โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที

การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ใหม่เผย ดาวอังคารเคยเปียกชื้นกว่าที่คิดโดยใช้แบบจำลองสภาพภูมิอากาศใหม่

TNN ช่อง16

เผยแพร่ 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา
การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ใหม่เผยดาวอังคารเคยเปียกชื้นกว่าที่คิดโดยใช้แบบจำลองสภาพภูมิอากาศใหม่

การวิจัยล่าสุดได้เปิดเผยภาพที่ซับซ้อนของประวัติศาสตร์สภาพภูมิอากาศของดาวอังคาร โดยชี้ให้เห็นว่าดาวเคราะห์สีแดงเคยมีน้ำอยู่บนพื้นผิวมากกว่าที่เคยเชื่อกัน ร่องรอยแม่น้ำโบราณแต่ก็ยังคงเป็นสภาพแวดล้อมที่โหดร้ายสำหรับสิ่งมีชีวิต โดยใช้แบบจำลองสภาพภูมิอากาศใหม่ การค้นพบร่องรอยแม่น้ำโบราณนับหมื่นกิโลเมตร
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอเพ่น (Open University) นำโดยนักศึกษาปริญญาเอก อดัม โลเซคูต (Adam Losekoot) ได้ค้นพบร่องรอยของ ร่องน้ำคดเคี้ยว (Fluvial sinuous ridges) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ช่องทางกลับด้าน (Inverted channels) ระยะทางรวมกว่า 15,000 กิโลเมตร ในพื้นที่ที่เคยเชื่อว่าไม่มีหลักฐานการมีอยู่ของน้ำ หรือบริเวณโนอาคิส เทอร์รา (Noachis Terra) ที่ราบสูงทางใต้ของดาวอังคารที่เต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาต

MOLA map showing boundaries with other regionนักศึกษาปริญญาเอก อดัม โลเซคูต (Adam Losekoot) ทีมนักวิจัยอธิบายว่า "น้ำถูกค้นพบบนดาวอังคารนับครั้งไม่ถ้วนแล้ว แต่สิ่งที่น่าสนใจจริงๆ ในการค้นพบครั้งนี้ คือ เราเคยเชื่อว่าพื้นดังกล่าวนี้ไม่มีหลักฐานของน้ำมาก่อน และเสริมว่า "สิ่งที่เราพบคือพื้นที่นั้นมีน้ำและมีการกระจายตัวอย่างกว้างขวาง"
โดยร่องรอยเหล่านี้เกิดจากการที่ตะกอนที่แม่น้ำพัดพามาแข็งตัวเมื่อเวลาผ่านไป และถูกเปิดเผยเมื่อพื้นดินโดยรอบที่อ่อนนุ่มกว่าถูกกัดเซาะออกไป แม่น้ำที่กว้างเหล่านี้สันนิษฐานว่าได้รับน้ำจากการตกของฝน หรือหิมะอย่างสม่ำเสมอในอดีตของดาวอังคาร
การมีอยู่ของระบบแม่น้ำที่เชื่อมโยงกันอย่างกว้างขวางในพื้นที่บริเวณโนอาคิส เทอร์รา (Noachis Terra) บ่งชี้ว่าสภาพแวดล้อมที่มีน้ำต้องคงอยู่เป็นระยะเวลานานพอสมควร ซึ่งหมายความว่าพื้นที่นี้เคยมีสภาพที่อบอุ่นและเปียกชื้นเป็นระยะเวลาที่เกี่ยวข้องทางธรณีวิทยา
การค้นพบนี้ท้าทายทฤษฎีที่มีอยู่เดิมที่ว่าดาวอังคารโดยทั่วไปแล้วเย็นและแห้ง และลักษณะทางธรณีวิทยาที่บ่งชี้ถึงการไหลของน้ำนั้นเกิดจากน้ำที่ละลายจากแผ่นน้ำแข็งในช่วงเวลาสั้นๆ เพียงไม่กี่ครั้ง
การค้นพบนี้ถูกนำเสนอในการประชุมประจำชาติของ Royal Astronomical Society ในเมืองเดอรัม ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2025 ที่ผ่านมา
แบบจำลองสภาพภูมิอากาศใหม่
ศาสตราจารย์เอ็ดวิน ไคท์ (Edwin Kite) ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์จากมหาวิทยาลัยชิคาโก และเป็นสมาชิกของทีมวิทยาศาสตร์คิวริออซิตี้ (Curiosity) ได้สร้างแบบจำลองสภาพภูมิอากาศของดาวอังคารรุ่นแรกที่รวมข้อมูลใหม่จากการสำรวจของยานสำรวจคิวริออซิตี้ (Curiosity) ที่บริเวณภูเขาชาร์ป (Mount Sharp) บนดาวอังคาร

