AI มา ลูกค้าสั่งลด cost ไม่ขอลดคุณภาพ ครีเอเตอร์ยุคนี้ เอาไงต่อ ?
เราอยู่ในยุคที่ “ทุกคนต่างเป็นอินฟลูฯ” ทั้ง Tiktoker, Youtuber, Content creator หรือแม้แต่เน็ตไอดอลที่เราเห็นเต็มไปหมดตามโซเซียลมีเดีย
ส่วนหนึ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้ตลาดครีเอเตอร์มีการแข่งขันที่ดุเดือด เนื่องจาก อินฟลูเอนเซอร์กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในการทำการตลาดของแบรนด์ที่ทำให้เข้าไปอยู่ในใจของผู้บริโภคได้มากกว่าการใช้ดาราดัง
ทำให้ตอนนี้เหล่าครีเอเตอร์ เผชิญกับกับปัญหาครีเอเตอร์ในไทยมีจำนวนมากจนล้นตลาด หรือพูดง่ายก็คือ “อินฟลูฯเฟ้อ” ทุกคนล้วนแย่งงานกันเพื่อชิงส่วนแบ่งเค้ก นี่ยังไม่รวมกับการที่ AI เข้ามา ลูกค้าก็มีความต้องการที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิม เช่นการสั่งลด cost เพื่อควบคุมบัดเจ็ทในช่วงเศรษฐกิจแบบนี้ แต่ไม่ขอให้ครีเอเตอร์ไม่ลดคุณภาพ
คำถามก็คือ ตอนนี้สถานการณ์ครีเอเตอร์ไทยเป็นอย่างไร มีเทรนด์ที่ไหนที่น่าจับตามอง ทางรอดคืออะไร และใครที่กำลังจะกระโดดเข้ามาในตลาดนี้ยังจะมีที่ว่างให้พวกเขาอยู่ไหม บทความนี้ SPOTLIGHT จะพาทุกคนไปสำรวจ
โดยได้สรุปสาระสำคัญมาจากหัวข้อเสวนา อินฟลูฯเฟ้อ ครีเอเตอร์เอาไงต่อ Creator Trends 2026 โดย คุณสุวิตา จรัญวงศ์ CEO & Co-founder of Tellscore Co., Ltd. - Influencer Platform และ คุณขจร เจียรนัยพานิชย์ Executive Editor, RAiNMaker ผู้จัดงาน iCreator Conference ณ งาน Creative Talk Conference 2025
ส่องภาพรวมครีเอเตอร์ไทย
- แพลตฟอร์มยอดนิยม : Facebook (31%), TikTok (27%), Instagram (25%), YouTube (17%)
จำนวนครีเอเตอร์จากแพลตฟอร์ม TikTok ใกล้เคียง Facebook ทุกแพลตฟอร์มมีจำนวนครีเอเตอร์สัดส่วนใกล้เคียงกัน เห็นได้ว่าไม่มีแพลตฟอร์มไหน winner take all อยู่ที่ว่าคนดูชอบเสพคลิปแนวไหน
- 10 หมวดครีเอเตอร์ยอดนิยม
ไลฟ์สไตล์ 19% บิวตี้ & แฟชั่น 17% ท่องเที่ยว 8% บันเทิง 8% เกม 7% อาหาร เครื่องดื่มและคาเฟ่ 7% ข่าว 4% ครอบครัวและเด็ก 3% Art & Literature 2% สัตว์เลี้ยง 2%
โดยหมวดหมู่ที่น่าสนใจและกำลังมาแรงคือ แม่และเด็ก, camping, สัตว์เลี้ยง ที่กำลังมีเม็ดเงินอย่างมหาศาล
- หมวดคอนเทนต์ที่มียอดวิวสูงสุด
1. ไลฟ์สไตล์ 2. บันเทิง 3. ครอบครัวและเด็ก 4. อาหาร เครื่องดื่มและคาเฟ่ 5. บิวตี้ & แฟชั่น 6. เกม 7. ท่องเที่ยว 8. ข่าว
- รูปแบบคอนเทนต์ไหนมาแรง ?
