โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

การค้นพบ “พระนิรันตราย” พระพุทธรูปทองคำกว่าร้อยปีก่อน สู่นามมงคลว่า “ปราศจากอันตราย”

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 21 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว
พระพุทธรูปทองคำจากเมืองศรีมโหสถ นามมงคลว่า พระนิรันตราย

พระนิรันตราย พระพุทธรูปทองคำกว่าร้อยปีก่อน สู่นามมงคลว่า “ปราศจากอันตราย”

พระนิรันตราย เป็นพระพุทธรูปทองคำ มีการค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2399 ตามประวัติกล่าวไว้ว่า กำนันอิน ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่แขวงเมืองปราจีนบุรี ท่านฝันว่าจับช้างเผือกได้ หลังจากนั้นไม่นาน ท่านกับบุตรชายชื่อนายยัง เดินทางเข้าป่าเพื่อขุดมันนกในบริเวณชายป่า ห่างจากดงศรีมหาโพธิ์ประมาณ 3 เส้น (เป็นเขตเมืองศรีมโหสถ) ก็ได้ขุดพบพระพุทธรูปหล่อด้วยทองคำ เนื้อหก น้ำหนัก 7 ตำลึง 11 สลึง หนักประมาณ 32 บาท ขุดพบเมื่อ พ.ศ. 2399

ศิลปะเป็นแบบนั่งขัดสมาธิเพชร พุทธศิลปะแบบทวารวดี หน้าตัก 3 นิ้ว สูง 4 นิ้ว

กำนันอินจึงนำไปมอบให้พระเกรียงไกรกระบวนยุทธ์ ปลัดเมืองฉะเชิงเทรา พระเกรียงไกรฯ จึงได้พากำนันอินและนายยังเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระพุทธรูปทองคำ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ว่า สองพ่อลูกมีกตัญญูต่อพระพุทธศาสนาและพระเจ้าแผ่นดิน ขุดได้พระทองคำแล้วไม่ทำลาย หรือซื้อขายเป็นประโยชน์ส่วนตัว แล้วยังมีน้ำใจนำมาทูลเกล้าฯ ถวาย

พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดฯ พระราชทานเงินตราให้เป็นรางวัล 7 ชั่ง (560 บาท) แล้วมีพระบรมราชโองการดำริให้ช่างทำฐานเงินกะไหล่ทองประดิษฐานไว้

แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานไว้ ณ หอพระบนพระที่นั่งภาณุมาศจำรูญ รวมกับพระพุทธรูปสำคัญอีก 7 องค์ ในพระอภิเนาว์นิเวศน์ที่สร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2402

ต่อมา พ.ศ. 2403 เกิดมีขโมยได้มาลักเอาพระกริ่งทองคำองค์น้อยไปถึงในหอพระ แทนที่จะลักพระพุทธรูปทองคำองค์ใหญ่กว่า และอยู่คู่กัน ทรงพระราชดำริว่าเป็นการบังเอิญแคล้วคลาดถึง 2 ครั้ง นับจากครั้งแรกที่มีผู้ขุดได้ก็อุตส่าห์นำมาถวายไม่นำไปเป็นของตนถือเป็นอัศจรรย์

พระองค์จึงได้ถวายพระนามพระพุทธรูปทองคำจากเมืองศรีมโหสถว่า “พระนิรันตราย” อันมีความหมายว่า ปราศจากอันตราย แล้วสร้างพระพุทธรูปองค์ใหม่ครอบไว้ ปัจจุบันประดิษฐาน ณ หอพระสุราลัยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

หมายเหตุ :

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจากเพจ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 4 มิถุนายน 2562

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : การค้นพบ “พระนิรันตราย” พระพุทธรูปทองคำกว่าร้อยปีก่อน สู่นามมงคลว่า “ปราศจากอันตราย”

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.silpa-mag.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ศิลปวัฒนธรรม

พระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์ 12 องค์ ในพระอุโบสถ วัดพระแก้ว แทนกษัตริย์และเจ้านายองค์ใดบ้าง?

22 นาทีที่แล้ว

26 กรกฎาคม 1956 อียิปต์ยึด “คลองสุเอซ” คืนจาก “อังกฤษ-ฝรั่งเศส”

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“เฉลว” เครื่องรางขับไล่ภูตผี มรดกความเชื่อโบราณกลุ่มชนคนไท

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“ดับบาวาลา” อาชีพส่งปิ่นโตในเมืองมุมไบ เก่าแก่กว่า 130 ปี ส่งแม่น ส่งไว ติดอันดับโลก

7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

พระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์ 12 องค์ ในพระอุโบสถ วัดพระแก้ว แทนกษัตริย์และเจ้านายองค์ใดบ้าง?

ศิลปวัฒนธรรม

ประกันสังคมเปิดมาตรการช่วยเหลือผู้ประกันตนที่ประสบภัยจากเหตุปะทะชายแดนไทย-กัมพูชา

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

6 อาหารเช้าเอาใจหนุ่มสายฟิต เปลี่ยนวันธรรมดาให้เฟิร์มขึ้นได้อย่างง่ายๆ

sanook.com

ถ้ำทองพรรณรา...ประทับใจเมื่อได้เห็น

กรุงเทพธุรกิจ

พระซุ้มนครโกษา จังหวัดลพบุรี

สยามรัฐ

‘ลำไย’ อินทรีย์ สวนนิเวศเกษตร สู่ อาหารไฟน์ไดนิ่งสุดสร้างสรรค์

กรุงเทพธุรกิจ

บอลวันนี้ ดูบอลสด ถ่ายทอดสด โปรแกรมฟุตบอล วันเสาร์ที่ 26 ก.ค. 68

PostToday

ราดหน้ายอดผัก ‘อภิโภชน์’ สูตรต้นตำรับ 50 ปี ของอร่อยซอยมัยลาภ

กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

“สุสานหิ่งห้อย” จากเรื่องจริง สู่ภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่เล่าถึงโศกนาฎกรรมในสงคราม

ศิลปวัฒนธรรม

“วัดชัยชนะสงคราม” เจ้าพระยาบดินทรเดชา ขุนพลคู่พระทัยรัชกาลที่ 3 สร้างเพราะชนะสงครามอะไร?

ศิลปวัฒนธรรม

เทียนถาน ที่ที่โอรสสวรรค์วอนขอกับฟ้า ในยามบ้านเมืองเกิดเภทภัย

ศิลปวัฒนธรรม
ดูเพิ่ม
Loading...