โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ทุเรียนใต้ 7 แสนตันส่งออกฝืด รัฐออกกฎใหม่เข้ม-ล้งหาย 50%

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กระทรวงเกษตรฯ ออกกฎใหม่ส่งออกทุเรียน เพิ่มใบอนุญาต “มกษ.9070” คุมคุณภาพเกินกว่าจีนร้องขอ ทำขั้นตอนรับซื้อจากสวน-ล้ง ไปจนถึงส่งออกล่าช้า คาดปริมาณผลิตออก 7 แสนตัน ส่งออกได้น้อย ราคาตก จี้รัฐปรับแผน ประเมินเกมผิดทำตลาดป่วน ล้งหาย 50% หวั่นเสียเปรียบเข้าทางคู่แข่งเพื่อนบ้าน

แหล่งข่าวจากผู้ส่งออกทุเรียน จ.ชุมพร เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การออกใบอนุญาตมาตรฐานใหม่ ที่ประกาศล่าสุดมีผลบังคับใช้ 10 ก.ค.ที่ผ่านมา ทำให้เกิดปัญหาล่าช้าทั้งขั้นตอนการรับซื้อของล้ง และการส่งออกทุเรียนจังหวัดภาคใต้ที่มีผลผลิตออกมาจำนวนมาก

ใบอนุญาตใหม่ ออกโดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กรมวิชาการเกษตร เรียกว่า มาตรฐานบังคับ มกษ.9070-2566 กับโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุ (ล้ง) มีปัญหาทั้งการขอมีใบรับรอง ใบอนุญาตต่าง ๆ ที่ต้องใช้ควบคู่กัน คือ มกษ.2 (ใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต) และ มกษ.4 (ใบอนุญาตเป็นผู้ส่งออก)

ทั้ง 2 ใบอนุญาตดังกล่าวต้องขอผ่านระบบ TAS-LICEMSE และใช้ควบคู่กับใบรับรองการส่งออก หรือ มกษ.7-1 เพื่อให้กรมศุลกากรทำใบขนสินค้าส่งออก ด้วยขั้นตอนที่เพิ่มขึ้น และเอกสารที่เพิ่มขึ้น ทำให้ส่วนราชการไม่สามารถบริการล้ง และผู้ส่งออกได้ทั้งหมด

เพิ่มขั้นตอนเกินมาตรฐานคู่ค้า

แหล่งข่าวระบุว่า ในสถานการณ์ปกติการส่งออกทุเรียนผลสด สวนทุเรียนต้องผ่านหลักเกณฑ์ 5 ขั้นตอน คือ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ล้งต้องผ่านหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต (GMP) ต้องขึ้นทะเบียนขอเลข DOA ใบรับรองการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกผลทุเรียนสดไปนอกราชอาณาจักร (DU) กับสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) และยังมีภาคบังคับเพิ่มตรวจสารย้อมสี (BY2) และสารแคดเมียมที่ปกติต้องรอผล 48 ชั่วโมง

แต่กฎกระทรวงใหม่ ที่เรียกว่า “มกษ.9070” มากกว่าข้อกำหนดของต่างประเทศคู่ค้าและจีน เป้าหมาย คือ เพื่อแก้ปัญหาทุเรียนอ่อน ทุเรียนด้อยคุณภาพ แต่หลายสวนในพื้นที่ภาคใต้ยังไม่ได้ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบ GAP และกระบวนการต้องขอเอกสารใบอนุญาตเป็นผู้ผลิตทุเรียน (มกษ.2) ใบอนุญาตผู้ส่งออกทุเรียน (มกษ.4) ซึ่งในระบบยังติดขัด บางคนต้องแก้ไข 3-4 รอบ และยังมีการรออนุมัติค้างอยู่

ทั้งนี้ ปี 2567 ทุเรียนไทยมีปัญหาปนเปื้อน BY2 แคดเมียมหนักมาก ทำให้การส่งออกมีปัญหา ผู้ประกอบการเสียหายหยุดซื้อไป ทำให้ล้งทางภาคใต้เปิดซื้อน้อยลงมาก ล่าสุดการบังคับการใช้ มกษ.9070 คาดว่าน่าจะมีล้งที่พร้อมเปิดรับซื้อ 30% ประมาณ 200 ล้ง ขณะที่ล้งจำนวนหนึ่งลดความเสี่ยงด้วยการรอดูสถานการณ์

แหล่งข่าวระบุว่า “มาตรการทั้งหมด ส่งผลให้ราคาทุเรียนสด ทุเรียนที่จะขายเข้าห้องเย็นปีนี้ราคาหน้าสวนเหลือ 30-40 บาท เกิดสภาพล้งกดราคา ทุเรียนยิ่งราคาถูก การแข่งขันสูง ทำกำไรยาก ประกอบกับมาตรฐาน มกษ.9070 ทำให้ส่งทุเรียนสดไปตลาดจีนยากขึ้น ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านนำเข้าตามมาตรการตามคู่ค้ากำหนดง่ายกว่า”

มองเกมผิดดั่งโจโฉแตกทัพเรือ

นายสัญชัย ปุรณะชัยคีรี นายกสมาคมผู้ค้าและส่งออกผลไม้ไทย กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น ทั้งภายใต้การควบคุมมาตรฐานทุเรียนส่งออกด้วยเลข DOA GMP DU และการเพิ่มการควบคุมมาตรฐานที่ซับซ้อนมากกว่าที่จีนใช้ เหมือนกับกีดกันการส่งออกไปจีนที่เป็นลูกค้ารายใหญ่ ซึ่งการตรวจรับรองหลายรอบ หลายหน่วยงาน ทั้ง มกอช. บริษัทเอกชนตรวจแล็บ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร (สวพ.) สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมศุลกากร

