Finnomena 2025 Mid-Year Outlook: Harnessing Volatility with Unconventional Assets ปรับกลยุทธ์รับมือกับความผันผวน ด้วยสินทรัพย์นอกกรอบ
สรุปกลยุทธ์การลงทุนครึ่งปีหลัง 2025 Mid-Year Outlook แนะนำกลยุทธ์สร้างผลตอบแทนในตลาด Sideway ด้วยสินทรัพย์นอกกรอบ (Alternative Assets) กระจายการลงทุนที่หลากหลาย พร้อมใช้กลยุทธ์ Call Option เสริมผลตอบแทนจาก Premium Income และเตรียมสภาพคล่องบางส่วนเพื่อเพิ่มน้ำหนักการลงทุนเมื่อตลาดปรับฐาน
Executive Summary ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา
ผลกระทบจากนโยบายภาษี (Tariff) จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาชะลอตัว (แต่ไม่เข้าสู่ภาวะถดถอย) ขณะที่เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น และตลาดแรงงานอ่อนแรงลงเพื่อเข้าสู่ดุลยภาพ
แรงหนุนเศรษฐกิจจากการลดดอกเบี้ยของ Fed ลดลง แต่หากเกิดความไม่แน่นอนอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจ Fed ยังพร้อมเข้าช่วยเหลือ
ในระยะยาวเรามองว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังมีความน่าสนใจจากการเติบโตของกำไรที่สูง โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่มีการใช้งานด้าน AI มากขึ้น รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนของธุรกิจ
ในระยะสั้นความไม่แน่นอนยังคงมีอยู่จากความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ร่างกฏหมาย One Big Beautiful Bill (OBBB) ความไม่แน่นอนของนโยบายของทรัมป์ และการเปลี่ยนแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินของ Fed
ด้าน Valuation ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ณ ปัจจุบันอยู่ในระดับที่ค่อนข้างตึงตัว บ่งชี้ถึง Downside Risk ในระยะสั้น
เราจึงปรับมุมมองหุ้นสหรัฐฯ สู่ Slightly Positive จาก Slightly Positive โดยแนะนำกลยุทธ์การลงทุนสร้างผลตอบแทนในตลาดผันผวน หรือ Sideways อย่าง Multi Asset กองทุน ES-GAINCOME-A ซึ่งเน้นลงทุนการกระจายไปในหลายสินทรัพย์ทั่วโลกที่สร้างกระแสเงินสดสูง และกองทุน K-GPINUH-A(A) ซึ่งลงทุนในหุ้น Defensive ที่มีการจ่ายเงินปันผล พร้อมใช้กลยุทธ์ขาย Call Option เพื่อเสริมผลตอบแทนจาก Premium Income เพิ่มเติม
นอกจากนี้ เราแนะนำเตรียมสภาพคล่องบางส่วนเพื่อเพิ่มน้ำหนักการลงทุนเมื่อตลาดปรับฐาน
ตลาดหุ้นยุโรปปรับมุมมองหุ้นยุโรปสู่ Neutral จาก Slightly Positive ตามทิศทางตลาดหุ้นโลกที่เผชิญกับความไม่แน่นอน แม้แนวโน้มเศรษฐกิจยุโรปจะทยอยฟื้นตัวอย่างช้า ๆ และ ECB กำลังเข้าใกล้จุดสิ้นสุดของวัฏจักรการลดดอกเบี้ย
อย่างไรก็ดี ตลาดยุโรปยังคงมีจุดเด่นจากระดับ Shareholder Yield ที่สูงกว่าสหรัฐฯ โดยเฉพาะในด้านอัตราการจ่ายเงินปันผลและการซื้อหุ้นคืน
ขณะที่ด้าน Valuation ยังมีข้อจำกัดในการ Re-rate ขึ้น เนื่องจากการเติบโตของกำไรในตลาดยุโรปยังอยู่ในระดับต่ำ และมีสัดส่วนหุ้นเติบโต (Growth stocks) ที่น้อยเมื่อเทียบกับตลาดสหรัฐฯตลาดหุ้นญี่ปุ่น
เราคงมุมมอง Neutral ต่อตลาดหุ้นญี่ปุ่น แม้จะมีปัจจัยบวกหลายด้าน โดยเฉพาะการปฏิรูปธรรมาภิบาลองค์กร (Corporate Governance Reform) ที่ยังคงเป็นจุดเด่นสำคัญ พร้อมแรงกดดันจาก Activist Investors ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้บริษัทญี่ปุ่นเร่งปรับปรุงธรรมาภิบาลอย่างจริงจัง ภายใต้บทบาทนำของ TSE ซึ่งในครึ่งปีแรกของปี 2025 มีบริษัทถูกถอดออกจากตลาด (Delist) แล้วถึง 59 แห่ง
