โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ตัวตน ตัวฉัน ตัวใคร ชวนดู 5 หนังตั้งคำถามถึงความลื่นไหลในตัวตน

The MATTER

อัพเดต 14 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Uncategorized

พล็อตค้นหาตัวตนที่แท้จริง ยังคงเป็นพล็อตสูตรสำเร็จของหนังไซไฟที่ยังคงอร่อยและกินได้ไม่มีเบื่อ เสิร์ฟได้ทั้งพล็อตสูญเสียความจำ สูญเสียตัวตน พล็อตจิตไร้ร่าง ย้ายจิตสู่ร่างอื่น ความอร่อยอยู่ที่พล็อตล้ำๆ ที่ต้องคอยเดาทิศทางก้าวต่อไปอยู่เสมอ แต่เบื้องหลังพล็อตเหล่านั้น ประเด็นทางปรัชญาที่เกี่ยวเนื่องกับตัวตนในนั้นก็เป็นอีกรสที่ชวนให้ลิ้มลองเช่นกัน

ประเด็นเกี่ยวกับตัวตนทางปรัชญา ไม่ได้เริ่มต้นด้วยความซับซ้อนอะไร เริ่มต้นจากคำถามง่ายๆ อย่าง ฉันคือใคร ตัวฉันอยู่ที่ไหน ย้ายไปที่อื่นแล้วยังเป็นฉันหรือเปล่า คำถามที่เราได้เห็นในหนังไซไฟมาแล้วนักต่อนัก

The MATTER จึงอยากชวนดู 5 หนังตั้งคำถามถึงความลื่นไหลในตัวตน ซับซ้อนบ้าง ย่อยง่ายบ้าง วายป่วงบ้าง หรือแม้แต่โรแมนซ์ก็มีให้เลือกตามอัธยาศัย แม้ตัวหนังจะไม่ได้พุ่งเป้ามาที่ประเด็นทางปรัชญาโดยตรง แต่ก็มีทั้งประเด็นในเรื่องที่สอดคล้องกับแนวคิดที่มีอยู่ หรือสามารถนำไปคิดต่อได้อีกไม่รู้จบ

Transcendence (2014)
Director: Wally Pfister

เรายังเป็นเราไหม ถ้าเหลือเพียงจิตสำนึกบนคอมพิวเตอร์

ดร.วิล แคสเตอร์ (รับบทโดย จอห์นนี่ เดปป์ (John Christopher Depp)) นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ กำลังพัฒนา AI ที่สามารถ มีจิตสำนึก (consciousness) ในตนเอง มีความรู้สึกนึกคิดแบบมนุษย์ แต่ก่อนงานของเขาจะสำเร็จ เขาถูกลอบโจมตีโดยกลุ่มต่อต้านเทคโนโลยี แม้จะไม่ตายแต่มันทำให้เขาเหลือเวลาบนโลกนี้น้อยเต็มที

ด้วยโปรเจ็กต์เดิมที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ไม่อาจขาดมันสมองของทีมอย่างวิลไปได้ เขาจึงตัดสินใจเก็บจิตสำนึกของตัวเองไว้ ด้วยการอัปโหลดจิตสำนึกของเขาเข้าสู่คอมพิวเตอร์ จนเป็นส่วนหนึ่งกับปัญญาประดิษฐ์

ทุกคนยังรับรู้การมีอยู่ของวิลผ่านตัวตนบนคอมพิวเตอร์ เขาพัฒนาไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว จนเกิดข้อสงสัยว่านี่ยังใช่วิลคนเดิมที่ทุกคนรู้จักไหม หรือตัวตนของเขาที่เห็นในตอนนี้เป็นเพียงการเลียนแบบข้อมูลจากจิตสำนึกของวิลเท่านั้น

เมื่อตัวตนของเราคือความสามารถจะยืนยันตัวเองผ่านการมีประสบการณ์ที่เป็นของของตนเอง วิลเองก็ยังสามารถยืนยันได้ว่าเขาคือใคร มีความทรงจำ ความรู้ ความสามารถ แม้จะเหลือเพียงจิตสำนึกในคอมพิวเตอร์ก็ตาม หากมองมุมเดียวกับเรื่องนี้ นั่นหมายความว่าตัวตนของเราอยู่ที่จิตไม่ว่ามันจะไปอยู่ในภาชนะใดก็ตาม

แต่นั่นยังนับว่าเราเป็นมนุษย์อยู่หรือเปล่า หากเหลือเพียงจิตบนคอมพิวเตอร์ จุดนี้เราอาจจะต้องกลับมาตั้งคำถามถึงเรื่องขอบเขตของความเป็นมนุษย์

