โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

'พิชัย' เปิดตลาดแลกลดภาษีสหรัฐ เตรียมซอฟต์โลน 2 แสนล้านเยียวยา

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“กรุงเทพธุรกิจ” เสวนาโต๊ะกลม “The Art of (Re) Deal” เมื่อวันที่ 14 ก.ค.2568 โดยมีผู้แทนภาครัฐ ภาคเอกชน และนักเศรษฐศาสตร์ ร่วมประเมินผลกระทบ และแนวทางการรับมือผลกระทบจากนโยบายภาษีตอบโต้ของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ที่ประกาศคงอัตราภาษีตอบโต้สินค้านำเข้าจากไทยที่ 36% ถึงวันที่ 1 ส.ค.2568 และระหว่างนี้รัฐบาลไทยเดินหน้าเจรจากับสหรัฐเพื่อสรุปดีล

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การเจรจาภาษีกับสหรัฐดำเนินมากว่า 100 วัน และจะครบเส้นตายวันที่ 1 ส.ค.2568 ซึ่งยังมีความไม่ชัดเจน และคาดเดาไม่ได้ว่าบทสรุปอย่างไร

ทั้งนี้ สหรัฐพยายามลดขาดดุลการค้า โดยให้สินค้าสหรัฐเข้าสู่ตลาดมากขึ้น (Market Access) จึงต้องเจรจาเปิดตลาดให้สหรัฐ และเจรจามาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (NTB) ถือว่าสหรัฐใช้การเจรจาที่เป็นข้อเสนอฝ่ายเดียวต่างจากการเจรจาข้อตกลงเสรีการค้า (FTA)

“ถ้าตกลงไม่ได้จะเจอกำแพงภาษี และข้อเสนอ NTB ต้องเจรจาเพื่อหลีกเลี่ยงกำแพงภาษี และต้องดูเงื่อนไขว่าอะไรจะกระทบประเทศที่ 3 และประเทศคู่ค้าอื่น รวมทั้งภูมิรัฐศาสตร์ต้องดูว่ามีการเจรจาที่ไม่เป็นการชักศึกเข้าบ้านด้วย” นายพิชัย กล่าว

การเจรจาภาษีกับสหรัฐอยู่บนหลักการที่ทีมเจรจาของไทยได้ยึดหลักการ ดังนี้

1.ไทยต้องเปิดตลาดกว้างขึ้นสำหรับสินค้าที่สหรัฐต้องการขาย และไทยอยากซื้อ แต่ต้องดูการเปิดตลาดที่ไม่กระทบ FTA ที่ไทยตกลงกับคู่ค้าอื่น โดยการเสนออัตราภาษีให้สหรัฐ 0% ในสินค้าที่ไทยผลิตไม่ได้ และต้องนำเข้า หรือไทยผลิตไม่เพียงพอ โดยต้องป้องกันภาคการผลิต และภาคเกษตร

“ข้อเสนอใหม่ที่ไทยส่งไปเปิดตลาดให้สหรัฐ 63-64% และเพิ่มเป็น 69% ไทยเปิดตลาดสินค้าบางรายการที่ไม่เคยเปิดตามที่ขอมา เช่น ลำไย ปลานิล ส่วนตลาดยานยนต์กำลังพิจารณา ซึ่งเดิมไทยผลิตเยอะจึงไม่เปิดตลาดให้ แต่ถ้าเปิดให้คงเข้ามาไม่ได้ง่าย เช่น รถพวงมาลัยซ้าย เพราะสหรัฐมีตลาดอื่นทั่วโลกคงไม่เข้ามาขายที่ไทยมาก” นายพิชัย กล่าว

2.ส่งเสริมการลงทุนของธุรกิจไทยในสหรัฐมากขึ้น เพราะสหรัฐต้องการส่งออกมากขึ้น และทำฐานผลิตในสหรัฐให้แข็งแรงขึ้น เช่น การลงทุนเกษตรแปรรูป

