โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

เปิดใจ "นิตินัย ศิริสมรรถการ” กับภารกิจฟื้น "คิง เพาเวอร์"

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 1 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว

เมื่ออดีตผู้นำองค์กรท่าอากาศยานของชาติ ก้าวข้ามสู่โลกธุรกิจเอกชน กับภารกิจครั้งสำคัญในการกอบกู้บริษัท คิงเพาเวอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ให้กลับมายืนหยัดในสนามค้าปลีกดิวตี้ฟรีระดับภูมิภาคอีกครั้ง

กว่า 2 ปีหลังจากเว้นวรรคชีวิตราชการ “นิตินัย ศิริสมรรถการ” อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) กลับมาอีกครั้งในบทบาทที่หลายคนไม่คาดคิด ในฐานะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท คิงเพาเวอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัทผู้ครองสัมปทานธุรกิจดิวตี้ฟรีรายเดียวของไทยจากทอท.

ภารกิจที่รอเขาอยู่ไม่ง่าย เมื่อบริษัทต้องเผชิญภาวะขาดทุนอย่างต่อเนื่อง และกำลังตกอยู่ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสัญญาสัมปทานที่สังคมกำลังจับตามอง

“ผมใช้เวลากว่า 2 ปี ในการพิจารณาทางเลือกระหว่างกลับไปอยู่ภาครัฐ หรือเดินหน้าเข้าสู่ภาคเอกชนเต็มตัว ซึ่งผมเลือกอย่างหลัง แต่การมาอยู่เอกชน ต้องปฏิบัติตามกฎหมายคือ ต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับอดีตหน้าที่ที่เคยรับผิดชอบ"

“นิตินัย”เล่าย้อนว่า ตลอด 8 ปีที่ดำรงตำแหน่งบริหารใน ทอท. ได้มีการทำสัญญากับบริษัทเอกชนมากกว่า 5,000 แห่ง ไม่ว่าจะเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง จัดซื้ออุปกรณ์ หรือสัญญาด้านบริการทุกประเภท ดังนั้นจึงต้องเว้นวรรคการทำงานกับบริษัทเหล่านี้ตามกฎหมาย ทำให้ต้องตกงาน 2 ปีเต็มๆ จึงสามารถกลับมาทำงานได้

การตัดสินใจเข้ารับตำแหน่งซีอีโอของคิงเพาเวอร์เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2568 จึงถือเป็นการเริ่มต้นใหม่ ที่มาพร้อมแรงกดดันและภารกิจสำคัญหลายด้าน ทั้งการฟื้นฟูผลประกอบการ และการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับหน่วยงานรัฐ โดยเฉพาะ ทอท. ซึ่งเป็นเจ้าของสนามบินหลักของประเทศ

จับตา “ปมร้อน” สัญญาสัมปทานดิวตี้ฟรี

จุดที่สังคมให้ความสนใจมากที่สุด คือ การที่คิงเพาเวอร์ทำหนังสือแจ้งไปยัง ทอท. ขอหารือแนวทางยกเลิกสัญญาสัมปทานร้านค้าดิวตี้ฟรีในสนามบินภูมิภาค 3 แห่ง ได้แก่ เชียงใหม่ ภูเก็ต และหาดใหญ่ โดยให้เหตุผลว่าการดำเนินการตามสัญญาปัจจุบันไม่สามารถแบกรับต้นทุนได้อีกต่อไป

“เราเปรียบเทียบสถานการณ์เหมือนผู้ป่วยที่ต้องพึ่งเครื่องช่วยหายใจ พอไม่มีออกซิเจนก็ไปไม่ไหวแล้ว หนังสือที่เราส่งไป ไม่ใช่แค่ขอความช่วยเหลือแบบเดิม แต่ครั้งนี้เราชี้ให้เห็นเลยว่า ถ้าต้องเดินต่อภายใต้เงื่อนไขเดิม บริษัทอยู่ไม่ได้แน่นอน”

