โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

หุ้น การลงทุน

สนค. ลุยศึกษาแนวทาง ปรับโครงสร้างการส่งออกไทย

หุ้นวิชั่น

อัพเดต 18 กรกฎาคม 2568 เวลา 17.32 น. • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • HoonVision | หุ้นวิชั่น - หุ้น ข่าวหุ้น หุ้นไทยวันนี้ หุ้นวันนี้ หุ้นเด่น วิเคราะห์หุ้น ธุรกิจ การเงิน เศรษฐกิจ การลงทุน ดัชนีราคาหุ้น

หุ้นวิชั่น - สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.)กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดประชุมระดมสมอง (Focus Group) กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนความเห็นและข้อเสนอแนะต่อแนวทางการปรับโครงสร้างภาคการส่งออกเพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน
ของไทยในตลาดโลก พบโอกาสยกระดับการส่งออกผ่าน 2 คลัสเตอร์ศักยภาพ ในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่และยานยนต์แห่งอนาคต เตรียมสรุปทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อไป

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวภายหลังเป็นประธานในการประชุมระดมสมอง (Focus Group) เรื่อง “บทบาทภาครัฐต่อการปรับโครงสร้างการส่งออก” เมื่อ 18 กรกฎาคม 2568 ณ โรงแรม Queensland กรุงเทพฯ และช่องทางออนไลน์ โดยเปิดเผยถึงความสำคัญของภาคการส่งออกที่เป็นกลไกหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยมาอย่างยาวนาน แต่ในขณะนี้ กำลังเผชิญกับทั้งปัจจัยเชิงโครงสร้างการผลิตภายใน และความท้าทายจากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากปัจจัยภายนอกประเทศหลายด้าน โดยเฉพาะความเสี่ยงจากนโยบายการค้าโลกที่มีความไม่แน่นอนสูงขึ้น สนค. จึงดำเนินโครงการศึกษาแนวทางการปรับโครงสร้างภาคการส่งออกเพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยในตลาดโลกให้เติบโตอย่างยั่งยืน

โครงการศึกษาฯ นี้ ได้มีการศึกษาวิเคราะห์เชิงลึกของภาพรวมโครงสร้างการส่งออก ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสามารถการส่งออก และศักยภาพของสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยในตลาดโลก รวมทั้งมีการวิเคราะห์กลุ่มอุตสาหกรรมศักยภาพและประเมินผลทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นจากการยกระดับการส่งออกผ่านการผลักดัน 2 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการยกระดับภาคการส่งออก คือ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ และอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต พร้อมทั้งพิจารณาถึงความสามารถในการสร้างห่วงโซ่อุปทานภายในประเทศ เพื่อระบุถึงกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพใหม่ ๆ มีโอกาสทางการตลาด และมีมูลค่าเพิ่มสูง ที่จะผลักดันการส่งออกต่อไป

สำหรับ 2 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมศักยภาพนี้ เป็นคลัสเตอร์สำคัญของภาคอุตสาหกรรมไทยที่มีความเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทานภายในประเทศและระดับโลก ทั้งในด้านการส่งออก การผลิต การจ้างงาน และการลงทุน โดยในคลัสเตอร์อิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่มีการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 23.4 ของการส่งออกรวมใน ปี 2567 และมีบทบาทด้านการผลิต คิดเป็นร้อยละ 16 ของมูลค่าเพิ่มภาคอุตสาหกรรมในปี 2566 เป็นหัวใจของการสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ในการเปลี่ยนสินค้าให้กลายมาเป็น Smart Products ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น และอาจสร้างสินค้าส่งออกใหม่ เช่น PCB PCBA อุปกรณ์เสริม ทางการแพทย์ต่าง ๆ ในส่วนคลัสเตอร์ยานยนต์แห่งอนาคตมีการส่งออกร้อยละ 10 ของการส่งออกรวมในปี 2567 และมีบทบาท ด้านการผลิตคิดเป็นร้อยละ 11 ของมูลค่าเพิ่มภาคอุตสาหกรรมในปี 2566 โดยยังคงเป็นกลุ่มสินค้าส่งออกสำคัญและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

แม้ว่ากำลังเผชิญแรงกดดันทางด้านการแข่งขันอย่างรุนแรง แต่เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านทางด้านเทคโนโลยี ไม่ได้เกิดขึ้นรวดเร็ว และเป็นกลุ่มที่น่าจะได้ประโยชน์จากการปรับโครงสร้างการส่งออกของคลัสเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย ทั้งนี้ การส่งออกสินค้ากลุ่มเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2568 (มกราคม-พฤษภาคม) มีมูลค่า 27,299.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 19.8 ของมูลค่าการส่งออกรวม และการส่งออกยานพาหนะอุปกรณ์และส่วนประกอบมีมูลค่า 12,490.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 9.0 ของมูลค่าการส่งออกรวม

