โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

6 เมืองโบราณของไทย ที่ปรากฏในจารึกปราสาทพระขรรค์ คือที่ใด?

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา
พระปรางค์สามยอด จ. ลพบุรี มีลักษณะเป็นปราสาทขอม (ภาพ : Matichon Tour)

6 เมืองโบราณของไทย ที่ปรากฏในศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ที่เมืองพระนคร คือที่ใด?

พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์แห่งราชวงศ์มหิธรปุระ ทรงเป็นผู้นำเขมรในยุคโบราณทำสงครามขับไล่จามปาออกไปจากดินแดน หลังจากนั้นจึงทรงสถาปนาอำนาจแล้วแผ่อิทธิพลออกไปทั่วทุกสารทิศ

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ คือ การสถาปนาเมืองพระนครหลวง (นครธม) ให้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักร, สถาปนาปราสาทตาพรหมเพื่ออุทิศแด่พระราชมารดา, สถาปนาปราสาทพระขรรค์เพื่ออุทิศแด่พระราชบิดา, สถาปนาอโรคยศาล (ศาลาไร้โรค) และสุคตาลัย (ศาสนสถานประจำอโรคยศาล) จำนวน 102 แห่ง ทั่วพระราชอาณาจักร รวมถึงสถาปนาบ้านมีไฟหรือศาสนสถานบนเส้นทางคมนาคมสำคัญ

ในศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ได้กล่าวถึงการที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสถาปนา “พระชัยพุทธมหานาถ” ไว้ในพื้นที่ต่าง ๆ 23 แห่ง ซึ่งน่าจะเป็นดินแดนที่ราชสำนักเขมรสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีอำนาจอิทธิพลหรือมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับดินแดนเหล่านั้น ประกอบด้วย

ศรีชยราชธานี ศรีชยันตนครี ชยสิงหวตี ศรีชยวีรวตี ลโวทยปุระ**

สุวรรณปุระ ศัมพูกปัฏฏนะ ชยราชปุรี ศรีชยสิงหปุรี ศรีชยวัชรปุรี

ศรีชยสตมภปุรี ศรีชยราชคีรี ศรีชยวีรปุรี ศรีชยวัชรวตี ศรีชยกีรติปุรี

ศรีชยเกษมปุรี ศรีวิชยาทิปุรี ศรีชยสิงหคราม มัธยมครามกะ สมเรนทรสงคราม

ศรีชยปุรี วีหาโรตตรกะ ปูราวาส

โดยในจำนวนนี้มี 6 เมือง ที่ปัจจุบันอยู่ในดินแดนประเทศไทย

จากการตีความของนักโบราณคดีอย่าง ยอช เซเดส์ (G. Coedès) ได้อธิบายว่าลโวทยปุระ คือเมืองลพบุรี, สุวรรณปุระ คือ เมืองสุพรรณบุรี, ชยราชปุรี คือ เมืองราชบุรี, ศรีชยสิงหปุรี คือ ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี และศรีชยวัชรปุรี คือ เมืองเพชรบุรี

ต่อมาภายหลังได้มีการเสนอว่า ศัมพูกปัฏฏนะ คือ แหล่งโบราณคดีสระโกสินารายณ์ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

ซึ่ง 6 เมืองโบราณของไทย ที่ปรากฏในศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์เหล่านี้ มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีหลายอย่าง ซึ่งสอดคล้องสัมพันธ์กับอิทธิพลของวัฒนธรรมเขมรในยุคนั้น กล่าวคือ

ลโวทยปุระ คือ เมืองลพบุรี พบพระปรางค์สามยอด อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เป็นศิลปะเขมรแบบบายนสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

สุวรรณปุระ คือ เมืองสุพรรณบุรี พบโบราณสถาน และโบราณวัตถุศิลปะเขมรแบบบายนที่โบราณสถานเนินทางพระ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี

ชยราชปุรี คือ เมืองราชบุรี พบพระปรางค์ที่วัดมหาธาตุวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยพระปรางค์องค์ปัจจุบันน่าจะสร้างครอบพระปรางค์องค์เดิม นอกจากนี้ แนวกำแพงของวัดมหาธาตุวรวิหารก็มีรูปแบบศิลปะเขมรแบบบายนสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ด้วย

ศรีชยสิงหปุรี คือ ปราสาทเมืองสิงห์ เป็นปราสาทที่สร้างขึ้นในศิลปะเขมรแบบบายน และยังพบโบราณวัตถุต่าง ๆ เช่น ประติมากรรมหินแกะสลักรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งเป็นศิลปะเขมรแบบบายนสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

