โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

สธ.-มท.-กทม. ตั้งเป้าลดแม่ท้องคลอดก่อนกำหนด ลดเด็กแรกเกิดเสียชีวิต

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

18 กรกฎาคม 2568 นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขและประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกเพื่อครอบครัวไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นประธานเปิดการประชุมโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

โดยมี ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ธราธิป โคละทัต ผู้จัดการโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกเพื่อครอบครัวไทย ในพระราชูปถัมภ์ฯ แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย แพทย์หญิงอัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสาธารณสุข ที่ปรึกษาคณะกรรมการอำนวยการฯ นายมานะ สินมา ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ผู้แทนปลัดกระทรวงมหาดไทย แพทย์หญิงภาวิณี รุ่งทนต์กิจ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย ผู้แทนปลัดกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข และภาคีเครือข่าย ร่วมงาน ณ ห้องประชุมสัมพุทธเมตตาประชารักษ์ ชั้น 9 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปัญหาการคลอดก่อนกำหนดส่งผลกระทบต่อเด็ก ครอบครัว เศรษฐกิจ และสังคม กระทรวงสาธารณสุขจึงร่วมกับภาคีเครือข่ายกำหนดเป้าหมายหญิงไทยคลอดก่อนกำหนด ไม่เกินร้อยละ 8 และลดอัตราเสียชีวิตของทารกแรกเกิดอายุ 7-28 วัน ไม่เกิน 4.0 ต่อพันทารกเกิดมีชีพภายในปี 2570 พร้อมทั้งขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด เริ่มดำเนินการใน 24 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร เน้นดำเนินการ 6 ระบบ ดังนี้

1) พัฒนาระบบตรวจคัดกรองสุขภาพ

2) ยกระดับการดูแลขณะตั้งครรภ์

3) พัฒนาระบบการบริหารยา

4) พัฒนาระบบการรักษา และส่งต่อหญิงเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และดูแลรักษาทารกเกิดก่อนกำหนด

5) สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

6) การติดตามพัฒนาการเด็ก

ด้านนายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยพร้อมบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งระดับจังหวัด อำเภอ และท้องถิ่น ผ่านกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และเครือข่ายชุมชนตามโครงการฯ ดังกล่าว ในพื้นที่ 24 จังหวัด 72 อำเภอ

ด้วยการพัฒนาระบบสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อนำมาใช้ในการเฝ้าติดตามดูแลหญิงตั้งครรภ์โดยทีมงานระดับพื้นที่ ได้แก่ นายอำเภอ ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แกนนำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ดำเนินการเชิงรุก
โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ที่มีฐานะยากไร้ และหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด หรือมีอาการผิดปกติที่เร่งด่วนอื่น ๆ จะได้รับการสงเคราะห์และการช่วยเหลือเบื้องต้นในกรณีเร่งด่วน ก่อนเข้ารับการรักษาในระบบบริการสุขภาพต่อไป

ด้าน นางวันทนีย์ วัฒนะ ปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานครได้ขับเคลื่อนโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด โดยวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ การส่งเสริมการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพ และการเข้าถึงบริการได้อย่างครอบคลุม การตรวจคัดกรองหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มเสี่ยง รวมไปถึงการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและพฤติกรรมที่หญิงตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยง เพื่อป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร ให้สามารถปฏิบัติภารกิจในด้านการส่งเสริม ป้องกัน ดูแลสุขภาพมารดา และ ทารกในครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้าน ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ธราธิป โคละทัต ผู้จัดการโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกเพื่อครอบครัวไทย ในพระราชูปถัมภ์ฯ กล่าวว่า โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด เป็นโครงการที่คณะกรรมการอำนวยการโครงการเครือข่ายสุขภาพมารดาและทารกฯ ดำเนินการในปี 2567 – 2570 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับชุมชนจนถึงหน่วยบริการสาธารณสุขทุกระดับ เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนดให้สำเร็จ พร้อมทั้งรวบรวมองค์ความรู้จากการพัฒนางานของบุคลากรในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ

นอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาวิจัยค้นหาประเด็นสำคัญ เพื่อจัดทำเป็นแผนงานสำหรับบูรณาการงานของทุกภาคีเครือข่าย พร้อมทั้งประเมินและติดตามตัวชี้วัด สำหรับการจัดประชุมในวันนี้ เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสาร แนวทางการขับเคลื่อนโครงการฯ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างความร่วมมือร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด เป็นต้น

ด้านแพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย ในฐานะประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ กล่าวว่า การคลอดก่อนกำหนดเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่อการเสียชีวิต ความพิการ หรือภาวะแทรกซ้อนต่อทารกไทย การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพประชาชนในทุกมิติ ทุกช่วงวัย ตลอดช่วงชีวิต เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่จนถึงผู้สูงอายุ เริ่มตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ต่อเนื่องมาขณะอยู่ในครรภ์มารดาสู่ช่วงเด็กปฐมวัยให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ ถือเป็นภารกิจสำคัญที่ต้องจัดทำโครงการฯ นี้

พร้อมทั้งแถลงนโยบายเพื่อให้เห็นถึงความร่วมมือของทั้ง 3 องค์กร ประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และกรุงเทพมหานคร ที่จะเป็นกำลังหลักในการดูแลและส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ และเด็กแรกเกิดที่เป็นหัวใจสำคัญในการเป็นอนาคตของชาติได้เติบโตอย่างมีสุขภาพดี มีคุณภาพต่อไป

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

"สินเชื่อสร้างเครดิต" ออมสิน ประวัติดีได้เงินกู้เพิ่ม 5 หมื่น เช็คเงื่อนไข

26 นาทีที่แล้ว

ค่าเงินบาทปิดตลาดวันที่ 18ก.ค.ที่ระดับ 32.39 บาทต่อดอลลาร์

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ตั้งบอร์ดไล่บี้ "กลุ่มจีนเทา" ต่างชาติใช้แรงงานเถื่อน อึ้งพบทำอาชีพสงวนคนไทยเพียบ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

จีนท้าชนสหรัฐฯ ย้ำไม่กลัวสงครามภาษี แต่เลือกเจรจา ชี้ไร้เหตุเปิดศึกการค้า

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่นๆ

บุหรี่ซอมบี้ ภัยร้ายพันธุ์ใหม่ผสมยานำสลบ "เอโทมิเดต" อันตรายถึงชีวิต

Amarin TV

เรื่องใหม่ คุณแม่ต้องรู้ เพิ่มวันลาคลอด- ปรับเกณฑ์น้ำหนัก

กรุงเทพธุรกิจ

เตือนหน้าฝน! ระวังโรคไข้ดิน 2568 ป่วยแล้ว 308 ราย คร่าชีวิต 7 ราย

PPTV HD 36

ภาวะเลือดหนืด อาจนำไปสู่โรคร้ายแรง

สยามรัฐวาไรตี้

ฝันถึงแฟนเก่า ไม่ใช่เพราะคิดถึง แต่สมองกำลังเคลียร์ความจำ

TNN ช่อง16

แพทย์เตือน! น้ำผลไม้ 1 ชนิด ไม่ผ่านการรับรองอันตรายถึงชีวิต

News In Thailand

ไอเดียปรับ “อาหารนอกบ้าน” ให้คลีนได้! เพิ่มใยอาหาร โปรตีนคุณภาพ

PPTV HD 36

"สมศักดิ์" ลุยใต้ จัด 11 คลินิกเชิงรุกบริการทุกช่วงวัยฯ

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...