อีกหนึ่งแรงหนุนคือมูลค่าการทำ Share Buyback ในปี 2025 (ณ วันที่ 23 มิ.ย.) ซึ่งสูงเกินกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งปี 2024 ไปแล้ว สะท้อนความพยายามสร้างมูลค่าให้ผู้ถือหุ้นอย่างต่อเนื่อ
แม้อัตราเงินเฟ้อญี่ปุ่นยังเกินกรอบเป้าหมาย แต่ BOJ ยังคงดำเนินนโยบายการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งในการขึ้นดอกเบี้ยและการลด QE ขณะที่ความกังวลเรื่อง Unwind Yen Carry Trade ดูจะคลี่คลายลงแล้ว
อย่างไรก็ดี ปัจจัยเสี่ยงยังคงอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะความไม่แน่นอนด้านการเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ การรักษาสมดุลความสัมพันธ์กับจีน และการพึ่งพาด้านความมั่นคงจากสหรัฐฯ
ตลาดหุ้น Emerging Marketเรามีมุมมอง Slightly Positive ต่อตลาดหุ้น EM ex China เนื่องจากยังคงมีความน่าสนใจและได้ประโยชน์จากผลของความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมถึงประมาณการกำไรยังถูกปรับขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยหนุนจากค่าเงินสกุลเอเชียที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ และบางสกุลเงินที่สำคัญอย่างเช่น KRW และ INR ยังไม่ Overvalue และมีโอกาสแข็งค่าต่อ
แนะนำทยอยสะสมกองทุน TEMXCHตลาดหุ้นจีน
เราคงมุมมอง Slightly Positive หุ้นจีน H-shares และคงมุมมอง Neutral หุ้นจีน A-shares
นโยบายของรัฐบาลจีนมีแนวโน้มผ่อนคลายมากขึ้นอย่างชัดเจน โดยเน้นสนับสนุนภาคธุรกิจเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แม้ว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ แต่รัฐบาลเน้นรักษาเสถียรภาพด้านราคา มากกว่าการอัดฉีดขนาดใหญ่
ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาอสังหาฯ ที่เคยกดดันตลาดหุ้นจีนดูเหมือนจะผ่านจุดเลวร้ายที่สุดไปแล้ว โดยอ้างอิงจากบทเรียนของญี่ปุ่นและสหรัฐฯ
ชอบหุ้นจีน H-shares มากกว่า โดยเฉพาะหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ จากการเติบโตของกำไรหุ้นเทคโนโลยีจีนขนาดใหญ่ที่น่าสนใจกว่า จากปัจจัยสนับสนุนเฉพาะตัว และได้รับอานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นบริโภค รวมถึงกฏระเบียบที่ผ่อนคลายลงจะช่วยให้เพิ่มส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น
ขณะที่หุ้นจีน A-Shares ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Old Economy และการเติบโตไม่โดดเด่น
ด้าน Valuation หุ้นจีน H-Shares แพงกว่าในอดีต แต่มาจากโครงสร้างตลาดหุ้นที่มีน้ำหนักหุ้นเทคโนโลยีมากขึ้น
แนะนำทยอยสะสมกองทุน MEGA10CHINA-Aตลาดหุ้นอินเดีย
เราปรับมุมมองตลาดหุ้นอินเดียสู่ Slightly Positive จาก Positive หลังตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นทำให้ Valuation สูงขึ้น
แนวโน้มเศรษฐกิจระยะยาวยังเติบโตแกร่งกว่าประเทศ EM อื่น ๆ ขณะที่ภาครัฐบาลและธนาคารกลางใช้นโยบายเศรษฐกิจที่สอดคล้องกันเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้านการเติบโตของสินเชื่อธนาคารแม้ชะลอตัวลงในช่วงที่ผ่านมาแต่เริ่มเห็นถึงการฟื้นตัว หลังธนาคารกลางอินเดียลดดอกเบี้ย 0.50%
ถึงแม้ว่าด้าน Valuation ของตลาดหุ้นแพง แต่ปัจจัยขับเคลื่อนตลาดหุ้นหลัก ๆ หนุนมาจากการเติบโตของกำไร
แนะนำทยอยสะสมกองทุน TISCOINA-A และ B-BHARATA
ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปรับมุมมองตลาดหุ้นเกาหลีใต้สู่ Neutral จาก Slightly Positive หลังประธานาธิบดีคนใหม่มีเป้าหมายชัดเจนในการผลักดันตลาดหุ้นสู่ 5,000 จุด และการปฏิรูป Corporate Governance 2.0 อย่างจริงจัง
