โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

KKP เผย 7 ข้อผิดพลาดเรื่องเงินที่คนไทยหลายคนมักทำพลาดคล้ายกัน จนกระทบต่อวัยเกษียณ

THE STANDARD

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • thestandard.co
KKP เผย 7 ข้อผิดพลาดเรื่องเงินที่คนไทยหลายคนมักทำพลาดคล้ายกัน จนกระทบต่อวัยเกษียณ

‘Failing to plan is planning to fail’ หนึ่งในประโยคที่เรามักจะได้ยินกันบ่อยครั้งเพื่อย้ำเตือนถึงความสำคัญของการวางแผน ซึ่งการวางแผนทางการเงินก็เป็นหนึ่งในนั้น เพราะหากเราขาดการวางแผนที่ดี ผลลัพธ์ในอนาคตก็มักจะออกมาในทางที่ไม่ดีนัก

“การวางแผนการเงินคือการออกแบบชีวิตว่าอยากได้ชีวิตแบบไหน แล้วการเงินจะช่วยเราได้อย่างไร แต่ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่ความไม่แน่นอนสูงมาก ทำให้หลายคนมองข้ามการวางแผนการเงิน และโฟกัสที่การหารายได้เพียงอย่างเดียว แต่ยิ่งมีความไม่แน่นอนสูง เราต้องยิ่งจริงจังกับการวางแผนการเงินมากขึ้น เพราะนี่คือส่วนที่เราควบคุมได้” ดร.ณชา อนันต์โชติกุล หัวหน้าฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์เงินฝาก ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP) กล่าวถึงความสำคัญของการวางแผนทางการเงินที่ยิ่งสำคัญมากขึ้นไปอีกในภาวะเศรษฐกิจไทยที่ไม่แน่นอนสูง

ดร.ณชากล่าวต่อว่า หากมองย้อนกลับไปตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ทั้งตลาดหุ้นไทยและเศรษฐกิจไทยเป็นขาลงมาตลอด อย่างหุ้นไทยช่วง 10 ปีแรกของ 20 ปีที่ผ่านมา โตเฉลี่ย 10-15% ต่อ 10 ปีล่าสุด โตเพียง 0-5% ซึ่งกระทบต่อชีวิตคนแน่นอน ขณะที่เศรษฐกิจขาลงก็ทำให้รายได้อาจจะไม่เท่าเดิม มีคนถูกเลิกจ้างมากขึ้น

“ปริมาณคนที่ถูกเลิกจ้างเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มา 7 เดือนติดต่อกัน และเดือนล่าสุดก็มีคนถูกเลิกจ้างมากขึ้น 16% จากปีก่อน”

7 ข้อผิดพลาดการเงินที่หลายคนทำเหมือนกัน

1. ไม่วางแผนการเงิน และไม่รู้ว่าสำคัญ

คนไทยในภาพรวมที่คิดวางแผนการเงินมีสัดส่วน 66% อาจไม่ได้น้อยมาก แต่ผู้ที่ทำได้ตามแผนมีเพียง 16% ขณะที่คนรุ่น Baby Boomer ซึ่งเป็นวัยเกษียณ ซึ่งควรจะทำตามแผนการเงินได้สำเร็จเป็นส่วนใหญ่ กลับมีเพียง 20% ที่ทำได้ตามแผน นอกจากนี้ มีคนไทยเพียงแค่ 30% ที่มีเงินเพียงพอจะเกษียณ

2. วางแผนเกษียณตอนใกล้เกษียณ

การเริ่มวางแผนเร็วได้เปรียบกว่ามาก เพราะเราจะมีเวลาค่อนข้างมากที่จะมีรายรับเข้ามาเพิ่มเติม หากเริ่มวางแผนเกษียณช่วงใกล้เกษียณ เราจะต้องเก็บเงินก้อนใหญ่มาก ในขณะที่รับความเสี่ยงได้น้อยลง

หนึ่งในตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การเก็บเงินเพื่อลงทุนเดือนละ 5,000 บาท ได้ผลตอบแทน 7% ต่อปี หากมีเวลา 30 ปี เงินก้อนนี้จะกลายเป็น 5.89 ล้านบาท แต่ถ้ามีเวลา 10 ปี เราจะมีเงินเพียง 8.7 แสนบาท

