ไทยเผชิญ 'ภาษีทรัมป์-หนี้ครัวเรือนพุ่ง สมาคมธนาคารไทย ชง 3 แนวทางฝ่าวิกฤติ
นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวในวงานสัมมนา iBusiness Forum Decode 2025: The Mid-Year Signal ถอดสัญญาณเศรษฐกิจโลก พลิกอนาคตเศรษฐกิจไทย วันที่ 15 กรกฎาคม 2568 ว่า ภาคการเงินการธนาคารเป็นเสมือน "เลือด" ที่หล่อเลี้ยงกลไกเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพ แต่ปัจจุบันศักยภาพของประเทศกำลังถูกท้าทายอย่างหนักจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะนโยบายภาษีของสหรัฐฯ ซึ่งสร้างความไม่แน่นอนอย่างมีนัยสำคัญ
ทั้งนี้ ความผันผวนของภาษี จากการเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐที่ตัวเลขยังไม่แน่นอน มีทั้ง 10%, 20% หรือ 36% ได้สร้างแรงกดดันและเพิ่มความไม่แน่นอนให้กับระบบเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งไทยต้องอยู่กับสถานการณ์นี้ ดังนั้น หากการประมาณการบนพื้นฐานภาษีที่ไทยจะโดน 36% จะส่งผลให้อัตราการเติบโต (Growth Rate) ของประเทศไทยในอีก 5 ปีข้างหน้ายังคงเผชิญความท้าทาย
อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่า สภาพคล่องและการลงทุนเงินทุนไหลออก โดยปัจจุบันมีเงินลงทุนกว่า 1.3 ล้านล้านบาท ไหลออกไปลงทุนในต่างประเทศผ่าน FIF Fund (Foreign Investment Fund) แสดงให้เห็นว่าสภาพคล่องไหลไปตามกลไกตลาดโลก ซึ่งไทยเป็นประเทศเล็กๆ ในระบบทุนนิยมจึงไม่สามารถฝืนกลไกนี้ได้ ด้วยผลตอบแทนตลาดหุ้นในประเทศต่ำ จากช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์ไทยติดลบตรงกันข้ามกับตลาดหุ้นสหรัฐที่เป็นบวก
นอกจากนี้ ในด้านโครงสร้างเศรษฐกิจที่ซับซ้อนและปัญหาหนี้ครัวเรือน
โดยเศรษฐกิจนอกระบบสูงถึง 48% ซึ่งจัดว่าสูงที่สุดในโลก นำไปสู่ รวมถึงแรงงานนอกระบบถึง 51% อีกทั้ง ยังพบว่าฐานภาษีแคบ โดยมีผู้เสียภาษีเงินได้ในระบบเพียง 4 ล้านคน ในขณะที่ประชากรกว่า 68 ล้านคนเรียกร้องสวัสดิการจากภาครัฐ โดย 34% ของครัวเรือนไทยพึ่งพาหนี้นอกระบบ
นอกจากนี้ ไทยยังทำคะแนนได้ไม่ดีในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้าน การศึกษา (Education) และ สิ่งแวดล้อม (Environment) แม้จะทำได้ดีในเรื่องสะพาน ถนน และโครงข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยประเทศไทยอยู่ในสภาวะที่ติดกับดักรายได้ปานกลางและเผชิญวิกฤตซ้อนวิกฤติ จึงต้องเดินหน้า 3 ส่วนไปพร้อมกัน อาทิ
1. มาตรการกระตุ้น (Stimulus Measures) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่ม SME ที่ได้รับผลกระทบเฉียบพลันจากภาษี
2. การประคับประคอง โดยประคองกลุ่มธุรกิจที่พอจะช่วยตัวเองได้ แต่ได้รับผลกระทบ เพื่อรักษาคุณค่าทางเศรษฐกิจ
3. การปฏิรูปโครงสร้าง ถือเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยต้องแยกแยะกลุ่มเป้าหมายให้