โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

พิชัย ยื่นข้อเสนอ สหรัฐฯ นำสินค้าบางรายการเข้า 0% เจรจาภาษีทรัมป์

Thaiger

อัพเดต 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 18 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Thaiger ข่าวไทย

พิชัย ชุณหวชิร ยื่นข้อเสนอ สหรัฐฯ นำสินค้าบางรายการเข้า 0% เพื่อเจรจาภาษีทรัมป์ พร้อมให้ธนาคารเตรียมซอฟท์โลนไว้ประมาณ 2 แสนล้านบาท

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาพิเศษ “กรอบเจรจาและรับมือผลกระทบภาษีทรัมป์” ในงานเสวนาของ กรุงเทพธุรกิจ Roundtable : The Art of The (Re) Deal

นายพิชัย กล่าวว่า แม้การเจรจาภาษีกับทางสหรัฐฯผ่านมาแล้ว 100 วัน ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน แต่สิ่งที่เห็นได้ในช่วงที่ผ่านมาคือความพยายามของสหรัฐฯในการลดการขาดดุลการค้า โดยต้องการเพิ่มการเปิดตลาดเพื่อให้สินค้าสหรัฐเข้าสู่ตลาดต่างๆ มากขึ้น (Market Access) ต้องมีการตกลงกัน ในเรื่องของการเปิดตลาด และต้องมีการคุยเรื่องมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (NTB) ทุกขั้นตอน แต่ยืนยันว่ารัฐบาลมีทีมงานที่ติดตามความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง จึงไม่ถือว่าการเจรจาล่าช้า อีกทั้งไทยยังได้รับประโยชน์จากข้อสรุปในการเจรจากับประเทศอื่น ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับแนวทางเจรจาของไทย

นายพิชัยเปิดเผยว่าการเจรจาภาษีกับสหรัฐฯนั้น คณะเจรจาของไทยยึดบนหลักการดังนี้

1. เปิดตลาดไทยให้กว้างขึ้น โดยเฉพาะในสินค้าที่สหรัฐฯอยากขาย และเราอยากซื้อ แต่ไทยเราต้องดูเรื่องของการเปิดตลาดที่ไม่กระทบกับการทำ FTA ของประเทศต่างๆ ที่ทำกับไทย ผ่านการเสนอให้สหรัฐฯนำสินค้าเข้ามาในระดับ 0% ที่ไทยผลิตไม่ได้ และต้องนำเข้า หรือของที่ผลิตในไทยแล้วไม่เพียงพอ โดยการป้องกันภาคการผลิตของไทยโดยเฉพาะในภาคเกษตรนั้นยังมีอยู่

ข้อเสนอใหม่ที่ไทยส่งไปให้พิจารณาโดยเราเปิดตลาดให้สหรัฐแล้ว 63-64% และเพิ่มเป็น 69% ไทยจะมีการเปิดตลาดสินค้าบางอย่างที่ไทยไม่เคยเปิด และไทยก็ต้องเปิดมากขึ้น เช่น ลำไย ปลานิล ตามที่สหรัฐฯขอไว้ ส่วนตลาดยานยนต์ ไทยกำลังคิด เดิมไทยผลิตเยอะก็จะไม่ได้เปิดให้ แต่ถ้าไทยเปิดให้ คิดว่าถ้าเปิดสหรัฐฯก็คงเข้ามาไม่ได้ง่าย เช่น รถพวงมาลัยซ้าย เพราะเขามีตลาดอื่นทั่วโลกคงไม่ได้เข้ามาขายที่เรามาก

2. ส่งเสริมการลงทุนของไทยในสหรัฐฯ เพราะสหรัฐฯต้องการส่งออกมากขึ้น และทำฐานผลิตในประเทศสหรัฐฯให้มีความแข็งแรงมากขึ้น เช่น การลงทุนเรื่องเกษตรแปรรูป เรื่องของสินค้าที่ต้องซื้อจากสหรัฐฯ โดยไทยดูในเรื่องของพลังงานมากขึ้น โดยปัจจุบันสหรัฐฯมีปริมาณสำรองเรื่องของพลังงานค่อนข้างมากทำให้ราคาพลังงานมีราคาต่ำ เช่น ก๊าซธรรมชาติขายอยู่แค่ 2-3 ดอลล่าร์ต่อล้านBTU ถูกกว่าราคาตลาดที่ 10-11 ดอลล่าร์

3. ป้องกันการสวมสิทธิ์สินค้า ข้อเสนอของสหรัฐฯคือให้มีการเพิ่มการใช้วัตถุดิบหรือส่วนประกอบที่มีการผลิตในประเทศไทย (Local content) เป็นโจทย์ที่เราต้องดูว่าสหรัฐฯจะกำหนดในสัดส่วนเท่าไหร่ โดยอาจจะเพิ่มจาก 40% ในปัจจุบัน อาจเพิ่มเป็น 60-70% ที่เป็นต้นทุนที่จะใช้ Local content จากประเทศไทย และประเทศต่างๆ ที่สหรัฐกำหนดมากขึ้น เพื่อป้องกันการสวมสิทธิ์

