KTAM แนะกระจายสินทรัพย์รับมือเศรษฐกิจผันผวน
KTAM แนะกระจายสินทรัพย์ รับมือเศรษฐกิจผันผวน ผ่านกลุ่มกองทุนผสม “KTWC Series”
นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากที่ได้เปิดเสนอขายกองทุน KTWC-INCOME สำหรับนักลงทุนที่ต้องการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนและสร้างกระแสรายได้จากตราสารหนี้ทั่วโลก เพื่อช่วยชดเชยความผันผวนภายใต้สภาวะตลาดที่ไม่แน่นอน ไปเมื่อวันที่ 17 – 23 มิ.ย. 68 ที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับที่ดีจากนักลงทุนด้วยยอดจองซื้อในช่วง IPO กว่า 1,300 ล้านบาท และได้ทำการเปิดเสนอขายอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 27 มิ.ย. 68 เป็นต้นมา โดยผู้ที่สนใจสามารถลงทุนผ่านธนาคารกรุงไทย รวมถึงแอปพลิเคชัน Next และ KTAM Smart Trade
สำหรับกลุ่มกองทุน“KTWC Series” เป็นกองทุนผสม มีจำนวนกองทุนทั้งสิ้น 5 กองทุน ประกอบด้วย กองทุนชนิดสะสมมูลค่า จำนวน 4 กองทุน และชนิดเพื่อการเลี้ยงชีพ 1 กองทุน โดยปัจจุบันมียอดทรัพย์สินสุทธิรวมกว่า 11,000 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 26 มิ.ย. 68) มีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม และ/หรือกองทุนรวม ETF ในต่างประเทศ ที่มีนโยบายลงทุนทั้งตราสารทุน ตราสารหนี้ ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ทรัพย์สินทางเลือก เงินฝากหรือตราสารเทียบเท่า โดยจะลงทุนอย่างน้อยตั้งแต่ 2 กองทุนขึ้นไปโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV และจะลงทุนในกองทุนใดกองทุนหนึ่งไม่เกิน 79% ของ NAV
ทั้งนี้ บริษัทจัดการจะมอบหมายให้ FIL Investment Management (Hong Kong) Limited ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Fidelity International เป็นผู้รับมอบหมายงานด้านการจัดการลงทุน โดยไม่รวมในส่วนการลงทุนเพื่อสภาพคล่อง
โดยกลุ่มกองทุน KTWC Series เป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 5 ทั้ง 5 กองทุน ประกอบด้วย
(1) กองทุนเปิดกรุงไทย World Class Income (KTWC-INCOME) เป็นกองทุนที่มีกลยุทธ์เน้นสร้างกระแสรายได้จากแหล่งที่มาที่มีความหลากหลาย เน้นการกระจายการลงทุนในตราสารหนี้ประเภทต่างๆ ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม จะกำหนดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่เกิน 30% ของ NAV
(2) กองทุนเปิดกรุงไทย World Class Defensive (KTWC-DEFENSIVE) เป็นกองทุนที่มีกรอบการลงทุนเฉลี่ยระยะยาวในตราสารหนี้ 85% หุ้น 15% เหมาะกับผู้ลงทุนที่รับความผันผวนได้ไม่มาก แต่ต้องการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนสูงกว่าเงินเฟ้อ
(3) กองทุนเปิดกรุงไทย World Class Moderate (KTWC-MODERATE) มีกรอบการลงทุนเฉลี่ยระยะยาวในตราสารหนี้ 50% หุ้น 50% เหมาะกับผู้ลงทุนที่รับความผันผวนได้บ้าง เน้นการเติบโตของเงินลงทุน และต้องการกระจายการลงทุน
(4) กองทุนเปิดกรุงไทย World Class Moderate เพื่อการเลี้ยงชีพ (KTWC-MODERATE RMF) เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี และ
(5) กองทุนเปิดกรุงไทย World Class Growth (KTWC-GROWTH) มีกรอบการลงทุนเฉลี่ยระยะยาวในตราสารหนี้ 20% หุ้น 80% เหมาะกับผู้ลงทุนที่รับความผันผวนได้ และต้องการโอกาสสร้างผลตอบแทนได้สูงขึ้น
ทั้งนี้ กลยุทธ์และสัดส่วนการลงทุนในกลุ่มกองทุน KTWC Series สามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยขึ้นอยู่กับดุลพินิจของทางผู้จัดการกองทุน (ที่มา: KTAM และ Fidelity International ข้อมูล ณ วันที่ 14 ก.ค. 2566)
“ปัจจัยต่างๆ ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันยังคงมีความผันผวนและส่งผลกระทบต่อการลงทุน อาทิ แนวโน้มการปรับดอกเบี้ยของ Fed สงครามอิสราเอล-อิหร่าน หรือแม้กระทั่งการเมืองภายในประเทศ ซึ่งเหล่านี้ยังคงสร้างความผันผวนในระยะยาว ดังนั้น การลงทุนในกองทุนรวมผสมที่มีรูปแบบกระจายความเสี่ยง จึงเป็นโอกาสในการสร้างผลตอบแทนและลดความเสี่ยงได้มากกว่าการเน้นลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่ง เนื่องจากกองทุนผสมได้เปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้าถึงสินทรัพย์ที่หลากหลาย ทั้งยังสามารถปรับสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ได้ตามสภาวะตลาด ทำให้มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวแม้ในช่วงที่ตลาดผันผวน นอกจากนี้ การที่กองทุนผสมมีให้เลือกลงทุนในหลายสินทรัพย์ตามความต้องการและความเสี่ยงที่รับได้ของผู้ลงทุนจึงเหมาะกับผู้ลงทุนทุกระดับ เพียงพิจารณาเป้าหมาย และระยะเวลาการลงทุนเพื่อเลือกกองทุนผสมที่เหมาะสมกับตัวเอง” นางชวินดา กล่าว
ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลและขอรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการได้ที่ บลจ.กรุงไทย โทร. 0-2686-6100 กด 9 และธนาคารกรุงไทย หรือศึกษารายละเอียดได้ที่ www.ktam.co.th สนใจเปิดบัญชีผ่านแอปพลิเคชั่น KTAM Smart Trade ได้ที่ https://bit.ly/KTSTSignIn
ปัจจัยความเสี่ยงของกองทุน KTWC Series ที่สำคัญ : ความเสี่ยงทางตลาด ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของหลักทรัพย์ ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน ความเสี่ยงจากข้อจำกัดการนำเงินลงทุนกลับประเทศ ความเสี่ยงจากการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยง ความเสี่ยงจากการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ความเสี่ยงในเรื่องคู่สัญญาในการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และความเสี่ยงของการลงทุนในตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง
*คำเตือน กองทุนมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ / ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุนชนิดเพื่อการออม หรือกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ หากลงทุนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด อาจต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีและเสียเงินเพิ่ม*