ขณะที่การนำเข้าสินค้าสหรัฐได้พิจารณาพลังงานมากขึ้น โดยปัจจุบันสหรัฐมีปริมาณพลังงานสำรองสูงทำให้มีราคาต่ำ เช่น ก๊าซธรรมชาติราคา 2-3 ดอลลาร์ ต่อล้าน BTU ถูกกว่าราคาตลาดที่ 10-11 ดอลลาร์

ชู Local content ป้องการสวมสิทธิ

3.การให้ความสำคัญกับการป้องกันการสวมสิทธิสินค้าไทย โดยสหรัฐต้องการเพิ่มการใช้วัตถุดิบหรือส่วนประกอบไทย (Local content) เป็นโจทย์ที่ต้องดูว่าสหรัฐกำหนดสัดส่วนเท่าไร ซึ่งอาจเพิ่มจาก 40% ในปัจจุบันเป็น 60-70% และมีเงื่อนไข Local content มากขึ้นเพื่อป้องกันการสวมแหล่งกำเนิดสินค้า

ทั้งนี้ มีตัวอย่างจากสินค้าเวียดนามที่ใช้ Local Content น้อยมาก ซึ่งทำให้ถูกสหรัฐประกาศอัตราภาษีสินค้าผ่านมาทางสูงถึง 40% ขณะที่ไทยพึ่งพาตัวเองมากขึ้นในการผลิต และทำให้ซัพพลายเชนที่เป็น Local Content สูงขึ้น

“เรื่องนี้เป็นยาขมที่ทุกประเทศโดนหมด ดังนั้นต้องเข้าใจ และเดินไปในทิศทางเดียวกัน ตัดสินใจยึดถึงผลประโยชน์ประเทศเป็นหลัก แต่ไม่มีอะไรได้มา 100% การจะได้อะไรมาบางอย่างก็ต้องยอมสูญเสียไปบ้าง เป็นแบบ Zero-Sum Game” นายพิชัย กล่าว

เตรียมงบซอฟต์โลน 2 แสนล้านเยียวยา

นายพิชัย กล่าวว่า การเยียวยาผู้ประกอบการที่ต้องเจาะถึงSMEs และภาคเกษตร โดยให้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐเตรียมสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) 200,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.1% เพื่อช่วยเหลือทั้งการลงทุน ช่วยการจ้างงาน การบริหารสินค้าคงคลัง

รวมถึงมีมาตรการอื่นของสถาบันการเงินที่เตรียมการมาระยะหนึ่งแล้ว โดยรัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยให้จากระดับปกติที่ดอกเบี้ย 2% ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการเพิ่มเติมจากที่วางไว้

นอกจากนี้ได้มีการขอให้ผู้ประกอบการที่เป็นภาคเอกชนรายใหญ่ของสหรัฐที่มีการผลิตสินค้าในประเทศไทย และได้ประโยชน์จากการมีฐานผลิตในประเทศไทยไปช่วยชี้แจงเรื่องนี้ด้วยเพราะสินค้าที่กลับไปขายที่สหรัฐบางส่วนผลิตจากโรงงานในประเทศไทย แต่ใช้ความเชี่ยวชาญจากแรงงานในประเทศไทย ให้ช่วยชี้แจงเรื่องนี้กับสหรัฐด้วย

“พาณิชย์” วาง 3 มาตรการช่วยเยียวยา

นายรัชวิชญ์ ปิยะปราโมทย์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ปัจจุบันมี 2 ประเทศที่ปิดดีลภาษีเสร็จสิ้น คือ สหราชอาณาจักร และเวียดนาม ล่าสุดสหรัฐประกาศเก็บภาษีญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ 25% ขณะที่ประเทศอื่นประกาศบังคับใช้ภาษีในวันที่ 1 ส.ค.2568 โดยไทยถูกเก็บภาษี 36% ซึ่งอยู่ระหว่างเจรจา และมีเป้าหมายอัตราภาษีต่ำที่สุดเพื่อให้ได้เปรียบประเทศคู่แข่ง

ส่วนมาตการเฝ้าระวังสินค้าสวมสิทธิแหล่งกำเนิดสินค้านั้น กรมการค้าต่างประเทศเป็นผู้ออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า หรือ C/O สำหรับสินค้าส่งออกไปสหรัฐเบื้องต้นมีสินค้าที่เฝ้าระวัง 49 รายการ และกำลังพิจารณาเพิ่มเติมสินค้าเฝ้าระวัง

