน เป็นการรวบรวมข้อมูลหรือรายงานที่แสดงผลลัพธ์ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น รายงานการลดการปล่อยคาร์บอน , ใบรับรองระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น ISO 14001 , เอกสารรับรองผลิตภัณฑ์ เช่น Thai Green Label

3.ใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีช่วยตรวจสอบและวัดผล เป็นการเพิ่มความโปร่งใสโดยใช้เทคโนโลยีตรวจวัดและติดตาม เช่น ระบบ Smart Meter หรือตัววัดพลังงานแบบเรียลไทม์ , ติดตั้งระบบ Energy Monitoring Dashboard

4.จัดเตรียมแผนธุรกิจและแผนทางการเงินที่ชัดเจน เป็นการนำเสนอแผนธุรกิจที่แสดงถึงความมั่นคงและผลตอบแทนของโครงการ เช่น จัดทำแผนธุรกิจที่แสดงรายได้ ค่าใช้จ่าย และจุดคุ้มทุนของโครงการ , แสดงการประหยัดต้นทุนระยะยาว เช่น
ค่าไฟฟ้าที่ลดลง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Businesstoday

Business Today Thai Politics 14 กรกฎาคม 2568

9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เซ็นแล้ว! ผู้ว่าฯแบงก์ชาติคนใหม่ รมว.คลัง เสนอชื่อเข้า ครม. 15 ก.ค. นี้

15 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่นๆ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...