โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ต่างประเทศ

อียูเล็งใช้ ‘นิวเคลียร์ทางการค้า’ ตอบโต้ทรัมป์ หากดีลล่ม

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า สหภาพยุโรป (อียู) กำลังพิจารณาใช้ “มาตรการต่อต้านการบีบบังคับ” (Anti-Coercion Instrument) ขึ้น โดยมุ่งไปที่ “ภาคบริการของสหรัฐ” หากอียูไม่สามารถบรรลุข้อตกลงการค้ากับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้

สำหรับเครื่องมือป้องกันการบีบบังคับนี้ ถูกมองว่าเป็นดั่ง“อาวุธนิวเคลียร์” ที่มีไว้เพื่อการข่มขู่หรือยับยั้งเป็นหลัก โดยจะเปิดอำนาจหลายประการให้สหภาพยุโรปทั้ง 27 ประเทศ สามารถตอบโต้ประเทศที่สามอย่างสหรัฐได้อย่างกว้างขวาง

นอกจากการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าแล้ว เครื่องมือ ACI นี้ยังเปิดให้สามารถใช้มาตรการจำกัดการนำเข้าหรือส่งออกสินค้า เช่น การกำหนดโควตา หรือการควบคุมผ่านใบอนุญาต โดยในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐในสหภาพยุโรป ซึ่งมีมูลค่าสูงถึงประมาณ 2 ล้านล้านยูโรต่อปี อียูมี 2 ทางเลือกในการตอบโต้สหรัฐ ได้แก่

1. ตัดสิทธิการยื่นข้อเสนอ หากพบว่าข้อเสนอนั้นใช้สินค้าหรือบริการจากสหรัฐ “มากกว่า 50%” ของมูลค่าสัญญา เช่น โครงการก่อสร้างหรือการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ ข้อเสนอนั้นอาจถูกตัดสิทธิไม่ให้เข้าร่วมประมูล

2. ปรับคะแนนข้อเสนอจากสหรัฐให้เสียเปรียบ อย่างการลดคะแนนข้อเสนอจากบริษัทอเมริกัน โดยการกำหนด “ค่าปรับคะแนน” ทำให้มีโอกาสชนะการประมูลน้อยลง แม้คุณสมบัติอื่นๆ จะผ่านก็ตาม

ไม่เพียงเท่านั้น ACI ยังเปิดช่องให้ออกมาตรการที่ส่งผลลบต่อ “ภาคบริการ” ได้ ซึ่งเป็นภาคที่สหรัฐได้เปรียบดุลการค้ากับสหภาพยุโรป โดยเฉพาะบริการดิจิทัลจากผู้ให้บริการอย่าง Amazon, Microsoft, Netflix หรือ Uber

มาตรการเหล่านี้ยังอาจรวมถึง “จำกัดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ” (FDI) ที่มาจากสหรัฐ ซึ่งเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดของโลกในสหภาพยุโรป

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการเพิ่มเติมอย่างจำกัด “การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา” การเข้าถึงตลาดบริการทางการเงิน และความสามารถในการขายสารเคมี หรืออาหารในตลาดสหภาพยุโรป

ก่อนหน้านี้ ACI ถูกเสนอขึ้นในปี 2021 เพื่อตอบสนองต่อเสียงวิจารณ์จากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปว่า รัฐบาลทรัมป์ชุดแรกและจีนเคยใช้ “การค้า” เป็นเครื่องมือทางการเมือง โดยจีนเคยใช้มาตรการตอบโต้ลิทัวเนีย ตามคำกล่าวของเจ้าหน้าที่ลิทัวเนีย หลังจากที่ลิทัวเนียอนุญาตให้ไต้หวันตั้งสำนักงานตัวแทนเสมือนสถานทูตในกรุงวิลนีอุสของลิทัวเนีย

กฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจคณะกรรมาธิการยุโรปใช้เวลาสูงสุด 4 เดือนในการพิจารณาว่า กรณีใดเข้าข่ายการบีบบังคับหรือไม่ หากพบว่ามาตรการของประเทศต่างชาติเป็นการบีบบังคับจริง คณะกรรมาธิการจะเสนอเรื่องนี้ต่อประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งจะมีเวลาอีก 8 ถึง 10 สัปดาห์ในการยืนยันผลการวินิจฉัยนั้น

ทั้งนี้ การยืนยันผลดังกล่าวต้องอาศัยเสียงข้างมากแบบพิเศษจากประเทศสมาชิก ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่สูงกว่าการใช้มาตรการเก็บภาษีตอบโต้ทั่วไป

โดยปกติ คณะกรรมาธิการยุโรปจะหารือกับประเทศคู่กรณี เพื่อพยายามหยุดพฤติกรรมบีบบังคับก่อน หากการเจรจาล้มเหลว “ภายในระยะเวลา 6 เดือน” คณะกรรมาธิการสามารถนำเสนอมาตรการตอบโต้ของสหภาพยุโรปได้ โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากประเทศสมาชิกอีกครั้ง มาตรการเหล่านี้ควรมีผลบังคับใช้ภายใน 3 เดือนหลังจากนั้น

กระบวนการทั้งหมดอาจใช้เวลานานถึง 1 ปี แต่ก็สามารถเร่งรัดให้เร็วขึ้นได้ในบางกรณี
อ้างอิง: reuters

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

‘ทักษิณ’ ประกาศ กลางวง พรรคร่วมฯ ‘เลือกตั้ง’ แล้ว จับมือกันต่อ

39 นาทีที่แล้ว

ถึงเวลาที่ ธปท.จะ ‘เปิดประตูหอคอย ฟังเสียงบ้านนา’ ไม่ใช่แค่สนทนา ในกรอบสถิติ

52 นาทีที่แล้ว

ไม่พร้อมมีลูกตอนนี้ Gen Z เลื่อนสร้างครอบครัว เศรษฐกิจไม่เอื้อ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สัมพันธ์'บ้านโล่สถาพรพิพิธ-บิ๊กเนมภท.' ไม่ใช้คนอื่นไกล?

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความต่างประเทศอื่น ๆ

ยูเนสโก “ไม่ประหลาดใจ” ทรัมป์นำสหรัฐถอนตัวจากการเป็นสมาชิกอีกครั้ง

เดลินิวส์

ชาวเน็ตสาปส่ง ครอบครัวเกาหลีรับหมาไปเลี้ยง 7 ชม. ก่อนจับโกนขน เอากลับมาทิ้งไว้ที่เดิม

Thaiger

สุดงง! ตำรวจจับโจรรุ่นลุง เลือกขโมยแต่รองเท้าข้างขวากว่าครึ่งร้อย

เดลินิวส์

‘เครื่องบินทหาร’ ตกใส่โรงเรียนบังกลาเทศ ยอดดับพุ่ง 27 ราย

The Bangkok Insight

ญี่ปุ่นเปิดสอบสวน “การทุ่มตลาดเหล็ก-แผ่นสแตนเลส” จากจีนและไต้หวัน

เดลินิวส์

สาวจีนวัย 16 อยากผอม ยอมอดอาหาร กินแต่ผัก – ยาระบาย ติดกัน 2 สัปดาห์ หวิดดับ

Khaosod

ถอดบทเรียน “รัฐสวัสดิการเชิงรุก” แบบสิงคโปร์ แจกคูปองเงินสดให้ประชาชนใช้จ่ายทุกคน ไม่มีข้อยกเว้น ไทยเรียนรู้อะไรได้บ้าง?

TODAY

ผลศึกษาเผย วัยรุ่นอเมริกันส่วนใหญ่เคยใช้ปัญญาประดิษฐ์ “เป็นเพื่อนคุย”

เดลินิวส์

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...