ไทยต้องเปลี่ยนวิกฤตครั้งนี้ให้เป็นโอกาส โดยต้องหันมาพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศให้มากขึ้นเพื่อทดแทนการพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ทั้งนี้ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการส่งออกลดลงเหลือ 58% จากก่อนหน้าอยู่ที่ประมาณ 70% ในจำนวนนี้ ไทยส่งออกไปสหรัฐฯประมาณ 18% ซึ่งถือว่า ส่งออกไปสหรัฐฯค่อนข้างสูง

ยอมรับว่า การเจรจาดังกล่าวมีความซับซ้อนและต้องใช้เวลา ไม่สามารถจบลงได้ในระยะสั้น โดยไทยต้องพิจารณาความต้องการของสหรัฐ เพื่อนำมากำหนดมาตรการรองรับ ซึ่งสหรัฐต้องการเพิ่มรายได้ภาครัฐผ่านการจัดเก็บภาษี ลดรายจ่าย และลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด โดยจากจดหมายฉบับล่าสุด สหรัฐฯ ต้องการให้ไทยเปิดตลาดนำเข้าสินค้าจากสหรัฐมากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากประเทศไทยมีการยุบสภาในระหว่างนี้ อาจส่งผลกระทบต่อการเจรจาในบางประเด็น เพราะเงื่อนไขบางประการจำเป็นต้องผ่านการอนุมัติจากรัฐสภา

ดังนั้น ไทยจึงเตรียมมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ โดยให้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐเตรียมซอฟท์โลนไว้ประมาณ 2 แสนล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ย 0.01% เพื่อช่วยเหลือ เพื่อช่วยเหลือทั้งการลงทุน ช่วยการจ้างงาน การบริหารสินค้าคงคลัง และมาตรการอื่นๆของสถาบันการเงิน มาตรการเยียวยาต่างๆ โดยรัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยให้จากระดับปกติที่ดอกเบี้ย 2% ทั้งนี้ซอฟต์โลนดังกล่าวจะมาจากธนาคารออมสินเป็นหลัก ส่วน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) จะช่วยบางส่วน และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะเน้นช่วยภาคเกษตร รวมถึง ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือ EXIM BANK โดยแต่สัดส่วนการปล่อยกู้จากธนาคารใดยังต้องรอความชัดเจนจากฝั่งสหรัฐ ว่าจะกำหนดอัตราภาษีกับไทยอย่างไร

ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ต้องเตรียมมาตรการเพิ่มเติมรองรับ โดยได้รวบรวมข้อมูลจากแต่ละภาคส่วน เพื่อออกแบบมาตรการให้ครอบคลุมและตรงเป้าหมาย ซึ่งภาคเอกชนทยอยส่งข้อมูลเข้ามาอย่างต่อเนื่องในวันนี้ (14 กรกฎาคม 2568) เพื่อใช้ประกอบการประเมินและแก้ไขปัญหาในแต่ละภาคธุรกิจ

ในส่วนของข้อเสนอใหม่ที่ไทยจะยื่นต่อสหรัฐ นายพิชัยระบุว่า เงื่อนไขที่ไม่เกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐกิจ เช่น ความมั่นคง ยังอยู่ระหว่างการหารือ ซึ่งหากไทยเสนอประเด็นด้านความมั่นคง อาจทำให้จีนตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีกับไทยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม นายพิชัยมองว่า เรื่องนี้ยังไม่น่ากังวล เนื่องจากไทยยังไม่ได้ใช้ประเทศใดเป็นเงื่อนไขในการเจรจากับสหรัฐ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Thaiger

จับได้แล้ว หนุ่มใจร้าย ถีบเด็กออทิสติก 7 ขวบกระเด็น โมโหถูกหมาจรเห่า

15 นาทีที่แล้ว

เลขเด็ด หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ เดลินิวส์ บางกอกทูเดย์ หวยงวด 16/7/6

16 นาทีที่แล้ว

เว็บสมัครงาน ร้านอาหาร ตั้งรหัสผ่านสุดชุ่ย ทำข้อมูลกว่า 64 ล้านคน เสี่ยงรั่วไหล

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เลขเด็ด อ.ล้ำ งวด 16/7/68 เลขเด่น 4 ตัว พร้อมเลขท้าย 2-3 ตัว

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความการเมืองอื่น ๆ

‘ไอติม’ ไอเดียกระฉูด! ลดภาระงานครูให้ตรงจุด เริ่มที่การตัดงบฯ

ไทยโพสต์

เขากระโดงเดือด ตระกูลชิดชอบ พัวพันที่ดินการรถไฟ 178 ไร่

PostToday

ไอซ์ เปิด ข้อมูล ไผ่ ลิกค์ เป็น ส.ส. กี่สมัย หลังระบุ รอฝายมา 20 ปี

MATICHON ONLINE

เทพไท จี้ ‘ทักษิณ’ อย่าเงียบถ้าไม่ใช่เรื่องจริง ปมถูกฮุนเซนพาดพิง

ไทยโพสต์

ผู้ประกันตนเฮ บอร์ดการแพทย์ เคาะจ่ายค่าผ่าฟันคุด 2,500 บาท เข้าได้ทุกที่

เดลินิวส์

เกาะประเด็นการเมืองวันนี้ จับตาคลิปเสียง ‘นายกฯอิ๊งค์’ พ่นพิษไม่เลิก

เดลินิวส์

ข่าวและบทความยอดนิยม