หรือมาต่อกันที่แนวคิด survival of person โดยเจ เอ็ม อี แม็กทาการ์ต (J. M. E. McTaggart) ที่มองว่าความเป็นตัวเราสามารถดำรงอยู่หลังความตายได้ เพียงแต่มันอาจจะไม่เต็มร้อยทั้งหมด อาจจะเหลือรอดมาเพียงความทรงจำ เหลือมาเพียงจิตสำนึกบางอย่างที่มันเคยเป็นของเรา หรือวิลที่อยู่บนคอมพิวเตอร์นั้นอาจไม่นับว่าเป็นตัวตน แต่เป็นเพียงโลกหลังความตายของเขาเท่านั้น

Me…Myself ขอให้รักจงเจริญ (2007)
Director: พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง

ตัวตนหายไปพร้อมกับความทรงจำ

แม้จะเส้นเรื่องโดยรวมจะเป็นหนังรักโรแมนติก ไม่ได้ตั้งอยู่บนหมวดหมู่ไซไฟเหมือนเรื่องอื่น แต่เรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่ตั้งคำถามถึงตัวตนได้ดี

เรื่องราวของ อุ้ม (รับบทโดย ฉายนันทน์ มโนมัยสันติภาพ) ขับรถชนชายแปลกหน้า (รับบทโดย อนันดา เอเวอริงแฮม) เขาตื่นมาพร้อมกับความทรงจำที่หายไป เหลือไว้เพียงสร้อยตัวอักษร tan เขาจึงใช้ชีวิตในชื่อ แทน จนกว่าเขาจะความทรงจำกลับมา หรือสามารถกลับไปใช้ชีวิตเดิมของเขาได้

ยิ่งนานวันความสัมพันธ์ของเขาและเธอยิ่งลึกซึ้งจนเกิดเป็นความรัก จนแทนไม่สนใจจะตามหาอดีตของตัวเองอีกต่อไป แต่รักกลับไม่ได้ลงเอยง่ายขนาดนั้น เมื่อวันหนึ่งมีคนตามหาแทนและติดต่อมาว่าเป็นคนรู้จักของเขา แล้วคนพบว่าตัวตนของเขานั้นคือ ทันย่า LGBTQIA+ นางโชว์ นั่นทำให้ตัวตนเดิมของเขา ขัดกับชีวิตที่เขาเป็นอยู่ในตอนนี้

เมื่อมีความทรงจำในอดีต เขาเป็นคนหนึ่ง แต่เมื่อความทรงจำหายไป เขาไม่มีอะไรหลงเหลือให้ตัวเอง มีเพียงแต่ความทรงจำวันข้างหน้าที่รอวันสร้างใหม่ เขาก็กลายเป็นอีกคนหนึ่ง

นั่นหมายความว่าตัวตนของเราอาจผูกอยู่กับความทรงจำหรือไม่ เหมือนกับผู้ป่วยความจำเสื่อมรายอื่น ก็ยังลืมหน้าที่การงาน ครอบครัว คนรอบตัว ชีวิตที่เคยมีมาหลายสิบปี แต่ก็ยังไม่ลืมการใช้ชีวิตอย่างการพูด อ่าน เขียน เหมือนกับว่าชีวิตในช่วงนั้นหายไปเฉยๆ ตัวตนที่มีในช่วงเวลานั้นก็หายตามไปเช่นกัน

สอดคล้องกับทัศนะของจอห์น ล็อก (John Locke) ที่มองว่าความทรงจำเชื่อมโยงโดยตรงกับตัวประสบการณ์ เพราะในทัศนะแบบประสบการณ์นิยม ประสบการณ์คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ความสามารถที่จะยืนยันตัวเองผ่านการมีประสบการณ์ที่เป็นของตนเอง แล้วประสบการณ์นี้เราก็พบในความทรงจำต่างๆ ว่ามันเป็นสิ่งที่ฉันใช้ความสามารถในการรับรู้ของเรา

Moon (2009)
Director: Duncan Jones

ลุยภารกิจบนดวงจันทร์โดยลำพัง แต่อุบัติเหตุทำให้พบ ‘เขา’ อีกคน

นักบินอวกาศ ‘แซม เบล’ (รับบทโดย แซม ร็อคเวล (Sam Rockwell)) รับหน้าที่ควบคุมเครื่องจักรเก็บพลังงานบนดวงจันทร์แล้วส่งกลับมายังโลก บนดวงจันทร์นั้นช่างโดดเดี่ยว ไม่ต่างจากตัวเขาที่ต้องปฏิบัติภารกิจบนนั้นเพียงลำพังเป็นเวลา 3 ปี จึงจะสิ้นสุดหน้าที่แล้วได้กลับไปใช้ชีวิตบนโลกดังเดิม