แต่ตลาดหุ้นเกาหลีได้รับการ Re-Rating หรือปรับ Valuation ขึ้นด้วยสาเหตุข้างต้นไปมากแล้ว ซึ่ง Valuation ปรับตัวเพิ่ม (Re-rating) ขึ้นมาราว 20% จากช่วงต้นปี และปัจจุบัน Forward PE ซื้อขายที่ 10.4x ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยระยะยาว
หากเทียบกรณีศึกษาจากตลาดหุ้นญี่ปุ่น ที่ได้มีการผลักดัน Corporate Governance Reform จะพบว่าตลาดหุ้นมีการ Re-rating ขึ้ันมาประมาณ 15-20% และปัจจุบันซื้อขายที่ Forward PE 14.8x เท่า ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยระยะยาวเช่นเดียวกับตลาดหุ้นเกาหลี ณ ปัจจุบันตลาดหุ้นไทย
เราคงมุมมอง Slightly Positive ต่อตลาดหุ้นไทย ทิศทางเศรษฐกิจผสมผสานแต่ละกลุ่ม ภาคการท่องเที่ยวที่เป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนหลักอ่อนแอลง การบริโภคมีแนวโน้มซบเซาจากโครงการเงินหมื่นถูกเลื่อนออกไป
แต่ภาคการส่งออกขยายตัวเร่งขึ้น จากการ Front load นำเข้าสินค้าของประเทศคู่ค้า จากความกังวลเรื่องการขึ้น Tariff
ความผันผวนทางการเมืองในประเทศกดดันต่อความเชื่อมั่นตลาดหุุ้น
ส่งผลให้ Valuation ตลาดหุ้นอยู่ในระดับถูกมาก และการเติบโตของกำไรตลาดหุ้นอยู่ในระดับต่ำ แต่ระดับ Dividend yield อยู่ในระดับที่น่าสนใจมาก
แนะนำทยอยสะสมกองทุน TISCOHD-A ซึ่งเน้นลงทุนหุ้นไทยปันผลสูงตลาดหุ้นเวียดนาม
เราคงมุมมอง Slightly Positive ต่อตลาดหุ้นเวียดนาม การเติบโตของสินเชื่อยังโตต่อเนื่อง ส่งผลให้การผลิตและการค้าปลีกแข็งแกร่ง FDI ยังไหลเข้าต่อเนื่อง ขณะที่ Fund flow จากนักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาในตลาดหุ้นเวียดนาม
ตลาดหลักทรัพย์เวียดนามเริ่มใช้ระบบ KRX แล้ว หลังจากพัฒนามานานกว่า 10 ปี ถือเป็นก้าวเปลี่ยนผ่านสำคัญของเวียดนามในการยกระดับตลาด จาก Frontier Market ไปสู่ Emerging Market
เราแนะนำทยอยสะสม PRINCIPAL VNEQ-A และ KKP VGF-UI* (*ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย กองทุนรวมที่เสนอขายผู้ลงทุนสถานบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน)ตราสารหนี้โลก
เคงมุมมอง Positive ต่อตราสารหนี้โลก โดย Bond Yield สหรัฐฯ ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่ธนาคารกลางทั่วโลกอยู่ในช่วงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง และทิศทางเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัวจะช่วยหนุนให้ Bond Yield เริ่มมีเสถียรภาพ เราชอบพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ที่มีคุณภาพดีเนื่องจาก Credit spread ยังอยู่ในระดับที่แคบ
โดยแนะนำกองทุน K-GDBOND-A(A)น้ำมันดิบ
ยังคงมุมมอง Slightly Negative ต่อน้ำมัน เนื่องจากตลาดน้ำมันยังเผชิญกับสภาวะอุปทานส่วนเกินโดยเฉพาะการเพิ่มกำลังการผลิตจากฝั่งสหรัฐฯ ขณะที่ความขัดแย้งในตะวันออกกลางเรามองเป็นปัจจัยกระตุ้นระยะสั้นทองคำ
เราปรับมุมมองทองคำขึ้นสู่ Slightly Positive จาก Neutral เนื่องจากทองคำยังมีแรงซื้อจากธนาคารกลางทั่วโลก โดยเฉพาะธนาคารกลางกลุ่มประเทศ BRICS และยังได้ปัจจัยสนับสนุนจากความไม่แน่นอนด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงอยู่
แนะนำทยอยสะสมกองทุน KT-GOLDUH-A และกองทุน K-GOLD-A(A)ดาวน์โหลดฟรี! “สไลด์มุมมองการลงทุน ครึ่งปีหลัง 2025”
จัดทำโดยบลป.เดฟินิท (Definit) สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)สามารถเข้าถึงรายละเอียดกองทุนต่าง ๆ และ Fund Fact Sheet ได้จาก Link บนชื่อกองทุน
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299