โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

สรท. จี้ รัฐปิดดีลภาษีทรัมป์ หวั่นเศรษฐกิจไทยพัง ต้องใช้เวลาฟื้น 5-10 ปี

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 14 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

นายธนากร เกษตรสุวรรณ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ( สรท.) หรือ สภาผู้ส่งออก เปิดเผยว่า ภาษีตอบโต้สหรัฐ ไทยได้รับ 36% สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ขณะที่คู่แข่งอย่างเวียดนามปิดดีลตัวเลขได้ 20 % มาเลเซีย 25 % ทำให้ไทยเสียเปรียบเวียดนาม ซึ่งเมื่อถึงวันที่ 1 ส.ค.

หากไทยไม่สามารถปิดการเจรจาได้สินค้าที่ไปสหรัฐจะโดนเก็บภาษี 36 % และจะทำให้ต้นทุนส่งออกสินค้าไทยไปยังสหรัฐอเมริกาสูงขึ้นจนไม่สามารถแข่งขันได้ กระทบต่อมูลค่าการส่งออกของไทยไปยังสหรัฐอเมริกาซึ่งสูงถึง 2 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 20% ของการส่งออกทั้งหมดของประเทศไทย

โดยเฉพาะ สินค้าไทยจะเสียเปรียบคู่แข่งมากที่สุด ประกอบด้วย เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อาหารสำเร็จรูป ข้าว ยางพาราและผลิตภัณฑ์ และสินค้าอุปโภคบริโภคอื่น เป็นต้น ซึ่งหลายอุตสาหกรรมมีการใช้แรงงานเข้มข้นที่อาจนำไปสู่การเลิกจ้างแรงงานจำนวนมาก รวมถึงสินค้าเกษตรหลายรายการจะไม่สามารถแข่งขันได้ จะมีผลให้เกิดแรงกดดันต่อราคาผลผลิตภายในประเทศและกระทบต่อรายได้เกษตรกรและครัวเรือนไทยจำนวนมากในที่สุด

“ไทยจำเป็นต้องปิดดีลให้ได้ หรือปิดดีลภาษีให้ได้ 20% เท่ากับเวียดนาม ไม่เช่นนั้นจะมีเอฟเฟ็กต์มหาศาล เพราะไม่เพียงจะกระทบต่อยอดส่งออกไปสหรัฐ 2 ล้านล้านบาท แต่ยังกระทบต่อภาคการผลิต และการลงทุนจากต่างประเทศจะลดลงอย่างมากในช่วงหลายปีต่อจากนี้เพราะนักลงทุนจะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่เสียภาษีน้อยกว่าไทย ซึ่งจะทำให้ระบบเศรษฐกิจในประเทศเกิดภาวะชะงักงัน และไม่สามารถแข่งขันทางการค้ากับคู่แข่งสำคัญได้อีกในระยะยาว"นายธนากร กล่าว

นายธนากร กล่าวว่า การที่ไทยโดน ภาษี 36% ส่งออกไทยจะไม่ขยายตัว โดยเฉพาะในครึ่งปีหลังจะไม่เติบโตเลย ส่ออาการไม่ดี ส่งผลให้ส่งออกทั้งปีจากเดิมตั้งเป้าไว้ 1-3 % จะเติบโตเพียง 1 % เท่านั้น ดังนั้น ไทยต้องปิดดีลให้ได้ในรอบที่ 2 เพราะระยะเวลาเพียง 3 สัปดาห์จะถึงเส้นตาย 1ส.ค. ซึ่งนาย โดนัลด์ ทรัมป์ ส่งมามีการระบุชัดเจนว่าเขาจะไม่มีการขยับวันที่ ฉะนั้นจําเป็นอย่างยิ่งที่ทางทีมเจรจาของฝ่ายรัฐบาลไทยต้องเร่งปิดดีลให้จบ

นายคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหาร สรท. กล่าวว่า คาดว่า ตลาดสหรัฐจะชะลอตัวลงในครึ่งปีหลังแต่ตลาดอื่นๆยังคงไปได้ แต่เห็นผลกระทบชัดเจนในต้นปีหน้า หากทีมเจรจาปิดดีลภาษีได้ที่ 20 % สรท.ก็ยังรับได้ เพราะยังเท่ากับคู่แข่ง แต่หากคงภาษีที่ 36 % ผลกระทบจะขยายวงกว้าง ไม่ใช่แค่เรื่องการส่งออกเท่านั้น แต่จะกระทบไปถึงเรื่องอื่น ๆ ด้วย เช่น การจ้างงาน การลงทุน ถึงแม้ประธานาธิบดีทรัมป์จะหมดวาระการดำรงตำแหน่งไปแล้วก็ตาม ปัญหาก็ไม่ได้หมดไปทันที

“การเรียกเก็บภาษีในอัตราที่สูงครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในวงกว้าง ทั้งด้านการค้าการลงทุน ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูอย่างน้อย 5-10 ปี" นายคงฤทธิ์ กล่าว

ทั้งนี้ สรท. จะยื่นข้อเสนอต่อรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเป็นแนวทางดำเนินการ คือ

1. ข้อเสนอสำหรับการเจรจาลดอัตราภาษีกับสหรัฐอเมริกา อาทิ สนับสนุนการปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐอเมริกาเป็น 0% ให้มากที่สุด

