"เลเซอร์ตุรกี" ทำให้ขีปนาวุธตาบอด ยุคใหม่ของสงคราม พลิกโฉมการรบทางอากาศ
อาเซลซาน (ASELSAN) บริษัทเทคโนโลยีด้านการป้องกันประเทศของตุรกี สร้างความฮือฮาในวงการกลาโหม ด้วยการเปิดตัวระบบป้องกันตนเองด้วย เลเซอร์ ยิลดิริม 100 (YILDIRIM 100) ที่อ้างว่าสามารถสกัดกั้นขีปนาวุธได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องใช้การระเบิด อาจเป็นอีกก้าวสำคัญที่ทำให้ตุรกีก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีป้องกันภัยทางอากาศของโลก
YILDIRIM 100คืออะไร
โดยทั่วไปอาวุธที่หลายคนเข้าใจการทำลายล้างจะมาพร้อมกับเสียงที่ดัง เช่นเสียงการทำลายล้างของระเบิดทั่วไป เสียงลำแสงหรือเสียงดินปืน แต่ ยิลดิริม 100 (YILDIRIM 100) แตกต่างออกไป เพราะระบบของอาวุธนี้ไม่ใช้เลเซอร์ที่ใช้พลังงานสูงเพื่อเผาไหม้หรือทำลายเป้าหมายเหมือนในภาพยนตร์ไซไฟ แต่กลับใช้วิธีการรบกวนการนำวิถีของขีปนาวุธอินฟราเรดที่พุ่งเข้ามาก่อนที่มันจะสามารถล็อกเป้าหมายได้สำเร็จ
พลังแห่งการ "บดบัง" ไม่ใช่ "ทำลายล้าง"
ในโลกของอุปกรณ์ทางทหาร ไม่ใช่ทุกสิ่งถูกสร้างมาเพื่อโจมตีเสมอไป บางส่วนเป็นเทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อการป้องกันหรือทำให้ไม่เกิดการโจมตี และด้วยยุคปัจจุบันนี้ที่ขีปนาวุธสมัยใหม่ไม่ได้เป็นเพียงกระสุนธรรมดา ๆ อีกต่อไป แต่อาจมาในรูปแบบยานพาหนะอัจฉริยะที่เต็มไปด้วยระบบซับซ้อนที่สามารถค้นหา ระบุ ล็อกเป้าหมาย คำนวณเส้นทางสกัดกั้น และพุ่งเข้าหาเป้าหมายได้แม่นยำ แม้ว่าเป้าหมายจะพยายามหลบหลีกก็ตาม ด้วยเหตุนี้ เครื่องบินทั้งทางทหารและพลเรือน จึงต้องติดตั้งระบบตอบโต้ที่ซับซ้อนไม่แพ้กัน เพื่อหลีกเลี่ยงและขัดขวางขีปนาวุธอัจฉริยะเหล่านี้ ซึ่งรวมถึงระบบล่องหน พลุแฟลร์ และอุปกรณ์ล่อต่าง ๆ หรืออย่างยิลดิริม 100 (YILDIRIM 100) ที่ออกแบบมาเพื่อเป็นหนึ่งในระบบตอบโต้เชิงรุกที่ใช้เลเซอร์ในการสกัดกั้นขีปนาวุธของศัตรู
ที่มาของภาพ
ASELSAN
ทำงานอย่างไร?
