โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังบน TikTok ถูกปล่อยข่าวปลอมว่าตายแล้ว สะท้อนความกังวลของข่าวเท็จบนโซเชียล

The MATTER

อัพเดต 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Brief

อินฟลูเอนเซนบ์บน TikTok ยังไม่ตาย แต่คนดันปล่อยข่าวว่าตาย?

เกรซ วูลสเตนโฮล์ม (Grace Wolstenholme) อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังบน TikTok วัย 22 ปี ที่เป็นที่รู้จักจากวิดีโอที่เล่าเรื่องราวการใช้ชีวิตอยู่กับโรคสมองพิการ (cerebral palsy) ออกมาเรียกร้องให้ผู้ใช้โซเชียลมีเดียตระหนักถึงอันตรายจากข้อมูลเท็จ หลังมีวิดีโอปลอมที่อ้างว่าเธอเสียชีวิตถูกรับชมไปกว่า 650,000 ครั้ง

วูลสเตนโฮล์ม มีผู้ติดตามบน TikTok กว่า 1.3 ล้านคน กลายเป็นเหยื่อของข่าวปลอม ที่ใช้ภาพจากวิดีโอต้นฉบับของเธอที่เคยเป็นไวรัลจนมียอดไลก์กว่า 5.2 ล้านครั้ง โดยวิดีโอต้นฉบับนั้นเป็นภาพที่เธอกำลังฝึกกับเทรนเนอร์ส่วนตัวในยิม

บัญชีผู้ใช้หนึ่งนำวิดีโอของเธอไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต พร้อมใส่คำบรรยายว่า “วันนี้ฉันเสียน้องสาวที่เป็นออทิสติกไป ฉันเลยซื้อหมอนนี้มา เพื่อให้รู้สึกเหมือนได้กอดเธออีกครั้ง”

นอกจากจะทำให้คนเข้าใจผิดเรื่องเสียชีวิต วิดีโอดังกล่าวยังยังบิดเบือนความพิการของ วูลสเตนโฮล์ม ด้วย โดยเธอชี้แจงไว้ว่า “ความพิการของฉันไม่ใช่ออทิสติก แต่เป็นโรคสมองพิการ”

คนจำนวนมากหลงเชื่อข่าวปลอมนี้ รวมถึงเพื่อนคนหนึ่งที่ติดต่อไปยังคุณแม่ของเธอเพื่อแสดงความเสียใจ เธอจึงได้รับรู้ถึงข่าวปลอมดังกล่าว ที่คนต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นโดยขอให้ 'หลับให้สบาย’ พร้อมบอกรัก ประจวบกับช่วงนั้นเธอป่วยมาระยะหนึ่ง จึงไม่ค่อยปรากฏตัวบนโลกออนไลน์ จนอาจทำให้ข่าวปลอมยิ่งดูน่าเชื่อถือมากขึ้น

นอกจากผลกระทบเชิงความรู้สึกแล้ว วูลสเตนโฮล์มเผยว่าเธอยังสูญเสียผู้ติดตามไปหลายพันคน และยอดการรับชมวิดีโอลดลงอย่างมาก จนส่งผลโดยตรงต่อรายได้ของเธอ

TikTok ได้ดำเนินการลบวิดีโอปลอมแล้วหลังจากที่มีการรายงาน แต่ยังไม่ปรากฏว่า TikTok ออกมาแสดงความคิดเห็นจากกรณีดังกล่าว

วูลสเตนโฮล์ม ยังรายงานการคุกคามนี้ต่อตำรวจนครบาล ซึ่งกำลังดำเนินการสอบสวนในหลายช่องทาง และให้การสนับสนุนเธออย่างต่อเนื่อง โดยในขณะนี้ยังไม่มีการจับกุมเกิดขึ้น

เหตุการณ์นี้ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใช้โซเชียลมีเดียจะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลก่อนที่จะเชื่อหรือแชร์ออกไป โดยเฉพาะในยุคที่ข่าวสารสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตของผู้อื่นได้ โดยวูลสเตนโฮล์ม ฝากไว้ว่า “มีคนไม่ดีในโซเชียลมีเดียเยอะมาก ดังนั้นคุณต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วย”

อ้างอิงจาก

bbc.com

theglobalherald.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก The MATTER

“เราโทษตัวเองว่าเป็นคนส่งเขาไปตาย” ฟังเสียงครอบครัวผู้เสียหาย ในวันที่ พ.ร.บ.ทรมานอุ้มหายฯ ยังมีช่องโหว่-ขาดการบังคับใช้อย่างจริงจัง

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

นักวิชาการบางกลุ่มซ่อน prompts ให้ AI อ่านแล้วรีวิวเชิงบวก ย้ำความกังวลต่อบทบาท AI ในแวดวงวิชาการ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

คดีนักเทนนิสหญิงชาวอินเดีย ถูกพ่อสังหาร เพราะ ‘ศักดิ์ศรีความเป็นพ่อ’ สะท้อนภาพปัญหาอะไรในสังคมอินเดีย?

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เปิดตัว UNO Social Club แห่งแรก ให้เล่น UNO ที่คาสิโนในลาสเวกัส

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

CID leaked phone call findings now with the Office of the Attorney-General

Thai PBS World

ประวัติ พรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน กับบทบาทกลางคดีร้อนเขากระโดง

TNN ช่อง16
วิดีโอ

ระทึก! ยึดคืน "เขากระโดง" | ทันข่าวเย็น | 14 ก.ค. 68 | NationTV22

NATIONTV

เมียนมาแผ่นดินไหว ขนาด 5.2 - เชียงรายสะเทือนหลายจุด

ข่าวเวิร์คพอยท์ 23
วิดีโอ

"กัมพูชา" ฉก "วรรณกรรมไทย" ยื่นมรดกโลก! | ทันข่าวเย็น | 14 ก.ค. 68 | NationTV22

NATIONTV

ส่องชัดๆ! 22 วรรณกรรมไทย "เขมร" เคลมขึ้นทะเบียนยูเนสโก

สยามรัฐ

แชร์สนั่น! กัมพูชาฉก 22 วรรณกรรมไทย ไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก ปลัดวธ. สั่งเร่งตรวจสอบ

The Bangkok Insight
วิดีโอ

เจอแล้ว งานที่สบายที่สุดในโลก หนุ่มจีนเป็น โลโก้มีชีวิต แถมเงินเดือนดีเกินจริง

สยามนิวส์

ข่าวและบทความยอดนิยม

Waking up with: ชาลส์ ดาร์วิน

The MATTER

ใครๆ ก็สามารถเช่ายายได้ รู้จักธุรกิจ ‘OK Obaachan’ บริการเช่าคุณย่า – คุณยายของญี่ปุ่นเพื่อไปทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยกัน

The MATTER

Mattel เปิดตัวบาร์บี้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 เพื่อสะท้อนความหลากหลาย และสนับสนุนเด็กๆ ที่เป็นโรคนี้

The MATTER
ดูเพิ่ม
Loading...