กระทรวงพาณิชย์เตรียมมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ โดยหารือทุกเซกเตอร์ที่ได้รับผลกระทบแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

1.การช่วยเหลือด้านการเงินให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำหรือซอฟต์โลน

2.การหาตลาดใหม่ใหม่ให้กับผู้ประกอบการโดยมีเป้าหมายใน 5 ตลาดประกอบด้วย ตลาดลาตินอเมริกา ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ แอฟริกา และยุโรป

3.การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเพิ่มมูลค่าสินค้า การใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ในการซื้อขาย

นอกจากนี้ เร่งเจรจา FTA ซึ่งเป็นเครื่องมือดึงดูดการลงทุน ซึ่งการค้าระหว่างประเทศของไทยทำการค้ากับประเทศที่มี FTA คิดเป็น 60% ของการค้าทั้งหมดของไทย โดยมีเป้าหมายเพิ่มเป็น 80% ภายในปี 2570 รวมทั้งไทยกำลังเจรจา FTA กับสหภาพยุโรป (EU) เจรจาไปแล้ว 6 รอบ สรุปข้อบทไปหลายเรื่อง โดยตั้งเป้าว่าปิดดีลภายในปี 2568

“การเจรจาภาษีสหรัฐทีมเจรจาจากทุกหน่วยงานทำเต็มที่ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนร่วมมือกัน โดยมีเป้าหมายให้ได้อัตราภาษีที่ต่ำที่สุดต้องยอมรับว่าการเจรจาเป็นเรื่องที่ยากต้องใช้เวลาแต่ยืนยันว่าทีมเจรจาจะทำอย่างรอบคอบ และดีที่สุด” นายรัชวิชญ์ กล่าว

บีโอไอแนะเป็นซัพพลายเชนสหรัฐ

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า ทิศทางจากนี้ไทยต้องผูก Supply Chain กับสหรัฐมากขึ้นทั้งการลงทุนสหรัฐในไทยและการลงทุนไทยในสหรัฐ เพื่อให้ไทยเป็นพันธมิตรใน Supply Chain ของสหรัฐในอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น Semiconductor อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และดิจิทัล และให้สหรัฐมองไทยเป็นฐานขยายตลาดเข้าอาเซียน

ทั้งนี้ นายนฤตม์ กล่าวว่า ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา การลงทุนของสหรัฐในไทยมี 135 โครงการ เงินลงทุน 150,000 ล้านบาท หากรวมบริษัทสหรัฐที่ลงทุนผ่านสิงคโปร์จะมากกว่า 200,000 ล้านบาท สำหรับทิศทางในอนาคตไทยเน้นบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยี 5 กลุ่มเป้าหมาย คือ

1.Semiconductor และ Advanced Electronic ตั้งแต่การผลิตชิป ซึ่งไทยโดดเด่นด้านการประกอบ และทดสอบขั้นสูง รวมถึงการผลิตฮาร์ดดิสก์สำหรับ Data Center และชิ้นส่วนการผลิตโน้ตบุ๊ก

2.Digital และ AI ทั้ง Data Center ระดับ Hyperscale และบริการคลาวด์มาตรฐานสูง

3.ยานยนต์ ทั้งรถยนต์ของสหรัฐ อาทิ Ford และ Big Bike อย่าง Harley-Davidson ซึ่งมีการลงทุนในไทยอยู่แล้ว และมีแผนอัปเกรดไปสู่ EV รวมถึงชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานยนต์

4.อุตสาหกรรมชีวภาพ (Bio-Technology) ผสมผสานเทคโนโลยีสหรัฐกับวัตถุดิบทางการเกษตรและความหลากหลายทางชีวภาพของไทย รวมถึงไบโอเทคทางการแพทย์

5.การเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ เชิญชวนบริษัทสหรัฐ มาตั้งสำนักงานใหญ่ (Regional Headquarter) หรือเป็นฐานศูนย์วิจัยในภูมิภาค (R&D)

