โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ส่งออกครึ่งหลังทรุดผู้นำเข้าสหรัฐอ่วม รับภาษี36%ไม่ไหว

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 1 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

การค้าระหว่างประเทศของไทยครึ่งแรกปี 2568 การส่งออก มีมูลค่า 166,851 ล้านดอลลาร์ขยายตัว 15.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 166,914.1 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 11.6% ดุลการค้าขาดดุล 62.2 ล้านดอลลาร์และถ้าหากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำและยุทธปัจจัย ขยายตัวที่ 14.2%

ปัจจัยสนับสนุนการช่วงครึ่งแรกของปี เดือน มิ.ย.2568 ขยายตัวมาจากการชะลอการใช้มาตรการภาษีของสหรัฐ ซึ่งทำให้ผู้นำเข้าสหรัฐเร่งนำเข้าสินค้าไทยมากขึ้น เพื่อปิดความเสี่ยง โดยเฉพาะเส้นตายที่สหรัฐผ่อนผันการจัดเก็บภาษีตอบโต้ที่จะมีผลวันที่ 1 ส.ค.2568

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานหอการค้าไทย และนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย กล่าวว่า การส่งออกครึ่งปีแรกที่ขยายตัวสูงถึง 15% แต่ในช่วงครึ่งปีหลังอาจหดตัวลงอย่างมาก ทำให้ภาพรวมปี 2568 อาจติดลบหรือใกล้ศูนย์ แม้ช่วงครึ่งปีแรกจะเติบโตได้ดี

สำหรับการเติบโตของการส่งออกครึ่งปีแรกอาจเป็นผลจาก “แรงเร่ง” ก่อนมาตรการกีดกันใหม่ หากอัตราภาษีสหรัฐมีผลเต็มรูปแบบครึ่งปีหลัง และค่าเงินบาทยังแข็ง การส่งออกอาจชะลอตัว ดังนั้น ไทยควรเร่งกระจายตลาดไปยังเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกา และอเมริกาใต้ และประเทศที่ยังมี GDP เติบโตดี

ทั้งนี้ ช่วงครึ่งปีหลังอัตราภาษีนำเข้าสหรัฐอาจเป็นข้อปัจจัยกดดันรุนแรงต่อการส่งออกของไทย รวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง แม้ตลาดบางส่วนฟื้นตัวแล้ว แต่ภาพรวมยังคงเผชิญความเสี่ยงจากภาวะดอกเบี้ยสูง หนี้ภาคครัวเรือน และการชะลอตัวของทั้งในจีนและยุโรป

อีกทั้งยังมีความผันผวนและการแข็งค่าของเงินบาท ที่ส่งผลกระทบต้นทุนสินค้าไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งที่มีค่าเงินอ่อนกว่า โดยเฉพาะสินค้าโภคภัณฑ์ที่แข่งขันด้านราคา

ปัจจัยบวกครึ่งปีหลัง มาจากการได้รับปัจจัยสนับสนุนชั่วคราว จากการเร่งส่งออกล่วงหน้าระยะสั้น ช่วงที่ยังไม่มีความแน่นอนในรายละเอียดของอัตราภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกา

รวมถึงแรงส่งต่อเนื่องจากการส่งออกกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่มาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจบางประเทศ ทำให้กำลังซื้อเพิ่มขึ้น และการขยายตัวต่อเนื่องของการส่งออก สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรสำคัญ เช่น ผลไม้ มันสำปะหลัง น้ำตาลทราย จากการคำสั่งซื้อที่มั่นคง โดยเฉพาะในตลาดจีนและตะวันออกกลาง

แม้เศรษฐกิจโลกโดยรวมจะอ่อนตัวลง แต่บางประเทศในเอเชีย เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม รวมถึงตะวันออกกลางยังคงมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจดี อาจเป็นโอกาสขยายตลาดส่งออกทดแทนตลาดสหรัฐ

ภาษี 36%สินค้าอาหารแข่งขันไม่ได้

นายเจริญ แก้วสุกใส ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า การส่งออกอาหารช่วงครึ่งหลังปี 2568 น่ากังวลหลังมีการส่งสัญญาณภาษีนำเข้าสหรัฐ ซึ่งอาจกระทบอย่างรุนแรงต่อขีดความสามารถแข่งขัน