การดำเนินโครงการศึกษาดังกล่าว นอกจากจะมีการศึกษาและวิเคราะห์จากข้อมูลสถิติเชิงลึกเพื่อวิเคราะห์ประเด็นปัญหาของความสามารถในการแข่งขันของภาคการส่งออกไทยโดยรวมแล้ว ยังมีการรวบรวมความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ตลอดจนการประเมินความพร้อมและศักยภาพของผู้ประกอบการในการที่จะยกระดับภาคการส่งออก ผ่านการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและการประชุมระดมสมองกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมศักยภาพทั้ง 2 คลัสเตอร์ เพื่อให้ได้ผลการวิเคราะห์ที่รอบด้าน และนำมาสู่การพัฒนาร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการปรับโครงสร้างและยกระดับภาคการส่งออกของไทย ที่ได้ร่วมระดมสมองกันในวันนี้

ปัจจุบันโครงการศึกษานี้ อยู่ระหว่างการสรุปผลการศึกษา และรวบรวมประเด็นความเห็นของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจากการประชุมระดมสมองมาพัฒนาร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ก่อนที่จะจัดงานสัมมนาใหญ่เพื่อเผยแพร่ผลการศึกษา ให้ภาคเอกชนและผู้ที่สนใจนำไปใช้ประโยชน์ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับหน่วยงานภาครัฐขับเคลื่อนให้เกิดเป็นรูปธรรม และภาคเอกชนได้ใช้ประโยชน์ประกอบการตัดสินใจวางกลยุทธ์ในการเปลี่ยนผ่านการผลิตกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมไปสู่กลุ่มอุตสาหกรรมศักยภาพมูลค่าสูงที่สอดคล้องกับความต้องการของในโลกอนาคตต่อไป

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก หุ้นวิชั่น

TTB ไตรมาส 2 ตามคาด! ปันผลครึ่งปีแรก 3%

27 นาทีที่แล้ว

ORI ปั้น Hub สุขภาพที่ภูเก็ต เปิดตัวโซน “Neighbor Well” ครบวงจร

31 นาทีที่แล้ว

CPAXT มอบ 13 ทุน 3 สถาบัน สนับสนุนเยาวชนเติบโตอย่างมีคุณภาพ

34 นาทีที่แล้ว

ASW ลงเสาเอก “KAVALON” คอนโด ชิดรั้ว ม.กรุงเทพ มูลค่า 4,500 ล้าน

45 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความหุ้น การลงทุนอื่น ๆ

ก.ล.ต. อนุมัติไฟลิ่งหุ้นกู้ KUN ครั้งที่ 2/68 ชูดอกเบี้ย 7.40% ต่อปี แต่งตั้ง Bluebell และ MPS ร่วมผนึกกำลัง ย้ำมั่นใจชำระหุ้นกู้ชุดเดิมก่อนเสนอขาย

Share2Trade

MTL คว้ารางวัลเกียรติยศ “บริษัทยอดเยี่ยมด้านประกันสุขภาพแห่งปี 2568”

Share2Trade

TTB ไตรมาส 2 กำไรแตะ 5,000 ลบ. ครึ่งปีหลังย้ำเติบโตอย่างรอบคอบ

Share2Trade

TTB ไตรมาส 2 ตามคาด! ปันผลครึ่งปีแรก 3%

หุ้นวิชั่น

สรุปสาเหตุ GULF เมื่อ Q2/68 กำลังจะโกยกำไรทะลัก สูงถึง 5.2 หมื่นล้านบาท

Share2Trade

ORI ปั้น Hub สุขภาพที่ภูเก็ต เปิดตัวโซน “Neighbor Well” ครบวงจร

หุ้นวิชั่น

ธนาคารกรุงเทพ โชว์กำไรครึ่งปีแรก 2568 โตได้ 9.5 % กว่า 2.44 หมื่นล้านบาท

BTimes

#Infographic 10 หุ้นที่มีมูลค่าสูงสุดในตลาดหุ้นไทย

ถามอีก กับอิก TAM-EIG

ข่าวและบทความยอดนิยม

KTX จัดพอร์ตลงทุน เก็บหุ้นหนี้ต่ำ-ปันผลสูง

หุ้นวิชั่น

AOT ชูปัจจัยหนุน ปรับเป้าใหม่ 34 บ.

หุ้นวิชั่น

GFPT คาดกำไร Q3 ฟื้น จับตาภาษีทรัมป์ หนุนต้นทุนลด

หุ้นวิชั่น
ดูเพิ่ม
Loading...