โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

The Poland Pivot: เมื่อไทยเป็น ‘หมุดหมายยุทธศาสตร์ใหม่’ ในเกมภูมิรัฐศาสตร์โลก

THE STANDARD

อัพเดต 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • thestandard.co
The Poland Pivot: เมื่อไทยเป็น ‘หมุดหมายยุทธศาสตร์ใหม่’ ในเกมภูมิรัฐศาสตร์โลก

กรุงวอร์ซอที่ดิฉันได้มาเยือนในวันนี้ แทบไม่เหลือเค้าโครงของภาพจำในหน้าประวัติศาสตร์ที่เต็มไปด้วยร่องรอยแห่งสงครามและความเจ็บปวด เมืองที่เคยถูกทำลายราบเป็นหน้ากลองในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ฟื้นคืนชีพ กลายเป็นเมืองใหญ่ที่เปี่ยมด้วยพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและเป็นศูนย์กลางทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของยุโรปกลาง

แต่สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่าการเติบโตภายในประเทศ คือการที่โปแลนด์กำลังปรับแกนเข็มทิศนโยบายต่างประเทศของตนเองอย่างมีนัยสำคัญ และการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ มี ‘ประเทศไทย’ เป็นหนึ่งในหมุดหมายสำคัญ

ปรากฏการณ์ “The Poland Pivot” นี้ ไม่ใช่แค่การทูตเพื่อกระชับมิตรภาพตามปกติ แต่เป็นการเคลื่อนไหวเชิงยุทธศาสตร์ที่เกิดจากแรงผลักดันทางภูมิรัฐศาสตร์โลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป ในยุคที่โลกกำลังเปลี่ยนผ่านจากขั้วอำนาจเดียวสู่สภาวะหลายขั้ว ประเทศมหาอำนาจระดับกลาง ต่างแสวงหาพันธมิตรใหม่เพื่อสร้างสมดุลและเพิ่มทางเลือกให้กับตนเอง และนี่คือโอกาสครั้งสำคัญของประเทศไทยในการสร้างพันธมิตรและยกระดับบทบาทของตนเองในเวทีโลก

ดิฉันได้มีโอกาสสนทนากับ อุรษา มงคลนาวินเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอร์ซอ บทสนทนาในวันนั้น ทำให้เห็นภาพชัดเจนถึงเบื้องหลังการขับเคลื่อนที่กำลังจะยกระดับความสัมพันธ์กว่า 5 ทศวรรษ ซึ่งสถาปนามาตั้งแต่ปี 1972 และเพิ่งเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 50 ปีไปเมื่อปี 2022 สู่บทใหม่ของการเป็น “หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์”

อุรษา มงคลนาวิน

อุรษา มงคลนาวิน เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอร์ซอ และ ณัฏฐา โกมลวาทิน

เข้าใจหัวใจของโปแลนด์: ทำไมต้องวันนี้?

การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างน่าทึ่งหลังยุคสงครามเย็น ทำให้โปแลนด์มีศักยภาพและมีความมั่นใจที่จะกำหนดทิศทางของตนเองมากขึ้น ท่านทูตอุรษา ผู้มองเห็นการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างใกล้ชิด ยืนยันในมุมมองนี้

“สถานเอกอัครราชทูตฯ เห็นว่าโปแลนด์เป็นประเทศที่มีศักยภาพสูง ในการที่เราจะส่งเสริมความสัมพันธ์ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และในเรื่องของความร่วมมือทางด้านสังคม โปแลนด์เป็นประเทศที่เป็นมิตรกับไทยมาอย่างยาวนาน และให้การสนับสนุนไทยในประเด็นต่างๆ อย่างดีมาโดยตลอด”

นี่คือพันธมิตรที่มีทั้งศักยภาพในประเทศและในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ

อุรษา มงคลนาวิน

อุรษา มงคลนาวิน เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอร์ซอ

จากตัวเลขสู่เรื่องราว : เมื่อเศรษฐกิจขับเคลื่อนมิตรภาพ

รากฐานของการยกระดับความสัมพันธ์ครั้งนี้ ไม่ได้มาจากเพียงเจตจำนงทางการเมือง แต่ถูกหนุนหลังด้วยเรื่องราวความสำเร็จทางเศรษฐกิจที่จับต้องได้ เมื่อเราพูดถึงตัวเลขการค้าที่สูงเกิน 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2022 เรากำลังพูดถึงสินค้าไทยที่ไปถึงมือผู้บริโภคในยุโรป และเทคโนโลยีโปแลนด์ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจในบ้านเรา

