ยกระดับ ‘ทุเรียนป่าเด็ง’ สู่สินค้าเกษตรมาตรฐาน GAP
นางกาญจนา แดงรุ่งโรจน์ รองเลขาธิการ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กล่าวว่า ปัจจุบัน จังหวัดเพชรบุรีมีพื้นที่ปลูกทุเรียนทั้งหมด จำนวน 7,281 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ที่ให้ผลผลิต จำนวน 2,258 ไร่ คิดเป็น 30 % และพื้นที่ที่ยังไม่ให้ผลผลิต จำนวน 5,023 ไร่ ราคาขายเฉลี่ย 205 บาท/กิโลกรัม พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่ ได้แก่ อำเภอแก่งกระจาน อำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอท่ายาง และอำเภอใกล้เคียง
ทั้งนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี มีนโยบายที่ต้องการจะยกระดับและพัฒนาทุเรียนของจังหวัดเพชรบุรี ให้มีมูลค่าสูงขึ้น เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และคาดหวังในอนาคตจะจดทะเบียนเป็นสินค้าอัตลักษณ์พื้นถิ่น หรือ GI ของจังหวัดเพชรบุรี เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งชนิด ดังนั้นในปี 2568 มกอช.ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี กรมวิชาการเกษตร สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเพชรบุรี รวมถึงอาสาสมัครเกษตร สาขา Q อาสา ในการขับเคลื่อนการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานทุเรียนในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความเข้มแข็งด้านความปลอดภัยอาหารของจังหวัดเพชรบุรี โดยสร้างองค์ความรู้ให้เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนตามมาตรฐาน GAP พืชอาหาร (มกษ. 9001-2564) ในพื้นที่ จำนวน 53 แปลง และนำร่องการตรวจ 15 แปลง ในพื้นที่อำเภอแก่งกระจาน อำเภอหนองหญ้าปล้องและอำเภอท่ายาง
หากได้การรับรองตามมาตรฐาน GAP พืชอาหารแล้ว จะสามารถต่อยอดไปสู่ระบบมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น มาตรฐานหลักปฏิบัติในการตรวจและรับผลทุเรียนสำหรับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุ (มกษ. 9070 - 2566) มาตรฐานการปฏิบัติที่ดี สำหรับโรงรวบรวมผักและผลไม้สด (มกษ. 9047 - 2560) มาตรฐานการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด (มกษ. 9035 - 2563) และการรับรองสิ่งบ่งชี้ ทางภูมิศาสตร์ (GI) ซึ่งจะช่วยสร้างความเข็มแข็ง และเกิดความยั่งยืนในการผลิตสินค้าเกษตรของจังหวัดเพชรบุรี ต่อไป GI ทุเรียนเพชรบุรี : ความภูมิใจของท้องถิ่น สู่ความยั่งยืนของชาติ
นายณรงค์ คงไทย (ลุงจิ๋ว) เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนป่าเด็ง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี กล่าวว่า ป่าเด็งเป็นพื้นที่ในหุบเขาเดียวกับป่าละอู มีแม่น้ำคั่นระหว่างป่าละอูและป่าเด็ง ห่างกันประมาณ 30 เมตร รสชาติทุเรียนจึงมีความคล้ายกัน ลักษณะความแก่ของทุเรียนดูได้จากหนาม ปลายหนามมีสีน้ำตาลเข้ม ปากปลิงบวมโต เห็นรอยต่อชัดเจน ก้านผลแข็งสีเข้ม ร่องหนามห่างและมีสปริงเมื่อบีบ มีกลิ่นหอม เมื่อเคาะฟังเสียง เสียงจะโปร่งบ่งบอกได้ว่า เนื้อทุเรียนเริ่มร่อนออกจากเปลือก ทุเรียนป่าเด็งมีประวัติการปลูกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกแบบรายเดี่ยวและมีความต้องสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคทั้งด้านคุณภาพและความปลอดภัย เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดซึ่งกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าประจำมาซื้อผลผลิตที่หน้าสวน และส่งขายในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดใกล้เคียงมกอช. ยกระดับมาตรฐาน ‘ทุเรียนเพชรบุรี’ ขับเคลื่อนจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