สิ่งที่น่าสนใจคือ หนังสือฉบับล่าสุดนี้ไม่ได้เสนอแค่แนวทางเยียวยาแบบในอดีต แต่เป็นการ “ขอหารือเพื่อยกเลิกสัญญา” อย่างเป็นทางการ หากเงื่อนไขต่าง ๆ ยังไม่สามารถปรับให้สอดคล้องกับบริบทใหม่หลังโควิด-19 ได้

นายนิตินัยกล่าวว่า สิ่งที่บริษัทส่งให้ทอท. พูดถึง 7 ประเด็นหลักที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้โดยสาร โครงสร้างรายได้ หรือพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งทำให้พารามิเตอร์ที่เคยใช้คำนวณผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำ (Minimum Guarantee) ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงอีกต่อไป

ในอดีตสมมติฐานที่ใช้คำนวณตัวเลขสัมปทาน อิงอยู่กับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวและโครงสร้างเศรษฐกิจในเวลานั้น แต่เมื่อโควิด-19 เปลี่ยนทุกอย่าง ความจำเป็นในการ “อัปเดตสัญญาให้สะท้อนความจริง” จึงเกิดขึ้น

กระแสเงินสด-ต้นทุน-หนี้สิน : วิกฤตที่ต้องเร่งเยียวยา

นอกจากเรื่องสัมปทาน สิ่งที่นายนิตินัยเร่งทำทันทีหลังเข้ารับตำแหน่ง คือ การตรวจสอบงบการเงินทั้งระบบ และสิ่งที่พบก็คือ “กระแสเงินสดที่น่ากังวล” และ “ต้นทุนที่บานปลาย”

“เราต้องเข้าไปไล่ดูทุกบัญชี ดูว่าหนี้ที่มีคืออะไร โครงสร้างพนักงานเป็นอย่างไร ค่าใช้จ่ายต่อเดือนเท่าไหร่ กระแสเงินสดเข้ายังไงออกยังไง ทั้งหมดนี้ต้องรู้ให้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้พนักงานได้รับผลกระทบ และเพื่อประคองบริษัทให้อยู่รอดให้ได้ก่อน”

เมื่อถามถึงทางเลือกหาก ทอท. ไม่สามารถปรับเงื่อนไขตามที่เสนอได้ เขาตอบชัดเจนว่า บริษัทพร้อมยุติสัญญาและปรับแผนเข้าสู่ธุรกิจใหม่ โดยขึ้นอยู่กับว่า “สถานการณ์วันนี้คือวัฏจักรขาลง หรือคือการดิสรัปต์แบบถาวร”

“ถ้าเป็น Cycle เราก็อยู่รอวันขาขึ้น แต่ถ้าเป็น Disrupt เรากำลังจะตายจากธุรกิจนี้ไปเลย การวางแผนวันนี้จึงต้องชัดว่าเราจะอยู่หรือจะถอย”

แผนการฟื้นฟูธุรกิจที่วางไว้จะไม่ใช่การตามคู่แข่ง แต่คือการ “นำเกม” ด้วยนวัตกรรมและการอ่านโลกอนาคต “Next Move ของเรา จะไม่ใช่การแข่งกันที่ภาพสวยหรือเสียงชัด แต่คือการอ่านเกมให้ออกว่า อีก 2 ปีข้างหน้าโลกจะเป็นอย่างไร แล้วเราจะทำก่อนใคร”

ย้ำไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน

แม้จะมีเสียงวิจารณ์ว่า อดีตผู้นำทอท. เข้ามาเป็นซีอีโอคิงเพาเวอร์อาจมีข้อกังวลเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน แต่นายนิตินัยยืนยันว่า “ไม่ว่าจะไปอยู่บริษัทไหนในไทย ก็เคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับ ทอท. ทั้งนั้น เพราะบริษัทเอกชนกว่า 5,000 แห่งเคยมีสัญญากับ ทอท. ทั้งทางตรงและทางอ้อม