ทั้งนี้ เดือน ก.ค.2568 ยอดจองเรือเพื่อขนส่งสินค้าไปสหรัฐลดลงถึง 30% สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบที่เริ่มปรากฏแล้ว ซึ่งยอดส่งออกไปสหรัฐจะลดลงต่อเนื่องตั้งแต่นี้เป็นต้นไปและกระทบไปยังปี 2569

ปี 2567 ไทยส่งออกกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมูลค่า 1.65 ล้านล้านบาท เป็นการส่งออกไปสหรัฐ 1.6 แสนล้านบาท คิดเป็น 10% ของมูลค่าส่งออกอาหารทั้งหมด ซึ่งอุตสาหกรรมอาหารโดยรวม อยู่ในอันดับ 4 ของการส่งออกของประเทศ รองจากคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และชิ้นส่วนฮาร์ดดิสก์ เซมิคอนดักเตอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์

สำหรับสินค้าอาหารที่ส่งออกไปสหรัฐมีหลากหลายกลุ่ม เช่น อาหารทะเลกระป๋อง (กุ้ง, ทูน่า), อาหารทะเลแช่แข็ง, ผักผลไม้แช่แข็งและกระป๋อง, อาหารสัตว์เลี้ยง, ข้าวหอมมะลิ ซึ่งเป็นอันดับ 1 ในสัดส่วนการส่งออกอาหารไทยไปสหรัฐ, เครื่องปรุงรส, เครื่องแกง, ซอสปรุงรส เช่น ซอสศรีราชาและซอสน้ำจิ้มไก่, เครื่องเทศ, ผลิตภัณฑ์น้ำมะพร้าว กะทิ และเครื่องดื่มต่าง ๆ

ดังนั้น หากไทยต้องเจอภาษีนำเข้า 36% จะทำให้การแข่งขันเป็นไปได้ยากมาก เสี่ยงให้ยอดส่งออก 10% หายไปด้วย

“อุตสาหกรรมอาหารไทยมีสัดส่วนวัตถุดิบในประเทศ (Local Content) สูงถึง 80-100% จึงไม่ต้องกังวลเรื่องการสวมสิทธิ์สินค้า และที่ผ่านมายังไม่เคยมีประเด็นเรื่องการสวมสิทธิ์ แต่ในอนาคตจะต้องเฝ้าระวัง”

ผู้นำเข้าสหรัฐรับไม่ไหวภาษี36%

นอกจากนี้ หากไทยได้อัตราภาษีสูงกว่าคู่แข่งสำคัญอย่างเวียดนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งปัจจุบันทั้ง 2 ประเทศได้ประกาศอัตราภาษีเรียบร้อยแล้ว จะส่งผลกระทบอย่างหนักต่อผู้ประกอบการไทย

ทั้งนี้ ผู้นำเข้าสินค้าในสหรัฐส่งสัญญาณมาแล้วว่าหากไทยโดนเก็บภาษี 36% คงซื้อไม่ไหว จะขึ้นราคาขนาดนั้นคงไม่ได้ และไทยเองก็ขายไม่ไหวเพราะกำไรไม่สูงเฉลี่ยที่ 5% เท่านั้น ซึ่งปัจจุบันอัตราภาษีนำเข้าที่เวียดนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งหากไทยต้องเจอ 36% จะเสียเปรียบอย่างมหาศาล

ห่วงซัพพลายเชนในประเทศ

รวมทั้งหากไทยยังโดยเก็บภาษีสูง ผู้ประกอบการรายใหญ่ยังพอปรับตัวได้ด้วยการลดกำลังผลิตและมองหาตลาดใหม่ เช่น จีน ตะวันออกกลาง เอเชียกลาง ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ แต่การหาตลาดใหม่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย และต้องใช้เวลานานกว่า 1 ปี

กลับกันผู้ประกอบการรายเล็ก จะได้รับผลกระทบอย่างหนักและอาจปิดกิจการลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมอาหารไทยจากจำนวนโรงงานหลัก 1 แสนโรงงาน ตั้งแต่เกษตรกรผู้เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ไปจนถึงผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์และขนส่ง เกี่ยวข้องกับคนงานร่วม 2-3 ล้านคน และอาจทำให้ จีดีพี ของประเทศเติบโตช้าลง

“หากเปอร์เซ็นต์ภาษีต่างขนาดนี้ ก็ไม่มีใครรับได้ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอื่น ผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพก็อาจพิจารณาไปลงทุนในต่างประเทศแทน ซึ่งจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปีในการย้ายฐานการผลิต ดังนั้น รัฐบาลจะต้องพิจารณามาตรการเยียวยาภาคอุตสาหกรรมให้ถึงกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง โดยมองว่าตั้งแต่นี้เป็นต้นไปการส่งออกจะยังคงกระทบในวงกว้างไปยังปีหน้า”