: วิดีโอสั้น (82.7%), ภาพเดี่ยว (53.8%), ภาพอัลบั้ม (47.2%), บทความสั้น (35.7%), วิดีโอยาว (26.3%), บทความยาว (15%), ไลฟ์ (14.1%), พอดแคสต์ (6.8%)
ส่องเทรนด์คอนเทนต์ครีเอเตอร์ปีที่ผ่านมา มีอะไรน่าสนใจ ?
1.คอนเทนต์แบบเดิมอาจไม่พอ แต่ต้องตอบสนองความต้องการเชิงลึก ความสนใจของคนเสพ เช่น
- คอนเทนต์ Scam Alert (ตามหาความจริง) : ช่องโดม คุณดำ โอม มิค, โหนกระแส คุณหนุ่มกรรชัย
: เพราะปัจจุบันคนต้องการความจริงและอยากระวังภัยการโกง
- คอนเทนต์ Joy Feed (เสพความสุข คลายเครียด) : ช่อง forgiforfun
: คอนเทนต์ที่สร้างรอยยิ้มและความผ่อนคลาย ปล่อยใจ ไม่ต้องคิดอะไรมากแค่อยากเสพความสุขความน่ารัก
- คอนเทนต์ In search for Equality (สร้างความเท่าเทียม-เข้าถึง) : ช่องครู Surabale1
: คอนเทนต์ที่สร้างแรงบันดาลใจและลดความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย
- คอนเทนต์ In search for Income (หาช่องทางสร้างรายได้เสริม) : ช่อง NackSiwakorn
: ปัจจุบันคนมองหาวิธีการหารายได้เสริม ไม่มีมีแค่ 1 อาชีพ
- คอนเทนต์ Entrepreneur Life (วิถีชีวิตเจ้าของธุรกิจ แนววัยรุ่นสร้างตัว) : ช่อง iamSungStarwin คุณซุง ศตาวิน จากแบรนด์ Love Potion
: ปัจจุบันคนสนใจเบื้องหลังความสำเร็จของแบรนด์นั้นๆผ่านชีวิตคนที่อยู่เบื้องหลังหรือเจ้าของแบรนด์
2.แนวโน้มธุรกิจที่เกี่ยวกับครีเอเตอร์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
- ลูกค้าขอลด cost แต่ไม่ขอลดคุณภาพ : แบรนด์รัดเข็มขัด ตอนนี้ครีเอเตอร์เป็นช่วงที่โดนต่อราคา
- hyperlocal hyperniche : เจาะกลุ่มลึกลงไปไม่กวาดลูกค้า/ ครีเอเตอร์เหมือนแต่ก่อน
เช่น ไม่ใช่แค้จังหวัดไหน แต่ลงไปถึงอำเภอ ตำบล / ประเภทย่อย ไม่ใช่สัตว์เลี้ยงแต่เป็นสัตว์เลี้ยงหลายตัว เช่นหาหมาอ้วนที่ยังไม่ได้หาหมอ เพื่อให้ชิมอาหารที่ลดน้ำหนัก
- insights, data & analyze it for me : พอลงคลิปจบ ครีเอเตอร์ต้องมีทีมงานวิเคราห์ ยอดเท่าไร / ขายได้เท่าไร แล้วส่งให้แบรนด์
- unlock gen z : gen z กำลังกลายเป็นกลุ่มผู้ซื้อหลัก เลยอยากรู้ insight ของพวกเขา
- quick wins : การไลฟ์ เป็น quick win ของแบรนด์ เพราะสามารถขายของได้เลยเห็นยอดขายจริงแบบ real time
- platforms wars : สหรัฐอเมริกา- จีน ตีกัน TikTok VS Facebook สุดท้ายถ้าจำกัด เราจะมั่นคงที่แพลตฟอร์มไหน หลายๆครีเอเตอร์เลยเริ่มไปสร้างเว็บไซต์ของตัวเองมากขึ้น
- attention battle : แย่งกัน แข่งกัน บางคนยอมแล่นผิดกฎติกา เช่น สินค้ายังไม่มีอย. เว็บพนัน ซึ่งในข้อนี้หากครีเอเตอร์เข็มทิศไม่ดี หรือร้อนเงิน ก็อาจหลงเข้าไปในครีเอเตอร์สายสีเทาได้
- CreatorPreneur : creator กลายเป็นสื่อมวลชน และยังเป็นที่ถกเถียงกันในเรื่องอาชีพว่าขอบเขตควรทำได้อย่างไร เพราะสื่อมวลชนจะมีบริษัทและมีจรรยาบรรณสื่อ
3.AI เข้ามาจะเปลี่ยนวงการครีเอเตอร์อย่างไร ?