Edwin Kite Associate Professor, Department of the Geophysical Sciences, University of Chicago
โดยยานคิวริออซิตี้ (Curiosity) พบว่าส่วนหนึ่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของดาวอังคารอาจถูกกักเก็บไว้ในหินตะกอน เช่นเดียวกับหินปูนบนโลก ซึ่งจะลดผลกระทบจากภาวะเรือนกระจกที่เคยทำให้อุณหภูมิของดาวเคราะห์สูงขึ้น
แบบจำลองใหม่นี้ได้จำลองวิวัฒนาการของสภาพและภูมิทัศน์ของดาวอังคารตลอดช่วง 3.5 พันล้านปีที่ผ่านมา โดยรวมถึงภูมิประเทศของดาวอังคาร ความส่องสว่างของดวงอาทิตย์ และข้อมูลวงโคจรล่าสุด ผลลัพธ์ของแบบจำลองชี้ให้เห็นว่าดาวอังคารเข้าสู่ "ยุคเกลือ" ประมาณ 3.5 พันล้านปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พื้นที่หิมะละลายขนาดใหญ่ได้สร้างที่ราบเกลือขนาดใหญ่
แม้ว่าในอดีตที่ห่างไกลกว่านั้น ประมาณ 4 พันล้านปีก่อน ดาวอังคารเคยอบอุ่นพอที่จะมีทะเลสาบและเครือข่ายแม่น้ำขนาดใหญ่ได้ ซึ่งบางทะเลอาจมีขนาดใหญ่เท่าทะเลแคสเปียน อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาที่เปียกชื้นนี้มีระยะเวลาสั้นเกินไปที่จะทำให้ภูมิทัศน์เกิดการผุกร่อนอย่างลึกซึ้ง หลังจากนั้น ดาวอังคารได้กลายเป็นดาวเคราะห์ที่แห้งแล้ง และมีช่วงเวลาที่แห้งแล้งยาวนานเกือบจะเย็นเหมือนปัจจุบัน
ศาสตราจารย์เอ็ดวิน ไคท์ (Edwin Kite) อธิบายถึงสภาวะหลังยุคเกลือว่ามีเพียงพื้นที่เล็กๆ ที่มีน้ำเหลวปรากฏขึ้นบนพื้นผิวเป็นครั้งคราว "เหมือนโอเอซิสท่ามกลางทะเลทรายที่ไม่เป็นมิตร" ซึ่งเขาเรียกว่า "ความเป็นอยู่ได้ที่ริบหรี่" ผลลัพธ์จากแบบจำลองนี้ชี้ให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตบนพื้นผิวดาวอังคารจะต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบากในการดำรงอยู่ โอกาสของสิ่งมีชีวิตริบหรี่แต่ยังไม่สิ้นหวัง
แม้ว่าจุลินทรีย์บางชนิดจากโลกอาจอยู่รอดได้ในทะเลสาบชั่วคราวเหล่านี้ แต่คำถามที่ใหญ่กว่า คือ สิ่งมีชีวิตจะสามารถกำเนิดขึ้นบนดาวอังคารโบราณได้หรือไม่ ซึ่งทีมงานวิจัยมองว่ายังมีความเป็นไปได้น้อย
โดยระยะเวลาที่แห้งแล้งบนพื้นผิวดาวอังคารนั้นยาวนานมาก และอายุของโอเอซิสที่มีแหล่งน้ำก็เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ในทางธรณีวิทยา เพียงประมาณหนึ่งแสนปี ศาสตราจารย์เอ็ดวิน ไคท์ (Edwin Kite) กล่าวเสริมว่า "ผมจะบอกว่าเงื่อนไขเหล่านี้เกิดขึ้นรุนแรงพอและจะทำชีวิตบนพื้นผิวดาวอังคาร" และด้วยเหตุนี้โอเอซิสทั้งหมดในแบบจำลองของเขาจึงถือว่าไม่มีสิ่งมีชีวิต
แบบจำลองนี้ยังคงมีข้อจำกัดที่สำคัญ คือ ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ใช้ในการสร้างแบบจำลองมาจากจุดเดียวและยานสำรวจคิวริออซิตี้ (Curiosity) นอกจากนี้ แบบจำลองยังไม่สามารถอธิบายได้ว่าอะไรที่ทำให้ดาวอังคารอบอุ่นและมีน้ำมากในยุคแรกเริ่มก่อนที่จะแห้งแล้ง
อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์เอ็ดวิน ไคท์ (Edwin Kite) ยังคงเชื่อว่า "โอกาสที่สิ่งมีชีวิตจะพัฒนาบนดาวอังคารยังคงมีอยู่ แม้โอกาสจะน้อย แต่สูงกว่าศูนย์เล็กน้อย" เขาคาดการณ์ว่า "สถานที่เดียวที่สิ่งมีชีวิตอาจจะรอดผ่านยุคเกลือบนดาวอังคารคือใต้น้ำใต้ดิน" ซึ่งจุลินทรีย์สามารถอยู่รอดในฤดูแล้งและขึ้นมาอาศัยในทะเลสาบในช่วงเวลาสั้นๆ ที่มีสภาพเอื้ออำนวย
นอกจากนี้ การค้นพบทางธรณีวิทยาเพิ่มเติม เช่น ดินเหนียวโบราณอาจมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงความเข้าใจของเราเกี่ยวกับอดีตของดาวอังคาร แม้ว่าดาวอังคารจะกลายเป็นโลกที่แห้งแล้งอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน เนื่องจากสนามแม่เหล็กของดาวอ่อนลง ทำให้ลมสุริยะกัดเซาะชั้นบรรยากาศและน้ำหลุดรอดออกไปในอวกาศ แต่อาจมีแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่อาจซ่อนอยู่ลึกใต้พื้นผิวของดาวอังคารนอกเหนือจากธารน้ำแข็งขั้วโลก
ศาสตราจารย์เอ็ดวิน ไคท์ (Edwin Kite) ย้ำว่า "เรายังไม่สามารถปิดประตูเรื่องชีวิตบนดาวอังคารได้โดยสมบูรณ์" และเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการค้นหาโมเลกุลที่ผลิตโดยสิ่งมีชีวิตในหินดาวอังคารโบราณ เช่น อัลเคนสายยาว ที่ยาน Curiosity เพิ่งค้นพบ ซึ่งบนโลกถือเป็นหลักฐานที่บ่งชี้ถึงชีวิต การนำตัวอย่างเหล่านี้กลับมายังโลกเพื่อการวิเคราะห์เพิ่มเติมจะเป็นก้าวสำคัญในการไขปริศนานี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TNN ช่อง16