บีโอไอชี้ 5 ปัจจัยสำคัญกว่าภาษี

นายนฤตม์ เน้นย้ำว่า ภาษีไม่ใช่ปัจจัยเดียวในการตัดสินใจลงทุน แต่มีอย่างน้อย 5 เรื่องหลักที่ไทยได้เปรียบ ได้แก่

1.โครงสร้างพื้นฐาน ทั้งน้ำ ไฟ นิคมอุตสาหกรรม ท่าเรือ และสนามบิน

2.ซัพพลายเชนในประเทศโดยเฉพาะอุตสาหกรรมหลัก เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า

3.บุคลากรทั้งแรงงานฝีมือ วิศวกร ช่างเทคนิค รวมถึงมาตรการดึงดูดผู้เชี่ยวชาญต่างชาติผ่าน Smart Visa และ Residence

4.สิทธิประโยชน์ และมาตรการจากภาครัฐ ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้

5.การเข้าถึงตลาด (Market Access) ไทยมีตลาดในประเทศขนาดใหญ่เกือบ 70 ล้านคน มี FTA 17 ฉบับ ครอบคลุม 24 ประเทศ และกำลังเจรจากับ EU เกาหลี และแคนาดา

“หากไทยเจรจาภาษี Reciprocal Tariffs อยู่ในอัตราที่ใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ก็คิดว่า 5 ปัจจัยที่กล่าวมานี้ จะเป็นจุดแข็งของไทย ทำให้เราเป็นประเทศดึงดูดการลงทุนที่โดดเด่นที่สุดในภูมิภาค”

พิสูจน์อักษร….สุรีย์ ศิลาวงษ์

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

'วิปฝ่ายค้าน' กำชับ สส. เข้าประชุม ชี้มีโอกาสโหวตชนะ กฎหมายสำคัญ

16 นาทีที่แล้ว

ศาลฎีกาฯไต่สวนพยานนัด 4 คดี 'ทักษิณ' เรียกอธิบดีกรมราชทัณฑ์แจง

18 นาทีที่แล้ว

8 หุ้นแบงก์ร่วง BBL นำกลุ่มลบ 3.11% กังวล ผู้ว่า ธปท. คนใหม่ 'โบรก'ชี้ กระทบแค่เซนติเมนต์

26 นาทีที่แล้ว

ผลพวงนโยบายทรัมป์ กระตุ้น ‘เอเชีย’ สร้างตลาดการค้าใหม่

27 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

AOT พุ่งต่อ 4% จับตา “กองทุนสิงคโปร์” เข้าลงทุน-เจรจา King Power ชัดเจน ต.ค.นี้

ข่าวหุ้นธุรกิจ

BTG บวก 1% ลุ้นผลงาน Q2 โตเด่น รับราคาเนื้อสัตว์พุ่ง-ต้นทุนลด โบรกชูเป้า 25 บาท

ข่าวหุ้นธุรกิจ

4 หุ้นวิ่ง! รับรัฐผุด “ซอฟต์โลน 2 แสนล้าน! “บีโอไอ” ดึงมะกันลงทุน 5 กลุ่มธุรกิจเทค

ข่าวหุ้นธุรกิจ

Bernstein ฟันธง Bitcoin แตะ $200,000 ต้นปี 2026

ทันหุ้น

TISCO ลุ้นวันนี้ ฟินันเซียไซรัสคาดกำไร Q2 ที่ 1.58 พันลบ. ชู KBANK-KTB เด่น

ทันหุ้น

“ดีพร้อม” จับมือ “Tokyo SME Support Center” พร้อมเสริมแกร่ง เพิ่มศักยภาพ SME ไทยและญี่ปุ่น ให้แข็งแรง โตไกลสู่ตลาดสากล

สยามรัฐ

CIVIL เดินเกมรุกครึ่งปีหลัง จ่อเซ็นงานใหม่กว่า 3 พันล้าน เร่งเติมแบ็กล็อกแตะ 6 พันล้านในปี 68

StockRadars

แบงก์กลางสหรัฐฯ ออกกฎชัด! ธนาคารถือคริปโตเพื่อลูกค้าได้

ทันหุ้น

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...