โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

“ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์” 3 องค์ประกอบหน้าบันวัด-วังไทย มาจากไหน?

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา
หน้าบันพระอุโบสถ มีองค์ประกอบครบทั้ง ช่อฟ้า ใบระกา และหางหงศ์ ตามขนบศิลปกรรมไทย (ภาพโดย ติ๊ก แสนบุญ)

“ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์” ของ “หน้าบัน” ในสถาปัตยกรรมกลุ่มวัด-วังไทยคืออะไร มาจากไหน ทำไมศักดิ์สิทธิ์จนคนโบราณห้ามใช้กับอาคารสามัญชน ?

ไมเคิล ไรท์ เล่าถึงประเด็นนี้ไว้ในบทความ “ช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์มาจากไหน ?”ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤษภาคม 2535 โดยชี้ว่า “หน้าบัน” ไทย เป็นพี่-น้อง (Analageous to) หรือสืบทอดมาจาก “โคปุรัม” ในอินเดียใต้

ข้อสรุปดังกล่าวสร้างความฉงนงงงวยให้คนทั่วไปที่มองไปยังโคปุรัม แล้วย้อนกลับมาดูหน้าบันไทยอีกรอบ เพราะคำถามแรกที่นึกได้คงเป็น “คล้ายกันตรงไหน?”

ไรท์ได้แจกแจงให้เห็นความเชื่อมโยงอย่างมีนัยสำคัญขององค์ประกอบประจำสถาปัตยกรรมแบบจารีตของทั้ง 2 ดินแดนว่าเกี่ยวโยงกันจริง ๆ ไม่ใช่การจับแพะชนแกะ

ข้อสังเกตสำคัญอยู่ที่ยอดโคปุรัมของอินเดียซึ่งเรียกว่า หลังคาถังไม้ (Barrel Vault) หรือที่ไรท์เรียก “ท้องเรือคว่ำ”หากสังเกตดี ๆ จะมีเกียรติมุข (หน้ากาล) อยู่บนยอด มีหางเป็นมกร ตรงนี้เองที่เทียบได้กับ “ช่อฟ้า” กับ “หางหงส์” ของหน้าบันไทย

ไรท์อธิบายว่า สันหลังคาท้องเรือคว่ำของโคปุรัมจะมี “งอน” เหมือนช่อฟ้า และเป็นที่แขวนเกียรติมุข ซึ่งอินเดียพัฒนาบทบาทของเกียรติมุขให้ใหญ่เป็นพิเศษ แต่ลดบทบาทของงอนให้เตี้ยป้อมจนสังเกตแทบไม่เห็น ขณะที่ช่างสยามทำสิ่งตรงข้าม คือพัฒนาให้งอนสูงชะลูดจนกลายเป็นช่อฟ้า ส่วนเกียรติมุขลดบทบาทลงจนเป็นแค่ “อก” ของช่อฟ้า

“เกียรติมุขของอินเดียสับสนจนไม่มีใครรู้ว่าเป็นหัวใครหรือหัวอะไร เพราะนอกจากจะเป็นหัวราชสีห์ (สัญลักษณ์ของพระอาทิตย์) มันยังเป็นหัวตัวบูชายัญที่ถูกเปลี่ยนจากคน (ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์) มาเป็นสัตว์อื่น ๆ ในภายหลัง แต่ยังศักดิ์สิทธิ์มากจนทุกวันนี้”

ความศักดิ์สิทธิ์ข้างต้นส่งทอดมายังหน้าบันไทย แม้เกียรติมุขจะถูกซ่อนเร้น แต่โดยจารีตจะอนุญาตให้มีหน้าบันเฉพาะในวัดหรือวังเท่านั้น

ก่อนจะไปดูหางหงส์ แวะมาดูใบระกากันก่อน เพราะค่อนข้างตรงไปตรงมา คือมีเหมือนกันทั้งไทยและอินเดีย ส่วนจะสื่อถึงสายรุ้ง สายฝน หรือพญานาค ก็ไม่ขัดแย้งอะไร ล้วนข้องเกี่ยวกัน

ความหมายคือ “เจ้าพ่อฟ้า” สมสู่ “เจ้าแม่ดิน” ด้วยสายฝน (เกิดรุ้งกินน้ำ) ทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ และนาคก็เป็นส่วนหนึ่งของนาฏกรรมทางธรรมชาตินี้ด้วย เพราะนอกจากจะเป็นเจ้าบาดาลแล้ว คนโบราณยังเชื่อว่าฟ้าแลบคือการเต้นรำบนฟ้าของพญานาค