ระหว่างที่ความอ้างว้างกัดกินใจ เฝ้ารอเพียงวันที่ได้พบครอบครัว เขาเข้าใจมาตลอดว่าบนดาวโดดเดี่ยวดวงนี้มีเพียงเขาเท่านั้น แต่เมื่อประสบอุบัติเหตุระหว่างทำงาน ลืมตาขึ้นมาในสถานีอีกครั้งกลับพบว่ามี ‘เขา’ อีกคนอยู่ด้วย

ไม่ใช่เพื่อนร่วมงาน ไม่ใช่ใครคนอื่น แต่กลับเป็นตัวเขาอีกคน ต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าอีกคนคือร่างโคลน แล้วใครกันที่เป็นตัวจริง

หากมีใครอีกคนที่เหมือนเราจนแทบไม่มีจุดแตกต่าง นั่นหมายความว่าความเป็นเรา ตัวตนของเรา อาจไม่จำเป็นต้องมีเพียงหนึ่งเดียวหรือเปล่า เรื่องนี้พาเราไปสำรวจถึงปัญหาในเรื่องตัวตน เมื่อตัวเราถูกไม่ได้เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวบนโลก เราจะสามารถแยกแยะถึงความแตกต่างในแต่ละคนของเราได้ไหม

เราอาจคุ้นเคยกับเรื่องอื่นในพล็อตที่มีใครอีกคนโผล่มา อีกคนจะมีนิสัยใจคอ มีอะไรสักอย่างข้างในที่ไม่เหมือนกับเรา แต่ในเรื่องนี้ อีกคนนั้นมีความทรงจำ มีความคิดข้างในไม่ต่างจากเราเลย คำถามที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่เรื่องของตัวตนจะอยู่ที่ไหน จิตหรือกาย แต่มันอาจพาเราไปไกลถึงการมีอยู่ของตัวตนแต่แรกเลยต่างหาก

ในแง่หนึ่ง ตั้งคำถามถึงแหล่งที่อยู่ของตัวตน ว่ามันอยู่ในจิตหรือกายกันแน่ มันคือคำถามที่ตีกรอบว่าตัวตนมันต้องระบุพื้นที่ได้แน่นอน แต่ความเป็นตัวตนของเรานั้นอาจจะเป็นสิ่งที่คลุมเคลือด้วยตัวมันเอง สิ่งที่ชวนสงสัยใคร่รู้จึงอาจไม่ใช่แห่งหนของตัวตน แต่เป็นความสามารถที่จะระบุถึงตัวตนของเราได้ ในวันที่เผชิญกับ identity crisis

Being John Malkovich (1999)
Director: Spike Jonze

จะเป็นอย่างไร หากเราติดใจที่ได้เป็น ‘คนอื่น’

ปั่นประสาทตั้งแต่ชื่อไทยในชื่อ ‘ตายละหว่า…ดูดคนเข้าสมองคน’ ไปจนถึงพล็อตล้ำๆ เรื่องราวของ เคร็ก (รับบทโดย จอห์น คูแซก (John Cusack)) นักเชิดหุ่นที่ได้งานเป็นเสมียนในบริษัทแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่บน ชั้น 7½ นึกภาพชั้นลอยที่ออกจะคับแคบเสียหน่อย จนต้องก้มตลอดเวลา

ตำแหน่งแห่งหนของออฟฟิศที่ว่าแปลกแล้ว ก็ยังแปลกไม่เท่ากับประตูลึกลับที่เคร็กพบโดยบังเอิญ มันไม่ได้พาเขาไปสู่ห้องลับที่ไหน แต่กลับพาเขาไปในความคิดของนักแสดงชื่อ จอห์น มัลโควิช (รับบทโดย จอห์น มัลโควิช (John Malkovich)) เขาสามารถมองเห็นสิ่งที่มัลโควิกเห็น ได้ยินสิ่งที่มัลโควิกได้ยิน แล้วถูกดีดออกมาเมื่อครบ 15 นาที

เคร็กและเพื่อนร่วมงานเกิดปิ๊งไอเดีย เปิดบริการให้คนจ่ายเงินเพื่อเข้าไปเป็นมัลโควิช ฟังดูหลุดโลกไปเสียหน่อย แต่มันกลับทำกำไรให้เขาเป็นกอบเป็นกำ เพราะใครๆ ก็อยากลองเป็นคนดังดูสักครั้ง

ถ้าเราได้ใช้ชีวิตผ่านใครสักคนที่ดีกว่าเรา แล้วเรายังเป็นตัวเราอยู่ไหม หรือเราจะยอมทิ้งตัวตนเพื่อมีความสุขจากอัตลักษณ์ของผู้อื่น เรื่องนี้อาจไม่ได้ตั้งคำถามถึงเรื่องตัวตนอยู่ที่ไหน แต่ชวนตั้งคำถามถึงตัวตนของเรามันจะยังคงอยู่ได้ในสภาวะใดบ้าง