โดยเฉพาะในรายการสินค้าที่ไทยสามารถยอมรับได้ ขยายเวลาการให้สิทธิประโยชน์ในการส่งเสริมการลงทุนสำหรับการลงทุนทางตรง (FDI) จากสหรัฐอเมริกา เร่งจัดซื้อสินค้ากลุ่มพลังงานจากสหรัฐอเมริกา ให้มากขึ้นแทนการซื้อจากแหล่งอื่น

2. ข้อเสนอสำหรับการหาตลาดศักยภาพอื่นทดแทน อาทิ 2.1) สนับสนุนงบประมาณในปี 2569-2570 สำหรับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ทั้งในต่างประเทศ อาทิ การพาผู้ประกอบการไปเข้าร่วมออกงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ และการจัดกิจกรรม Business Matching และในประเทศ อาทิ กิจกรรม Incoming Mission ให้มากขึ้นและต่อเนื่อง เพิ่มงบประมาณโครงการ SMEs Proactive ให้ผู้ประกอบการส่งออก SMEs สามารถบุกตลาดอื่นได้มากขึ้น โดยเฉพาะในงานแสดงสินค้าที่ภาครัฐไม่สามารถพาผู้ประกอบการไทยไปเข้าร่วม

รวมทั้งร่วมมือกับสถาบันการเงินของรัฐ เช่น ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สำหรับจัดหาวงเงินหมุนเวียนและสนับสนุนค่าธรรมเนียมป้องกันความเสี่ยงทางการค้าในการบุกตลาดใหม่ และเร่งรัดการเจรจาการค้าเสรีทุกกรอบที่อยู่ระหว่างการเจรจาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว รวมถึงเพิ่มเติมการเจรจากับคู่ค้าสำคัญอื่นเพิ่มเติม และสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลงที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

3. ข้อเสนออื่นเพิ่มเติม ทั้งเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออก และเพื่อปกป้องผู้ประกอบการในประเทศจากการนำเข้าสินค้าแหล่งอื่น อาทิ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน พิจารณาเงื่อนไขการปรับลดต้นทุนให้ภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ ดำเนินมาตรการกำกับดูแลค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับอ่อนค่าเมื่อเทียบกับคู่แข่งสำคัญ เป็นต้น

พิจารณาชะลอการขึ้น ค่าแรงงานขั้นต่ำและปรับลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ อาทิ ค่าไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง เร่งรัดกระบวนการคืนภาษีธุรกิจ อาทิ ภาษีเงินได้นิติบุคคล รวมทั้งเพิ่มความเข้มงวดมาตรการปรามการนำเข้าสินค้าไม่ได้มาตรฐานที่เข้ามาตีตลาดในประเทศ และสินค้าสวมสิทธิ์ ตรวจสอบสินค้านำเข้า เป็นต้น

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

นิสสัน เสริมทัพนาวารา เพิ่ม 3 รุ่นใหม่ คิงแค็บ ยกสูง เริ่ม 7.58 แสน

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ปชน.พร้อมเปิดดีลทุกพรรค รับร่างนิรโทษฯ 5 ฉบับรวม 112 ถกต่อในสภา

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘มันนิกซ์’มุ่งเติบโตคุณภาพ ดัน‘สินเชื่อนาโน’5.7หมื่นล้าน

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘ทักษิณ’ ช็อก สัมพันธ์ไทย-กัมพูชาร้าว เผย ความเป็นพี่น้อง 'ฮุน เซน' จบแล้ว

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

ทล.เปิดทดลองวิ่งมอเตอร์เวย์ M81 วันที่ 10-14 ก.ค.68 อำนวยความสะดวกปชช.ช่วงวันหยุดยาว

สยามรัฐ

ซัมซุง อวดโฉม Galaxy Z Flip7 สมาร์ทโฟนจอพับ FlexWindow แบบไร้ขอบ

ฐานเศรษฐกิจ

ทักษิณ ประกาศกร้าว “จบสิ้นแล้ว” สัมพันธ์ 33 ปี “ฮุนเซน” แฉถูกวางกับดักอัดคลิปเสียง

ข่าวหุ้นธุรกิจ

สรุป Galaxy Unpacked 2025 สรุปของใหม่จาก Samsung ที่เปิดตัว

Techsauce

ซัมซุง เปิด Galaxy Z Fold7 สมาร์ทโฟนจอพับบางเบาสุดในประวัติศาสตร์

ฐานเศรษฐกิจ

EA ผู้ถือหุ้นกู้โหวตผ่าน 9 รุ่น ขยายเวลาไถ่ถอน 5 ปี มั่นใจฟื้นสภาพคล่อง

ข่าวหุ้นธุรกิจ

"MEDEZE โชว์ศักยภาพแพทย์ไทย ร่วมประชุมวิชาการ AAHRS 2025 ตอกย้ำผู้นำด้านการฟื้นฟูเส้นผมระดับภูมิภาค

สยามรัฐ

GULF เข้าถือหุ้น 50% “BSWPH” ลุย “วินด์ฟาร์ม” กำลังผลิต 436.5 MW

ข่าวหุ้นธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...