ดังนั้น จะทำอย่างไรให้ผู้ประกอบการมีความสะดวก รวดเร็วครั้งเดียวจบ ตอนนี้เหมือนกับ “โจโฉแตกทัพเรือ” การประเมินสถานการณ์ที่ผิดพลาด สร้างระบบขึ้นมาจากหลายหน่วยงานเข้ามาตรวจสอบ จนกลายเป็นอุปสรรคการส่งออกทุเรียนไทยทำลายตัวเอง ไม่เกี่ยวกับประเทศคู่ค้า เป็นโอกาสของประเทศเพื่อนบ้านที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าได้โดยไม่มีความยุ่งยากซับซ้อน

“มกอช.ประกาศใช้ มกษ.9070-2566 กฎหมายนี้ควรผ่อนปรนไปก่อน เพราะการส่งออกตามขั้นตอนของศุลกากรไม่ควรติดขัด ต้องให้ทำงานได้ตลอดเวลา มาตรการทำเฉพาะที่ประเทศคู่ค้าเรียกร้อง เทียบกับคู่แข่งเวียดนาม มาเลเซีย สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ซึ่งทำตามเงื่อนไขคู่ค้าของจีนเท่านั้น” นายสัญชัยกล่าว

ราคาดิ่ง ล้งน้อยทุนจีนไม่มาซื้อ

นายธีระศักดิ์ ยมสวัสดิ์ ประธานสภาเกษตรกร จ.ชุมพร กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัญหาที่ล้งมีจำนวนน้อยลงมากในปีนี้ เพราะพ่อค้าจีนไม่เข้ามาลงทุน เนื่องจากปีที่ผ่านมาขาดทุนหนัก ประกอบกับมาตรฐานใหม่ “มกษ.9070” ทำให้ขั้นตอนเดินเอกสารซับซ้อน ยุ่งยาก

อย่างไรก็ตาม แผงรับซื้อทุเรียนใน จ.ชุมพร บางรายยังสามารถดำเนินการทำเอกสารตามมาตรฐานใหม่ได้ มีออร์เดอร์การสั่งซื้อวันละ 4-5 ตู้ และระบายทุเรียนไปจีนได้ราคา 100-102 บาท/กิโลกรัม

รายงานข่าวจากกองควบคุมมาตรฐาน มกอช. (9 ก.ค. 68) เฉพาะภาคใต้ จำนวนล้งที่ขึ้นทะเบียน DOA ปี 2568 มีจำนวน 612 ล้ง ล้งแจ้งดำเนินการฤดูการผลิต 2568 จำนวน 316 ล้ง ที่ได้ใบรับรอง มกษ.9070-2566 จำนวน 455 ล้ง

คาดว่าปริมาณทุเรียนภาคใต้มีจำนวน 703,537 ตัน เพิ่มจากปี 2567 จำนวน 32.68%

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : ทุเรียนใต้ 7 แสนตันส่งออกฝืด รัฐออกกฎใหม่เข้ม-ล้งหาย 50%

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.prachachat.net

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ประชาชาติธุรกิจ

กฎใหม่! คุม 'แอปเรียกรถ' คนขับ-ผู้ใช้-แพลตฟอร์ม ต้องทำอะไรบ้าง ?

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

Porsche พรางตัวทดสอบ ‘คาเยนน์ อิเล็กทริค’ ก่อนเปิดตัว

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘สกายวอล์กราชวิถี’ 1.3 กม. ดัน กทม. เมืองเดินได้ เดินดี น่าเดิน

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ภูมิธรรม จัดแถวมหาดไทย ตีปี๊บผลงานรัฐบาล รับอุบัติเหตุยุบสภา

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ปลดพนักงานกว่า 1,300 คน ภายใต้แผนปรับโครงสร้างรัฐของ ทรัมป์

การเงินธนาคาร

นมพาณิชย์ล้นสต๊อก 10 ล้านกล่อง-มะพร้าวราชบุรีดิ่งลูก 4 บ. จตุพร ดึงเอกชนช่วยรับซื้อ

เดลินิวส์

กะตะกรุ๊ป: 45 ปีแห่งความสำเร็จใน ภูเก็ต กับการเปลี่ยนผ่านสู่ “โรงแรมยั่งยืน”

การเงินธนาคาร

“SET” ชี้! เศรษฐกิจไทยยังมีพื้นฐานแข็งแรง แม้เผชิญแรงกดดันจากภาษีสหรัฐฯ

PPTV HD 36

หนุนผู้ผลิต ผู้ส่งออก ลุยตลาดอาหารอุ่นร้อนเอง ขายผู้บริโภคชาวจีน

The Better

พาณิชย์ จับมือพันธมิตร ช่วยระบาย มังคุดใต้ แก้ราคาตกต่ำ

การเงินธนาคาร

“แห่เทียนอุบล 68” สุดคึกคัก! นักท่องเที่ยวทะลัก คาดเงินสะพัดกว่าพันล้านบาท

อีจัน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผย ตลาดการกุศลไทยยังโต ปีละ 2% คาดมูลค่าแตะ 1.5 แสนล้านบาทปีนี้

MATICHON ONLINE

ข่าวและบทความยอดนิยม

ทุเรียนใต้ 7 แสนตันส่งออกฝืด รัฐออกกฎใหม่เข้ม-ล้งหาย 50%

ประชาชาติธุรกิจ

ราคาบิตคอยน์วันนี้ (12 ก.ค. 68) ขยับขึ้น 1.33% อยู่ที่ 117,583 เหรียญสหรัฐ

ประชาชาติธุรกิจ

ไทยเข้มปิดดีลภาษีชูเงื่อนไข ห้ามกระทบเกษตร-รายย่อย

ประชาชาติธุรกิจ
ดูเพิ่ม
Loading...