Altered States (1980)
Director: Ken Russell

สภาวะจิตสำนึกอื่นของเรา เป็นจริงเช่นเดียวกับสภาวะตื่นไหม

เอ็ดดี้ เจสซัป (รับบทโดย วิลเลี่ยม เฮิร์ต (Willian Hurt)) ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา สนใจศึกษาสภาวะเปลี่ยนแปลงของจิต เขาทดลองหาสภาวะจิตสำนึกอื่นๆ ผ่านการแยกประสาทสัมผัส โดยการเข้าไปในถังน้ำเกลือในที่มืดและเงียบพร้อมเสพสารหลอนประสาท

การทดลองไม่ได้จบในครั้งเดียว เมื่อมันเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า เอ็ดดี้เริ่มสัมผัสภาพหลอนอย่างรุนแรงเกี่ยวกับศาสนาและวิวัฒนาการ จนเขาไม่อาจควบคุมตนเองได้ทั้งจิตใจและร่างกาย แต่การทดลองนั้นยังไม่จบลง แล้วมันจะพาเขาไปพบกับสภาวะจิตสำนึกอื่นอีกเท่าไหร่กัน

ความสงสัยใคร่รู้ในหนังไซไฟ พาเราไปสู่ความวายป่วงเสมอ แม้แต่หนังเมื่อ 50 กว่าปีที่แล้วอย่างเรื่องนี้ก็เช่นกัน แม้มันพาเราไปแตะในเรื่องตัวตนระดับผิวเผิน ออกจะเป็นเรื่องของการรับรู้โลกใบนี้ ประสบการณ์ที่เรามีต่อโลกมากกว่า แต่ความทะเยอทะยาน ลูกผสมระหว่างไซไฟและไซคี ทำให้เรื่องนี้เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ชวนตั้งคำถามต่อหลายประเด็นเกี่ยวกับตัวเรา

Graphic Designer: Manita Boonyong
Editorial Staff: Paranee Srikham

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก The MATTER

ย้อนเรื่องราวในวันวานของกรุงโรม ผ่านแฟชั่นโชว์จาก ‘Dolce & Gabbana’ ปี 2025

13 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เพศสภาพ ทนายความ เครื่องแบบ คุยกับ ชิษณ์ชาภา พานิช ทนายความผู้เรียกร้องสิทธิการแต่งกายตามเพศสภาพ

14 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

Meryl Streep เริ่มถ่ายทำ The Devil Wears Prada 2 ที่นิวยอร์กในบทสุดไอคอนิก Miranda Priestly

THE STANDARD

ค้นตัวตน หนานบัวผัน ศิลปินที่เชื่อว่าวาด "ปู่ม่าน-ย่าม่าน" ภาพ "กระซิบรัก" วัดภูมินทร์

ศิลปวัฒนธรรม

LOEWE เปิดตัวกระเป๋าซีรีส์ Landscape ที่ได้แรงบันดาลใจจากภูมิทัศน์ธรรมชาติ

THE STANDARD

Dakota และ Elle Fanning เตรียมแสดงภาพยนตร์ด้วยกันเป็นครั้งแรกในเรื่อง The Nightingale

THE STANDARD

ซีพีเอฟ เปิดตัวผลิตภัณฑ์จากฝรั่งเศส ‘Bucher Salami & Chorizo’

กรุงเทพธุรกิจ

24 กรกฎาคม 2508 สาวไทยคว้าตำแหน่ง “นางงามจักรวาล” เป็นครั้งแรก

ศิลปวัฒนธรรม

บอลวันนี้ ดูบอลสด ถ่ายทอดสด โปรแกรมฟุตบอล วันพฤหัสบดีที่ 24 ก.ค. 68

PostToday

ท่วมหนัก 2 ปีซ้อน "Lalana Cafe" คาเฟ่ดังเมืองน่าน น้ำท่วมเกือบมิดหลังคา

Manager Online

ข่าวและบทความยอดนิยม

“ตอนนี้เรือนจำเหมือนบ้านพักคนชรา” คนสูงวัยในญี่ปุ่น ยอมทำผิดเพื่อติดคุก ดีกว่าอยู่อย่างเหงาๆ

The MATTER

คนเก็บของเก่าพบภาพวาดเก่าแก่ เอามาแขวนที่บ้านอยู่หลายสิบปี ก่อนพบว่าเป็นภาพวาดของ ‘ปิกัสโซ’

The MATTER

หรือระบบทหาร-ชายเป็นใหญ่ คือต้นตออคติทางเพศของเกาหลีใต้? กรณีเสียงวิพากษ์สมรสเท่าเทียมไทย

The MATTER
ดูเพิ่ม
Loading...