ไทยป่วยเบาหวาน พุ่ง! 6.5 ล้านคน ชูแนวคิด iPDM ดูแลผู้ป่วยเบาหวานไทย

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ทบ. จัดงาน “วันภูมิปัญญานักรบไทย” โชว์นวัตกรรมรองรับสนามรบยุคใหม่

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

คนไทยยังถูกแก๊งคอลฯ หลอกวันละ 1 พันคน มูลสูญเสียสูงถึง 70 ล้าน

7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศเผยภายในปี 2042 เอเชีย-แปซิฟิก ต้องการนักบินหน้าใหม่เพิ่มนับแสนคน

8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอทีอื่น ๆ

OPPO A5 5G ความจุใหม่ 6GB + 128GB วางจำหน่ายแล้วในราคาสุดคุ้ม 6,499 บาท

Insight Daily

รุ่น Pro ไม่ได้ไปต่อ! iPhone 17 Air จะเป็น 'รุ่นเดียวในซีรีส์' ที่ได้ใช้วัสดุไทเทเนียม

BT Beartai

จีนผงาด! จำนวน “ยูนิคอร์น” เพิ่มขึ้น ครองสัดส่วน 40% ทั่วโลก (คลิป)

เดลินิวส์

เนื้องอกจิ๋ว สร้างจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ช่วยหาวิธีรักษามะเร็ง

Techhub

AI จะแก้ปัญหาคอร์รัปชันในไทยได้จริงหรือไม่ สรุปข้อมูล งานเสวนา Corruption Disruptors

Techhub

Apple Watch ไทยใช้ฟีเจอร์เตือนภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้แล้ว ส่วน AirPods Pro 2 เป็นเครื่องช่วยฟังสำหรับปัญหาการได้ยินที่ไม่รุนแรง

BT Beartai

นักวิเคราะห์จับ Honor Magic V5 vs Galaxy Z Fold7 ขิงกันบาง สุดท้ายผลผิดคาด!

sanook.com

“AIS 3BB FIBRE3” ประกาศกลยุทธ์ธุรกิจครึ่งปีหลัง 2568 เดินเกมรักษาผู้นำเบอร์ 1 ตลาดบรอดแบนด์

เดลินิวส์

ข่าวและบทความยอดนิยม

นักวิจัยพบดาวยูเรนัสมีอุณหภูมิที่อุ่นขึ้นเปิดทางสู่ภารกิจสำรวจดาวดวงใหม่

TNN ช่อง16

นักวิทยาศาสตร์จีนเผยผลวิจัยดินและหินจากดวงจันทร์ด้านไกล

TNN ช่อง16

งานวิจัยชี้พายุฝุ่นบนดาวอังคารอาจก่อให้เกิดฟ้าผ่าภัยคุกคามยานสำรวจเพอร์เซเวียแรนซ์

TNN ช่อง16
ดูเพิ่ม
Loading...