คติทั้งหมดมีร่วมกันทั้งในไทยและอินเดีย จึงไม่เป็นปัญหาใด ๆ

สุดท้ายคือหางหงส์ ซึ่งดูผิวเผินน่าจะพัฒนามาจาก “หัวนาค” ที่หันหน้าออกในหน้าบันปราสาทขอม แต่จะเป็นหัวนาคหรือไม่ก็ตาม ประเด็นอยู่ที่ทำไมช่างสยามเรียกมันว่า “หางหงส์”

ไรท์ยืนยันว่า หางหงส์ของไทยเกี่ยวกับหางมกรของอินเดียใต้แน่ เพราะตามปรัมปราแล้วมกรคือสัตว์ผสม งวงเหมือนช้าง ปากและตาของจระเข้ ขาอย่างราชสีห์ และ หางอย่างหงส์

“ดังนั้นแม้ ‘หางหงส์’ ของไทยอาจจะพัฒนามาจากหัวนาคเขมรก็จริง แต่ในสายตาสถาปนิกไทยมันยังเป็น ‘หางหงส์’ ตรงกับหางหงส์ของมกรในศิลปะอินเดียใต้”

ไมเคิล ไรท์ จึงสรุปว่า หน้าบันวัดและวังของไทย อันประกอบด้วย ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ สัมพันธ์ใกล้ชิดกับหน้าบันหลังคาท้องเรือคว่ำของโคปุรัมในอินเดียใต้ ในส่วนวิวัฒนาการของสิ่งเหล่านี้จากอินเดียใต้สู่อุษาคเนย์ ขอให้ติดตามอ่านในโอกาสต่อไป

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 4 กรกฎาคม 2568

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : “ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์” 3 องค์ประกอบหน้าบันวัด-วังไทย มาจากไหน?

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.silpa-mag.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ศิลปวัฒนธรรม

"ครับ-ค่ะ" เริ่มใช้เมื่อใด ส่องการปรับ "ภาสาไทย" ฉบับจอมพล ป. เพื่อความเป็น "ไทย" ?

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“วัดจีนประชาสโมสร” (เล่งฮกยี่) วัดบนท้องมังกร ที่รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จฯ เยือน

8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

TaylorMade เปิดตัวคอลเล็กชั่น Spring/Summer 2025

เดลินิวส์

ร่วมเปิดตำนานบทใหม่ของแฟรนไชส์หนังไดโนเสาร์สุดยิ่งใหญ่ ดู “Jurassic World: Rebirth (จูราสสิคเวิลด์: การเกิดใหม่)” ที่ SF

Insight Daily

กองบิน 1 เชิญชวนสักการะ “พระบรมสารีริกธาตุองค์ปฐม-พระบรมสารีริกธาตุ” เสริมสิริมงคลสูงล้น

Manager Online

CTC 2025 ชวนเจาะลึก และอัปเกรดธุรกิจ ให้ก้าวนำในทุกมิติจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

มังคุด ผลไม้ฤทธิ์เย็น หวานชื่นใจ แต่ใครต้องกินอย่างระวัง

Thai PBS

อยากมีอินเนอร์ต้องทำอย่างไร วิธีพัฒนาตัวเองให้เปล่งประกายจากข้างใน

sanook.com

LYKN ปล่อยซิงเกิล น้ำหยดลงหิน (DRIP) ที่มี URBOYTJ มานั่งแท่นโปรดิวเซอร์

THE STANDARD

This page is intentionally left ___. ภาษา อำนาจ และประชาชน นิทรรศการศิลปะเชิงพื้นที่ จากจุดตั้งต้นของ ‘พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย’ ที่เขียนในคุกตะรุเตา สู่การตั้งคำถามถึงประวัติศาสตร์ซึ่งสะท้อนมาถึงปัจจุบัน โดยกลุ่ม ‘ยุงลายคอลเลคทีฟ’

Mirror Thailand

ข่าวและบทความยอดนิยม

“ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์” 3 องค์ประกอบหน้าบันวัด-วังไทย มาจากไหน?

ศิลปวัฒนธรรม

"ครับ-ค่ะ" เริ่มใช้เมื่อใด ส่องการปรับ "ภาสาไทย" ฉบับจอมพล ป. เพื่อความเป็น "ไทย" ?

ศิลปวัฒนธรรม

“วัดจีนประชาสโมสร” (เล่งฮกยี่) วัดบนท้องมังกร ที่รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จฯ เยือน

ศิลปวัฒนธรรม
ดูเพิ่ม
Loading...