โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจไทยอ่วม กรุงศรีฯ คาดจีดีพีโต 1.5% หากโดนเก็บภาษี 36%

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ หัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคาร กรุงศรีอยุธยาเปิดเผยว่า เศรษฐกิจเข้าสู่ครึ่งปีหลังแล้ว ซึ่งเศรษฐกิจโลกปีนี้มีความผันผวนที่สูงอย่างต่อเนื่อง หากมองภาพรวมจะเห็นแต่คำว่า “ชะลอ” ปรากฏอยู่บ่อยครั้ง แม้แต่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ยังได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกเกือบทุกประเทศเมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา จากมาตรการภาษีตอบโต้ หรือ Reciprocal Tariff

ดร.พิมพ์นารา หิรัญกสิ หัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา

“ก่อนเกิดโควิด-19 เศรษฐกิจโลกเคยเติบโตได้ประมาณ 3.6-3.7% ต่อปี ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราการเติบโตของประเทศไทย แต่ในปัจจุบันเศรษฐกิจโลกกลับเติบโตช้าลง”ดร.พิมพ์นารากล่าว

ทั้งนี้จากนโยบายภาษีสหรัฐ ส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว ตั้งแต่เดือนเม.ย.หลังจากทรัมป์ประกาศนโยบายภาษีตอบโต้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ทั้งภาคบริการและภาคการผลิตลดลงต่ำกว่า 50 ซึ่งเป็นค่าที่บ่งชี้ถึงการหดตัวแล้ว แม้ปัจจุบันนโยบายดังกล่าว จะอยู่ในช่วง “พักรบ” หรือรอศาลตัดสินอย่างไร แต่ทรัมป์ยังมีช่องทางกฎหมายอื่นๆ ที่อนุญาตให้เก็บภาษีนำเข้าได้อีก

“ทรัมป์ยังมีช่องทางกฎหมายอื่นๆ เช่น เช่น มาตรา 232, 201/301, 122 ที่อนุญาตให้เก็บภาษีนำเข้าได้อีก จึงมองว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ ภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ จะไม่กลับไปต่ำเหมือนเดิมอีกแล้ว อย่างน้อยในช่วง 3-4 ปีข้างหน้า”

ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยนั้น เผชิญกับความผันผวนทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ และมีแนวโน้มชะลอตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีดีพีที่ยังไม่กลับสู่แนวโน้มเดิมก่อนโควิด ซึ่งศูนย์วิจัยกรุงศรีได้ปรับมุมมองเศรษฐกิจไทยเมื่อปลายเดือนพ.ค. ถึงต้นเดือนมิ.ย.68 โดยแบ่งเป็น 2 กรณี

  • กรณีอ้างอิง (Reference Case) : สหรัฐฯ เก็บภาษีเกือบทุกประเทศ 10% และจีน 30% ในกรณีนี้ เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะเติบโตประมาณ 2.1% ในปีนี้
  • กรณีทางเลือก (Alternative Case): หากไทยโดนภาษีเฉพาะหมวด (Specific Tariff) แบบเต็มที่ 36% การส่งออกของไทยในปีนี้อาจลดลงใกล้ 0% ทำให้ GDP ไทยอาจเติบโตเหลือเพียง 1.5%

“ปัจจุบันโอกาสที่จะเป็นกรณีทางเลือกนี้มีน้อยกว่า โดยสถานการณ์น่าจะใกล้เคียงกับกรณีอ้างอิงมากกว่า แต่เศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ถึง 2.1% หรือไม่นั้น ต้องติดตามอีกครั้ง เนื่องจากมีสถานการณ์ความไม่แน่นอนต่างๆ เกิดขึ้นหลายปัจจัย”

ทั้งนี้ปัจจัยฉุดรั้งและความท้าทายต่อเศรษฐกิจไทยมากกว่าได้แก่ มาตรการภาษีของสหรัฐฯ, ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์,ตลาดการเงินผันผวน, ผลจาก Global Minimum Tax คือ ประเทศไทยเริ่มใช้ Global Minimum Tax แล้ว ซึ่งบังคับให้บริษัทขนาดใหญ่ที่เคยได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีต้องจ่ายภาษี 15% กระทบต่อบริษัทเหล่านี้, สภาพอากาศแปรปรวน, ปัญหาเชิงโครงสร้าง, และการเมืองภายในประเทศ

ขณะที่เครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทยอย่างภาคการท่องเที่ยวนั้น นักท่องเที่ยวจีนฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ คาดว่าจะไม่ถึง 38 ล้านคนในปีนี้ ด้านภาคการส่งออก ตัวเลขส่งออก 5 เดือนแรกที่เติบโตเฉลี่ย 15% เป็นผลมาจากการเร่งส่งออกเพื่อหนีภาษีของทรัมป์ ส่วนภาคการลงทุนนั้น ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนกลับมีความผันผวนสูงและเริ่มชะลอลง สาเหตุหลักคือความไม่แน่นอนจากนโยบายภาษีของสหรัฐฯ

ประเทศไทยยังเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้างระยะยาว จากสถานการณ์หนี้ครัวเรือน ยังคงสูงอยู่ที่ 87.4% ของ GDP ในไตรมาส 1 และสูงกว่าระดับก่อนโควิด แม้สินเชื่อโดยรวมจะติดลบ สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) แม้ไทยจะมีตัวเลขขอรับสิทธิประโยชน์ FDI สูง แต่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย มียอดสะสม FDI ที่สูงกว่าไทย

“ปัญหาเชิงโครงสร้างเหล่านี้เป็นปัญหาที่อยู่มานานและคงอยู่ต่อไป และไม่ใช่ปัญหาที่แก้ไขได้ง่ายๆ สิ่งที่ประชาชนและนักลงทุนทำได้คือการรักษาตัวเองให้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่มีความผันผวนสูงนี้ไปได้”ดร.พิมพ์นารากล่าวทิ้งท้าย

นายอาทิตย์ ทองเจริญ Head of Thailand Business จาก Schroder กล่าวเน้นย้ำถึงแนวคิดการจัดพอร์ตแบบ Core-Satellite หรือกลยุทธ์การลงทุนแบบยืดหยุ่น โดยให้จีน และ Private Equity เป็นส่วนของการปรับพอร์ตที่น่าสนใจ ซึ่งมองว่า ณ ปัจจุบันนี้ ตลาดหุ้นจีนเริ่มน่าสบายใจในการพูดถึงมากขึ้น เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

นายอาทิตย์ ทองเจริญ Head of Thailand Business จาก Schroder

นอกจากนี้ ยังมีมุมมองการลงทุนใน Private Equity ซึ่งเป็นสินทรัพย์นอกตลาดที่ช่วยกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนได้เป็นอย่างดี ซึ่ง Private Equity นั้น เป็นบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้การเข้าถึงข้อมูลและการลงทุนค่อนข้างยากสำหรับนักลงทุนทั่วไป

อย่างไรก็ตาม ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา กองทุน Private Equity ของ Schroders ให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีหุ้นทั่วโลก และดัชนีตราสารหนี้ Global High Yield ทั้งนี้ มีค่าความผันผวนต่ำ ประมาณ 9.7% ต่อปี เทียบกับดัชนีหุ้นโลกที่ 17% ซึ่งหากนำมารวมกับพอร์ตลงทุนจะช่วยทั้งลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทน

หน้า 13 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 4,111 วันที่ 6 - 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

ประกาศเกณฑ์จ่ายค่ารถรับส่งผู้ป่วยใช้หุ่นยนต์ผ่าตัด 3 โรคมะเร็ง

55 นาทีที่แล้ว

กทม. ลบจุดเสี่ยงเป็นสวน ปรับปรุงจุดน้ำท่วมขังด้วย Smart Sensor

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“สุดารัตน์”ชงสูตรรีเซ็ตการเมืองไทย แก้ รธน. 1 ปี ก่อนยุบสภา

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เจรจาภาษีสหรัฐไม่คืบ กด Downside Risk ตลาดได้แค่ไหน รวมผลกระทบสกัดชิปไทย-มาเลย์

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่นๆ

ทำความรู้จัก "บาทเนต" ระบบการโอนเงินที่มีมูลค่าสูงระหว่างธนาคาร

sanook.com

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยสินเชื่อพ.ค. 2568 ติดลบ1.3%-ลดลงต่อเนื่อง12เดือน

Manager Online

นิสสันสู้ยิบตา ขอจ่ายเงินช้า ซัพพลายเออร์ ยุโรป-อังกฤษ | คุยกับบัญชา | 1 ก.ค. 68

BTimes

KKP x Goldman Sachs เปิดมุมมองลงทุนครึ่งปีหลัง ชี้พอร์ตคุณภาพ-หุ้นเด่น-ทอง-เทค

TODAY

ราคาน้ำมันพรุ่งนี้ (6 ก.ค. 68)

มุมข่าว

เพจดัง เผยลูกหนี้ กยศ. จ่ายรายปี ยอดหนี้เพิ่ม ไม่ตรงกับตารางผ่อน

sanook.com

วุ่น! กยศ.แจ้งแล้ว เหตุผู้กู้ชำระเงินไม่ได้

อีจัน

‘CLP’ ต่อยอดเทคโนโลยีชิ้นส่วนรถมุ่งเพิ่มมูลค่าข้าวไทย l 5 ก.ค. 68 FULL l BTimes Weekend

BTimes

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...