เบื้องหลังตัวเลขเหล่านั้นคือเรื่องราวของบริษัทไทยอย่าง CP Foods, Thai Union Group และ Indorama Ventures ที่มองเห็นโปแลนด์ไม่ใช่แค่ตลาด แต่เป็นฐานยุทธศาสตร์ในการเข้าถึงตลาดยุโรปทั้งหมด ในทางกลับกัน บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโปแลนด์อย่าง Comarch ก็ได้เข้ามาลงทุนดำเนินธุรกิจในประเทศไทยเช่นกัน เรื่องราวเหล่านี้คือเครื่องยืนยันว่าความสัมพันธ์ของไทยและโปแลนด์ เติบโตและงอกงามในโลกธุรกิจจริง

สภาพบ้านเมืองในกรุงวอร์ซอ

สภาพบ้านเมืองในกรุงวอร์ซอ

เมื่อ ‘เสน่ห์ไทย’ มัดใจชาวโปแลนด์

สิ่งที่ทำให้ดิฉันประทับใจยิ่งกว่าตัวเลขทางเศรษฐกิจ คือสายใยที่เชื่อมโยงผู้คนของทั้งสองชาติ ท่านทูตอุรษาได้ฉายภาพความนิยมประเทศไทยในสายตาชาวโปแลนด์

“ในด้านการท่องเที่ยว ตอนนี้ นักท่องเที่ยวโปแลนด์ขึ้นเป็นอันดับ 1 ของประเทศจากยุโรปกลางที่มาท่องเที่ยวในประเทศไทย ปีที่แล้วตัวเลขขึ้นไปถึง 180,000 แล้ว คาดว่าปีนี้ตัวเลขทั้งปีเราน่าจะได้เกิน 200,000 คน”

ท่านทูตเล่าให้ฟังพร้อมรอยยิ้มที่บอกเล่าได้มากกว่าตัวเลขทางการทูตว่า “คนโปแลนด์ชอบอาหารไทยมาก และทานอาหารเผ็ดได้นะคะ ชอบด้วย คนโปแลนด์ชอบมวยไทย ขณะนี้มียิมที่สอนมวยไทยในโปแลนด์เพิ่มขึ้นมาก”

ความนิยมในมวยไทยนี้ได้รับการยืนยันอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อถูกบรรจุเข้าในการแข่งขัน 2023 European Games ที่โปแลนด์เป็นเจ้าภาพ สะท้อนถึงการยอมรับใน ‘ตัวตน’ และ Soft Power ของไทย นอกจากนี้โปแลนด์ยังเป็นจุดหมายปลายทางด้านการศึกษาที่สำคัญของนักเรียนไทย โดยเฉพาะในสาขาการแพทย์ เนื่องจากมีชื่อเสียงด้านความเชี่ยวชาญและมีค่าเล่าเรียนที่สมเหตุสมผล

นิยามใหม่ความสัมพันธ์: จากมิตรภาพสู่ ‘Strategic Dialogue’

ถ้าเปรียบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ตลอด 50 ปีที่ผ่านมา ไทยกับโปแลนด์อาจเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันมายาวนาน แต่ในวันนี้ สถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไปทำให้ทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันว่า ถึงเวลาแล้วที่จะยกระดับความสัมพันธ์ให้จริงจังและเป็นทางการมากขึ้น การพูดคุยทักทายอาจไม่เพียงพอ แต่จำเป็นต้องมี “บทสนทนาเชิงยุทธศาสตร์” เพื่อวางแผนอนาคตร่วมกัน

ท่านทูตอุรษาอธิบายถึงจังหวะเวลาที่ลงตัวนี้ว่า

“ขณะนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นร่วมกันว่ามีความจำเป็นที่อยากจะเข้ามาใกล้ชิดกันมากขึ้น โปแลนด์อยากที่จะมีเพื่อนเพิ่มขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออกมาหาเพื่อนนอกยุโรป ในขณะเดียวกัน นโยบายนี้ของโปแลนด์ก็สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทย ที่เราก็ต้องการที่จะแสวงหาเพื่อนเพิ่มมากขึ้น”

การยกระดับสู่ “Strategic Dialogue” คือการสร้างกรอบความร่วมมือที่ชัดเจน เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการป้องกันประเทศ เป็นความพยายามของโปแลนด์ในการกระชับความร่วมมือกับกลุ่มประเทศ Global South เพื่อสร้างสมดุลทางอำนาจ โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนคือ “โปแลนด์มองว่าการที่จะมีบทบาทอยู่เฉพาะในยุโรปอย่างเดียวไม่พอ ประเทศไทยอยู่ในประเทศเป้าหมายหลักที่โปแลนด์ต้องการที่จะเพิ่มพูนความสัมพันธ์”