โอกาส
- ช่วยให้ครีเอเตอร์ผลิตคอนเทนต์ได้ง่ายเร็วขึ้น
- มีรูปแบบการสร้างสรรค์คอนเทนต์ใหม่ๆ เช่น คุณสุทธิชัย หยุ่น ใช้ NotebookLM
- เพิ่มการเข้าถึงบริการเฉพาะทาง เช่น AI ด้านสุขภาพ, กฎหมาย และการเงิน
ความท้าทาย
- กฎหมายยังตามเทคโนโลยีไม่ทัน
- เกิดการหลอกหลวงและ Fake News ที่แนบเนียนขึ้น
- กระทบครีเอเตอร์สายสุจริต เนื่องจากครีเอเตอร์สายเทาสร้างความไม่น่าเชื่อถือ ทำให้ครีเอเตอร์ที่ทำงานอย่างถูกต้องอาจหาเงินได้ยากขึ้น
ทางรอดของครีเอเตอร์ในยุคนี้ ที่ต้องไม่อิงแค่เงินจากแพลตฟอร์ม
- ขายสินค้า (Merchandise) โดยการสร้างแบรนด์ของตัวเอง เช่น ช่อง Rubsarb
- สร้างระบบสมาชิก (Membership) คอนเทนต์เอ็กซ์คลูซีฟสำหรับแฟนตัวยงที่จ่ายเงินเพื่อสนับสนุนโดยเฉพาะ เช่น ช่อง Peanutbutter
- จัดอีเวนต์ (Event) โดยการเปลี่ยนผู้ติดตามออนไลน์มาเป็นผู้เข้าร่วมงานในโลกออฟไลน์ เช่น ช่อง Farose
- การจับมือร่วมมือกับแบรนด์ (Co-Brand) เพื่อผลิตสินค้า
- แบรนด์ผันตัวเป็นครีเอเตอร์เพื่อคอมมูนิตี้ของตัวเอง เช่น หมีเนย (Butterbear) หรือ Love Potion
Mega-trends ที่น่าจับตามองของวงการครีเอเตอร์
- การปฏิวัติของ AI (AI Revolution)
- วิกฤตข้อมูลลวง (Disinformation)
- นโยบายแพลตฟอร์มและกฎหมายดิจิทัล
- ครีเอเตอร์กลายเป็นสื่อกระแสหลัก (Creator as Mainstream Media)
- การเติบโตของโลกเสมือน (Virtual World)
- กระแสความเท่าเทียม (Inclusivity) และความยั่งยืน (Sustainability)
นอกจากนี้ คุณสุวิตาและคุณขจร ยังได้ฉายภาพวงการครีเอเตอร์ไทยอีกว่า ในอนาคตเราจะเห็นภาพครีเอเตอร์เข้ามามีบทบาทในทุกๆวงการมากขึ้น จะเกิดการสร้างสรรค์ใหม่ๆไร้ขีดจำกัด เกิดความครีเอทีฟในอุตสาหกรรมคอนเทนต์ อย่างไรก็ตาม อาชีพครีเอเตอร์ยังถือว่าไม่ได้มีตัวกฎหมายอะไรมารองรับที่ชัดเจนทำให้อาจดูเหมือนว่าอยู่บนอาชีพที่ไม่มีความมั่นคง และหากมีครีเอเตอร์ได้ผันตัวเข้ามาเป็นครีเอเตอร์เทาเยอะก็จะทำให้วงการนี้เกิดความไม่น่าเชื่อถือและกลายเป็นซากปรักหักพังของอุตสาหกรรมคอนเทนต์ได้ในอนาคต