ยิลดิริม 100 (YILDIRIM 100) เป็นระบบเลเซอร์แบบป้อมปืนคู่ ที่สามารถครอบคลุมท้องฟ้าได้รอบทิศทางของเครื่องบิน มันจะสอดส่องหาขีปนาวุธที่กำลังเข้ามาซึ่งใช้หัวรบอินฟราเรดในการล็อกเป้าหมายด้วยการตรวจจับความร้อน เมื่อตรวจพบขีปนาวุธ เลเซอร์จะปล่อยลำแสงอินฟราเรดแบบหลายสเปกตรัมที่มีพลังงานมากพอที่จะทำให้เซ็นเซอร์ของการรบกวนการนำวิถีของขีปนาวุธ หรือแม้กระทั่งทำลายเซ็นเซอร์นั้น ทำให้ขีปนาวุธสูญเสียความสามารถในการติดตามเป้าหมายและหลงทางไปในที่สุด
แนวคิดการใช้เลเซอร์เพื่อทำให้ขีปนาวุธถูกรบกวนการนำวิถีนำทางไม่ใช่เรื่องใหม่ทั้งหมด กองทัพเรืออังกฤษเคยใช้เลเซอร์รบกวนการนำวิถีในสงครามหมู่เกาะฟอล์กแลนด์มาแล้ว แต่สิ่งที่ทำให้ ยิลดิริม 100 (YILDIRIM 100) แตกต่าง ตามที่บริษัทระบุไว้คือ มันเป็นระบบอัตโนมัติที่ออกแบบมาเพื่อต่อกรกับระบบอัตโนมัติอีกระบบหนึ่ง ทำให้การทำงานรวดเร็วและแม่นยำกว่าการพึ่งพามนุษย์
ความสามารถของ YILDIRIM 100
ตามข้อมูลของ อาเซลซาน (ASELSAN) ยิลดิริม 100 (YILDIRIM 100) ใช้ระบบเตือนภัยขีปนาวุธอินฟราเรด (Directed Infrared Countermeasure - DIRCM) ที่มีความสามารถสูงในการต่อต้านขีปนาวุธนำวิถีด้วยอินฟราเรดหลากหลายประเภท โดยใช้เทคโนโลยีเลเซอร์พลังงานสูงแบบหลายช่วงความยาวคลื่น (Multi-band) ในการรบกวนและทำให้ระบบนำวิถีของขีปนาวุธ “ถูกรบกวน” ก่อนที่จะสามารถล็อกเป้าหมายได้ อีกทั้งตัวระบบถูกออกแบบให้สามารถจัดการกับเป้าหมายหลายเป้าหมายได้พร้อมกัน (Multi-target Engagement) ด้วยระบบเล็งแบบกลไกเล็งสองชุด (Dual-turret) ที่ตอบสนองอย่างรวดเร็วและแม่นยำในทุกทิศทางแบบ 360 องศา
นอกจากนี้ ยังสามารถติดตั้งกับเครื่องบินปีกตรึงและเฮลิคอปเตอร์ได้หลากหลายรุ่น ด้วยขนาดที่กะทัดรัด น้ำหนักเบา และกินพลังงานต่ำ อีกทั้งยังเข้ากันได้กับระบบเตือนภัยขีปนาวุธทั้งอินฟราเรด (IR) และอัลตราไวโอเลต (UV) ที่ใช้งานในปัจจุบัน
ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2025 บริษัท ASELSAN ผู้พัฒนาระบบนี้ ได้รายงานผ่านเว็บไซต์ทางการว่า YILDIRIM 100 ประสบความสำเร็จในการทดสอบภาคสนามโดยได้แสดงประสิทธิภาพในการสกัดกั้นและทำให้ขีปนาวุธอินฟราเรดจำนวนหนึ่งเป็นกลางในระหว่างการฝึกซ้อมยิงจริงโดยสามารถตรวจจับ ติดตาม และรบกวนขีปนาวุธนำวิถีอินฟราเรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการทดสอบดังกล่าวมีขึ้นภายใต้เงื่อนไขการจำลองสถานการณ์จริง และได้รับการเผยแพร่โดยสื่อด้านความมั่นคงอย่าง Army Recognition และ International Defence Analysis เพื่อแสดงถึงศักยภาพของระบบในการป้องกันภัยคุกคามทางอากาศโดยไม่ต้องทำลายเป้าหมายโดยตรง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- อิหร่านอ้างยิงขีปนาวุธเร็วเหนือเสียง “Fattah-1” โจมตีกรุงเทลอาวีฟของอิสราเอล
- โดมทองคำทรัมป์ งบ 175,000 ล้านดอลล่าร์ อาจล้มซ้ำรอยอดีต
- ระบบขีปนาวุธ "อิหร่าน" ปะทะ ระบบป้องกันภัยทางอากาศ "อิสราเอล" !
- “โกลเดนโดม” ระบบป้องกันขีปนาวุธสหรัฐฯ (ในอนาคต)
- “Golden Dome” คืออะไร ใช้เทคโนโลยีอะไรป้องกันภัยทางอากาศอเมริกา ? แถมใช้งบ 6 ล้านล้านบาท