สภาพบ้านเมืองในกรุงวอร์ซอ

สภาพบ้านเมืองในกรุงวอร์ซอ

แล้วไทยได้อะไร? จากยุทธศาสตร์ของโปแลนด์

ท้ายที่สุดแล้ว เรื่องราวที่เกิดขึ้นในประเทศที่ห่างไกลกว่า 8,000 กิโลเมตรนี้ มีความหมายอย่างไรกับคนไทย? คำตอบคือโอกาสในหลายมิติ

การมีโปแลนด์เป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่ง คือการมี “เพื่อน” อยู่ในห้องประชุมที่สำคัญของสหภาพยุโรป เป็นเสียงสนับสนุนที่หนักแน่นให้กับการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-อียู ที่จะเปิดประตูสู่ตลาดยุโรปให้กับผู้ประกอบการไทย และที่สำคัญไปกว่านั้น ในโลกที่ผันผวน การมีเพื่อนที่ไว้ใจได้เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งราย คือการกระจายความเสี่ยงและเพิ่มทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ให้กับประเทศไทย

การทูตในศตวรรษที่ 21 ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของสนธิสัญญาหรือพิธีการ แต่คือการมองเห็นศักยภาพ การเข้าใจผู้คน และการสร้างสะพานเชื่อมโยงผลประโยชน์เข้าไว้ด้วยกันอย่างสร้างสรรค์ การปรับแกนของโปแลนด์ในครั้งนี้ คือโอกาสของประเทศไทย เพื่อเปลี่ยนมิตรภาพอันยาวนานให้กลายเป็นพลังขับเคลื่อนประเทศไปสู่เวทีโลกต่อไป

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก THE STANDARD

กองทุนของ Sabrina Carpenter ระดมทุนช่วยเหลือกลุ่ม LGBTQIA+ เป็นจำนวน 1 ล้านดอลลาร์ภายใน 1 ปี

35 นาทีที่แล้ว

วิมเบิลดัน 2025 กับปัญหามือวางตกรอบไว

44 นาทีที่แล้ว

34 ปี แอน ทองประสม นักแสดงและผู้จัดละครคุณภาพ สู่ ‘มาสเตอร์เมนเทอร์’ The Face Thailand 6

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

พาณิชย์จีนชี้ ‘เจรจา-ร่วมมือ’ คือทางออก หลังสหรัฐฯ ผ่อนปรนข้อจำกัดทางการค้า

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

"ภูมิธรรม" ยันอนุมัติลุยบ่อนสะพานใหม่เอง ลั่นต้องจัดการอบายมุข-ยาเสพติด ยังไม่รู้นักการเมืองเอี่ยวหรือไม่

The Better

นายกฯตัวจริง – รักษาการ เข้ากระทรวงมอบนโยบายขันน็อตข้าราชการ

INN News

กรมการปกครองเปิดปฏิบัติการ ปิดบ่อนสะพานใหม่ ทลายบ่อนพนันกลางกรุง จับนักพนันกว่า 70 คน เงินสดกว่า 8 แสนบาท

tvpoolonline.com

ศาลฎีกาไต่สวนพยานคดี “ทักษิณ” รักษาตัวชั้น 14 "หมอวรงค์" ตั้ง 3 ข้อสังเกต

สยามรัฐ

สถิติหวย 16 กรกฎาคมย้อนหลัง 20 ปี ส่องเลขเด็ด ผลสลากกินแบ่งรัฐบาลที่นี่!

The Bangkok Insight

หุ้นไทยปิดลบ 7.27 จุด

สำนักข่าวไทย Online

From boom to bust: What happens when Thai universities run out of students?

Thai PBS World

"เที่ยวไทยคนละครึ่ง" ปิดลงทะเบียนไม่มีกำหนด จองสำเร็จแล้ว เดินทางได้ไหม

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

ข่าวและบทความยอดนิยม

โลกหลังรีเซตเป็นอย่างไร? สรุปจาก Amundi World Investment Forum 2025 ถึงการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์และโครงสร้างเศรษฐกิจโลกที่นักลงทุนต้องปรับตัวตาม

THE STANDARD

จับตาคำตัดสินศาลอุทธรณ์สหรัฐฯ กระทบแผนกำหนดภาษีนำเข้า – ความเสี่ยงทางการคลังสหรัฐฯ ปัจจัยชี้นำทิศทางราคาทองคำในช่วงไตรมาส 3

THE STANDARD

CP AXTRA ผันตัวสู่ Retail Tech ช่วยปิดจุดอ่อนร้านโชห่วย

THE STANDARD
ดูเพิ่ม
Loading...