ศรีชยวัชรปุรี คือ เมืองเพชรบุรี พบปราสาทกำแพงแลงที่วัดกำแพงแลง จังหวัดเพชรบุรี เป็นศิลปะเขมรแบบบายนสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เช่นกัน

ศัมพูกปัฏฏนะ คือ แหล่งโบราณคดีสระโกสินารายณ์ เนื่องจากค้นพบโบราณวัตถุในสมัยบายนโดยเฉพาะรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี

รศ. ดร. รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล อธิบายเพิ่มเติมว่า เมืองอื่นในศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ เช่น ศรีชยราชธานี คือ เมืองยโศธรปุระ และศรีชยันตนครี น่าจะเกี่ยวข้องกับชยันตปุระ ทว่า เมืองบางเมืองยังไม่สามารถตีความได้ว่าอยู่ ณ ที่ใด อาจจะอยู่ในบริเวณทะเลสาบเขมร หรืออยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก็เป็นไปได้

สำหรับ 6 เมืองโบราณของไทย ที่ปรากฏในศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ จะอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนใหญ่จะเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีอายุเก่าแก่มาตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ 15 และยังคงสถานะความเป็นเมืองขนาดใหญ่มาจนถึงก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1

ราชสำนักเขมรสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองพระนครหลวง แผ่อำนาจเข้ามายังบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในลักษณะความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ไม่ได้เข้ามาปกครองโดยตรง เมืองเหล่านั้นยังสามารถปกครองตัวเองได้อยู่ เพียงแต่ยอมรับอำนาจของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

เว้นแต่ “ลโวทยปุระ” ที่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงส่งพระราชโอรสเข้ามาปกครองเมืองแห่งนี้โดยตรง

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง :

รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล. “พระเจ้าชัยวรรมันที่ 7 : บารมี ญาติวงศ์ ความทรงจำ ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา” ใน, ศิลปวัฒนธรรม, ธันวาคม 2567.

ศานติ ภักดีคำ. Tour Story : เรื่องราวระหว่างทัวร์ เมืองโบราณทางภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศไทยในจารึกปราสาทพระขรรค์, จาก https://www.matichonacademy.com/tour-story/เมืองโบราณทางภาคกลางแล

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 22 กรกฎาคม 2568

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : 6 เมืองโบราณของไทย ที่ปรากฏในจารึกปราสาทพระขรรค์ คือที่ใด?

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.silpa-mag.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ศิลปวัฒนธรรม

ลั่นกลองรบ! สงครามปราบก๊กเจ้าพระฝาง แห่งสวางคบุรี ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“หัวไชเท้า” พืชหัวที่หลายคนชื่นชอบ ทำไมเรียกด้วยชื่อนี้

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

"บาร์บีคิวพลาซ่า" เปิดโฉมใหม่ที่เซ็นปิ่น พร้อมไฮไลต์พิเศษกับเมนู GON SELECT

Manager Online

ถอดรหัสภาษากายสี่ขา รู้จักอารมณ์ "น้องหมา" ผ่านท่าทางและเสียง

คมชัดลึกออนไลน์

JISOO IN NEW DIOR ชุดสั่งตัดพิเศษโดย Jonathan Anderson ที่คอนเสิร์ต BLACKPINK

THE STANDARD

ผลกระทบ “พายุวิภา” อช.ภูสอยดาว ประกาศปิดการท่องเที่ยวชั่วคราว

Manager Online

ล้วงลึกแนวคิด Upbit แพลตฟอร์มสินทรัพย์ดิจิทัลระดับโลก

Capital

ออม กรณ์นภัส ส่งซิงเกิลเดี่ยวครั้งแรก ระยะไกลของดวงจันทร์ ประกอบซีรีส์ เพียงเธอ Only You The Series

THE STANDARD

ไม่พร้อมมีลูกตอนนี้ Gen Z เลื่อนสร้างครอบครัว เศรษฐกิจไม่เอื้อ

กรุงเทพธุรกิจ

“The Silk Road” ตำนานอาหารกวางตุ้งร่วมสมัยแห่ง The Athenee Hotel Bangkok

Manager Online

ข่าวและบทความยอดนิยม

“หัวไชเท้า” พืชหัวที่หลายคนชื่นชอบ ทำไมเรียกด้วยชื่อนี้

ศิลปวัฒนธรรม

นางสุชาดา “สีกา” หมายเลข 1 ในพุทธศาสนา

ศิลปวัฒนธรรม

6 เมืองโบราณของไทย ที่ปรากฏในจารึกปราสาทพระขรรค์ คือที่ใด?

ศิลปวัฒนธรรม
ดูเพิ่ม
Loading...