โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

รมว.คลัง คาดไทยได้ภาษีสหรัฐฯ ไม่เกิน 20%

การเงินธนาคาร

อัพเดต 18 กรกฎาคม 2568 เวลา 19.44 น. • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

รมว.คลัง เผย เจรจาสหรัฐฯ รอบ 2 บรรยากาศดี คาดไทยได้อัตราภาษีเกาะกลุ่มภูมิภาคที่ไม่เกิน 20% ส่วนสินค้าผ่านทางอาจะเป็นอีก 1 อัตรา โดยสหรัฐฯ ให้คำตอบก่อน 1 ส.ค. นี้

18 ก.ค. 2568 เวลา 11.30 น. ที่กระทรวงการคลังนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การหารือเรื่องข้อตกลงภาษีสหรัฐฯ กับผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) รอบที่ 2 เมื่อคืนวันที่ 17 ก.ค. 2568 ที่ผ่านมา เป็นบรรยากาศที่ดี โดยใช้เวลาเจรจาประมาณ 30 นาที

“การเจรจาเมื่อคืนนี้เป็นบรรยากาศที่ดี ทางสหรัฐฯ เขาบอกว่าเป็น Very Substantial Improvement โดยคาดว่าทาง USTR จะเสนอเรื่องไปยังผู้บริหารระดับสูงของสหรัฐฯ ภายในวันนี้ และไทยจะได้คำตอบอัตราภาษีใหม่จากเดิม 36% ก่อนเส้นตาย 1 ส.ค. นี้”

โดยการหารือเป็นการลงในรายละเอียดจากข้อตกลงต่างๆ ที่ไทยได้เจรจามาอย่างต่อเนื่อง และไทยได้ตอบสนองต่อสิ่งที่ต้องการแก้ปัญหาได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษี (Tariff) หรือสินค้าผ่านทาง (Transshipment) รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของประเทศไทย โดยมีเป้าหมายดังนี้

  • เมื่อไทยเปิดตลาดให้สหรัฐฯ มากขึ้น หรือซื้อสินค้าจากสหรัฐฯ มากขึ้น ก็ต้องขายสินค้าให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกให้มากขึ้น ตั้งเป้าหมายว่าจะขยายขนาดเศรษฐกิจให้ใหญ่ขึ้นให้ได้
  • แม้สินค้าที่ไทยเปิดตลาดจะมีมูลค่าไม่มาก แต่ต้องดูแลสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะซัพพลายเชนของSME เสริมสร้างประสิทธิภาพอย่างเร่งด่วนเพื่อสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยให้ได้

“ผมอยากเรียนว่าข้อเสนอของเราเป็นข้อเสนอที่มีหลักการดี โดยเราพยายามทำให้ตรงเป้าที่สหรัฐฯ ต้องการให้ได้มากที่สุด แต่ยืนยันว่าไม่ใช่เป้าที่เราฝืนใจตัวเอง เรายังดูแลภาคเกษตรกรโดยเฉพาะสินค้าบางชนิดที่ไทยยังต้องดูแล ยังอยากจะใช้คำว่าเป็น win-win ของประเทศอยู่”

ส่วนไทยจะได้อัตราภาษีที่เท่าไร นายพิชัย เปิดเผยว่า คาดว่าไทยจะได้อัตราภาษีในระดับที่เกาะกลุ่มไปกับภูมิภาค ซึ่งหมายความว่าอาจจะไม่เกิน 20% ส่วนเรื่องสินค้าผ่านทางจะเป็นอีกกรณีที่ต้องมาพิจารณาว่าจะดูแลอย่างไร

ขณะที่โมเดลของไทยจะเป็น 2 อัตราแบบเดียวกับเวียดนามหรือไม่ นายพิชัย เปิดเผยว่า ไม่ทราบว่าสหรัฐฯ และเวียดนามตกลงกันอย่างไร อย่างไรก็ตามสินค้าที่ซื้อขายระหว่างประเทศมีหลายภาคส่วน (sector) ดังนั้นมองว่าอาจมีหลายอัตรา

“เวลาซื้อขายสินค้ามีหลายภาคส่วน ดังนั้นถ้าผมเป็นสหรัฐฯ ก็อาจจะมีหลายอัตรา เช่น สินค้ากลุ่มบนก็อาจมีอัตราเดียว กลุ่มล่างอาจจะมีหลายอัตรา หรือแบ่งเป็นสินค้าผ่านทางกลุ่มหนึ่ง เป็นต้น”

ทั้งนี้รัฐบาลยืนยันว่าจะส่งเสริมและดูแลกลุ่มผู้ประกอบการที่ปรับตัวไม่ทัน โดยพิจารณาแล้วมีจำนวนไม่มากนัก เนื่องจากมีสินค้าหลายประเภทที่แม้เปิดตลาดแล้วก็ไม่กระทบกับผู้ประกอบการ เพราะเป็นสินค้าที่สหรัฐฯ แข่งขันไม่ได้

“สินค้าบางอย่างเราเปิดตลาดแล้วสหรัฐฯ ก็ไม่มา เพราะเขาไม่มีสินค้านั้น หรือเปิดตลาดแล้วเขาเข้ามาแข่งขันไม่ได้ สมมติผมขอซื้อของเขา 100 อย่าง แล้วเขาไม่มี 50 อย่าง ผมจะเปิด 50 อย่างทำไม ก็เปิด 100 ได้เลย ไม่มาก็คือไม่มา”

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก การเงินธนาคาร

ดีลล่ม! Couche-Tard ถอนข้อเสนอซื้อ 7-Eleven ญี่ปุ่น มูลค่า 4.6 หมื่นล้านดอลล์

14 นาทีที่แล้ว

ครึ่งปีแรก 68 จีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ ยังครองแชมป์ เที่ยวไทย

16 นาทีที่แล้ว

ประธาน Bundesbank เตือนอย่าแทรกแซง “เฟด” ชี้กระทบเสถียรภาพทั่วโลก

23 นาทีที่แล้ว

ทีมวิจัย Typhoon ส่ง 5 งานวิจัยร่วมด้าน AI กับ 4 สถาบัน สู่เวทีงานวิจัย ระดับ “A-Star (A*) Research”

26 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

บลจ.อีสท์สปริง เปิดมุมมองลงทุนครึ่งปีหลัง 68 แนะกระจายพอร์ตชู 5 ธีมเด่น

การเงินธนาคาร

CKPower เร่งเครื่องธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ลุยโซลาร์-พลังน้ำ

TNN ช่อง16

อียิปต์ลงทุนหมื่นล้านบาทโครงการพลังแสงอาทิตย์ ไม่เอาแล้วไฟดับบ่อย

Amarin TV

ไม่ลงทุน = เงินไม่โต เพราะถือไว้เฉยๆ เงินมีแต่จะน้อยลง

TODAY

สยามพารากอน ผนึกพันธมิตร จัดงาน "ทั่วหล้าเทิดไท้ถวายใจสดุดี"

TNN ช่อง16

“ท๊อป จิรายุส” โชว์วิสัยทัศน์ 5 ไฮไลท์เศรษฐกิจโลก บนเวทีประชุมผู้นำ Summer Davos 2025

Manager Online

ดีลล่ม! Couche-Tard ถอนข้อเสนอซื้อ 7-Eleven ญี่ปุ่น มูลค่า 4.6 หมื่นล้านดอลล์

การเงินธนาคาร

ครึ่งปีแรก 68 จีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ ยังครองแชมป์ เที่ยวไทย

การเงินธนาคาร

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...