อย่างไรก็ตาม แม้จะอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก แต่ยังคงเชื่อว่าอุตสาหกรรมอาหารไทยยังคงอยู่ได้แต่ต้องปรับมาก โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเร่งเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศอื่น เช่น ยุโรป แคนาดาและเกาหลีใต้ รวมถึงการสนับสนุนการลงทุนผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ดังนั้น ตอนนี้ทำอะไรไม่ได้นอกจากรอการเจรจา หวังว่าทางเลือกที่ออกมาจะดี

“พาณิชย์”ชี้ส่งออกชะลอตั้งแต่ ก.ค.

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า การส่งออกเดือน ก.ค.2568 ซึ่งเป็นเดือนแรกของช่วงครึ่งปีหลัง จะเห็นสัญญาณชะลอตัวลง แต่ไม่น่าจะติดลบเพราะช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา คู่ค้าเร่งนำเข้า จนทำให้การส่งอกรวมเพิ่มถึง 15%

สำหรับแนวโน้มส่งออกครึ่งหลังปี 2568 ขึ้นกับผลเจรจาระหว่างไทยกับสหรัฐก่อนที่ภาษีต่างตอบแทนจะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ส.ค.2568 โดยไทยยื่นข้อเสนอฉบับใหม่ที่เปิดตลาดมากขึ้นให้ผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) คาดว่าไทยจะได้อัตราภาษีเหมาะสมและแข่งขันกับประเทศผู้ส่งออกรายอื่นได้

“การส่งออกครึ่งปีหลัง จะชะลอตัวแน่นอน จากผลกระทบของมาตรการภาษีสหรัฐและเงินบาทที่แข็งค่า แต่ทั้งปีคาดว่าโตได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ 2-3% โดยช่วง 6 เดือนที่เหลือ ต้องมีมูลค่าการส่งออกไม่ต่ำกว่าเดือนละ 23,300-23,800 ล้านดอลลาร์” นายพูนพงษ์ กล่าว

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

‘จิมมี่-ซี’ ดูซีรีส์ตอนแรกกับแฟนคลับ ใน ‘ทำนายทายทัพ Let the Magic Begin’

21 นาทีที่แล้ว

ทภ.2 พบสัญญาณขีปนาวุธกัมพูชา จับตาไซเบอร์ -สายลับ ระดมกำลังยึด2ปราสาทไทย

28 นาทีที่แล้ว

'อรรถกร'ลงพื้นที่ ตลาด อ.ต.ก.ติดตามเหตุ บุกยิงกลางตลาด ทำ รปภ.เสียชีวิต 5 ราย

29 นาทีที่แล้ว

สมาคมธนาคารไทย เร่งช่วยเหลือผู้รับผลกระทบชายแดนไทย-กัมพูชา และน้ำท่วม

37 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

'อรรถกร'ลงพื้นที่ ตลาด อ.ต.ก.ติดตามเหตุ บุกยิงกลางตลาด ทำ รปภ.เสียชีวิต 5 ราย

กรุงเทพธุรกิจ

สมาคมธนาคารไทย เร่งช่วยเหลือผู้รับผลกระทบชายแดนไทย-กัมพูชา และน้ำท่วม

กรุงเทพธุรกิจ

ธนาคารคลอดหลายมาตรการสำคัญ ช่วยลูกหนี้เหตุปะทะชายแดน-น้ำท่วมเหนือ

Businesstoday

กองทัพเตือน! ภัยไซเบอร์จากต่างชาติจ้องเจาะระบบไทย เสี่ยงกระทบมั่นคงระดับชาติ

ฐานเศรษฐกิจ

Sound of the Sea: หลากสัมผัสในหนึ่งจาน

The Bangkok Insight

CAAT มั่นใจเที่ยวบิน “ไทย-กัมพูชา” ปลอดภัย-ราบรื่น แนะเช็คข้อมูลก่อนใช้บริการ

ข่าวหุ้นธุรกิจ

ธุรกิจ ‘รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย’ ส่งกำลังใจแนวรบด่านหน้า ผู้ประสบภัย

กรุงเทพธุรกิจ

‘ความเชื่อมั่น’ รากฐานสำคัญ กำหนดทิศทางธุรกิจยุค ‘Agentic AI’

กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...