"2 ปีที่ผ่านมา ไม่เคยได้รับข้อมูลภายในใดๆ วันนี้ผมคือซีอีโอของเอกชนที่ต้องพาองค์กรให้อยู่รอด ไม่ใช่ตัวแทนของใคร”

ภารกิจของนิตินัยในวันนี้ ไม่ใช่แค่การกู้วิกฤตของคิงเพาเวอร์ แต่ยังเป็นบทพิสูจน์ว่า นักบริหารที่เคยอยู่ภาครัฐ จะสามารถเปลี่ยนแนวคิด ปรับตัว และสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ในสนามธุรกิจดิวตี้ฟรีได้หรือไม่ ในวันที่โลกไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

“เพราะถ้าเราทำเหมือนเดิม เราจะไม่ได้ผลลัพธ์ใหม่” คือประโยคที่เขาทิ้งท้าย และกลายเป็นหัวใจของภารกิจในครั้งนี้

หน้า 17 หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 4,110 วันที่ 3 - 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

EA มั่นใจย่นระยะจ่ายนี้เหลือ 5 ปี ผู้ถือหุ้นกู้พอใจ ปลดเครื่องหมาย DNP-CB ทันที

11 นาทีที่แล้ว

ซีพีผนึกพันธมิตร ฉลอง 50 ปีมิตรภาพไทย-จีน จัดมหาอุปรากรงิ๋วแต้จิ๋วระดับโลก 7 วันเต็ม ไม่ซ้ำ

15 นาทีที่แล้ว

เที่ยวไทยคนละครึ่ง 2568 รมว.สรวงศ์ ชี้ททท.ประเมินจะปิดระบบลงทะเบียนชั่วคราวหรือไม่

36 นาทีที่แล้ว

รู้จัก Climate Visa ที่แรกของโลก ทำไมชาวตูวาลูแห่สมัคร

41 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่นๆ

EA มั่นใจย่นระยะจ่ายนี้เหลือ 5 ปี ผู้ถือหุ้นกู้พอใจ ปลดเครื่องหมาย DNP-CB ทันที

ฐานเศรษฐกิจ

กทม. ไฟเขียวร่างข้อบัญญัติ “คุมแสงสว่างป้าย LED” หวังลดปัญหารบกวนสายตา

การเงินธนาคาร

หุ้นไทยปิดเช้าบวก 3.67 จุด วอลุ่ม 1.8 หมื่นล้าน แรงซื้อ DELTA-CCET หนุนคาดหวังเจรจาไทย-สหรัฐใกล้ได้ข้อสรุป

สยามรัฐ

เปิดตัว “valles HAUS” คอนโดใหม่จากแสนสิริ เพื่อคนรักสุขภาพ และสัตว์เลี้ยง เริ่ม 4.69 ลบ. ใน T77

TODAY Bizview

Six Senses ปักหมุดย่านสีลมภายใต้โครงการ Hatai พัฒนามิกซ์ยูสแห่งอนาคตใจกลางกรุงเทพฯ

สยามรัฐ

กระทิงแดงเล่นใหญ่! ดึงพรีเซนเตอร์ "แบมแบม x โจอี้ ภูวศิษฐ์" เพิ่มพลังใจ ให้คนไทยไปถึงเป้าหมาย

Positioningmag

SAM ขนทรัพย์มือสอง 4 พันรายการ จัดโปรเด็ด ในงาน MONEY EXPO หาดใหญ่

Khaosod

IMH ฤกษ์ดีเปิดศูนย์ MRI หวังครองแชมป์เบอร์ 1 ย่านสีลม – สาทร เจาะกลุ่มลูกค้าประกัน ลุยเปิดบริการ 24 ชม. ราคาเริ่มต้น 6,999 บาท

The Better

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...