3. ไม่คำนึงถึงความไม่แน่นอนของรายได้

ในภาวะที่เศรษฐกิจไม่แน่นอน หลายคนอาจยังคาดหวังว่าจะมีรายได้เท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้นไปตลอด สิ่งที่ต้องระวังคือในอนาคตรายได้อาจลดลงได้จากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด

4. มีหลักประกันเพียงพอ

อีกส่วนที่หลายคนมองข้ามคือประกัน เมื่อประสบปัญหาสุขภาพอาจกระทบต่อเงินออม หรือแม้แต่แผนที่วางไว้ทั้งหมด ทำให้เราถูกบังคับให้ต้องนำเงินออมหรือเงินลงทุนไปใช้จ่ายแทน ประกันเป็นการลดความเสี่ยงที่โอกาสจะเกิดน้อยแต่หากเกิดขึ้นมาจะมีความเสียหายมาก ปัจจุบันคนไทยที่มีประกันชีวิตมีสัดส่วนไม่ถึง 40%

5. ไม่คำนึงถึงเงินเฟ้อ

เงินเฟ้อที่ว่านี้ไม่ใช่แค่ตัวเลขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศในแต่ละไตรมาส แต่เป็นเงินเฟ้อที่อิงจากการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคลด้วย อย่างกลุ่มที่ส่งลูกเรียนโรงเรียนนานาชาติ ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 5% หรือค่ารักษาพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนที่เพิ่มขึ้นปีละ 8-9%

ถามว่าเงินเฟ้อส่งผลต่อเงินออมของเราอย่างไร สมมติว่าเราวางแผนจะมีเงินใช้จ่าย 30,000 บาทต่อเดือน ไปอีก 25 ปี หลังจากเกษียณเมื่ออายุ 60 ปี ต้องมีเงินเก็บ 9 ล้านบาท แต่หากคำนวณเงินเฟ้อ 3% ต่อปีเข้าไปด้วย จะต้องมีเงินเก็บ 18.8 ล้านบาท

6. ไม่ลงทุนเลย

หลายคนมองว่าการไม่ลงทุนเท่ากับไม่เสี่ยง ซึ่งไม่จริง เพราะระยะยาวค่าครองชีพจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้อำนาจการซื้อของเงินลดลง จึงต้องบริหารเงินเพื่อเอาชนะเงินเฟ้อให้ได้

7. ไม่กระจายความเสี่ยง

บางส่วนอาจจะลงทุนแบบกระจุกตัวมากเกินไป หรือเสี่ยงมากเกินไป ทำให้แผนระยะยาวถูกกระทบเมื่อภาวะตลาดไม่เป็นใจ

ทำไมการวางแผนการเงินยิ่งสำคัญ

ดร.ณชากล่าวว่า ภายใต้สิ่งที่ควบคุมไม่ได้ เราต้องโฟกัสในสิ่งที่เราควบคุมได้ในวันนี้ คือเรื่องการควบคุมรายจ่าย เพิ่มสัดส่วนการออม การกระจายการลงทุน การซื้อประกัน หรือแม้แต่การดูแลสุขภาพร่างกายของเรา

“การออกแบบชีวิตหรืออนาคตอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่การวางแผนการเงิน เป็นการดึงอนาคตมาลงมือทำตั้งแต่วันนี้ ไม่ปล่อยให้อนาคตเป็นเรื่องของชะตากรรม ไม่ปล่อยให้เป็นเรื่องที่ควบคุมไม่ได้”

ภายใต้ภาวะการลงทุนที่ซบเซาหากไม่วางแผนการเงินการลงทุนระยะยาว เราอาจจะมองแค่ระยะสั้นเกินไป และตอบสนองต่อปัจจัยและเป้าหมายระยะสั้นเท่านั้นจนส่งผลเสียระยะยาว อย่างเช่น การหยุดลงทุนบางครั้งทำให้เสียโอกาส

การวางแผนการเงินที่ดีจะช่วยให้ชีวิตดีขึ้น 5 ด้าน

  • ตระหนักรู้ก่อนว่าเราต้องการอะไร เป้าหมายคืออะไร
  • มีความพร้อมสำหรับเหตุไม่คาดฝัน
  • ช่วยสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว ด้วยวินัยและความสม่ำเสมอ
  • ช่วยลดความเครียดและความกังวล
  • ช่วยให้การตัดสินใจเกี่ยวกับเงินดีขึ้น หากไม่มีกรอบว่าทำเพื่ออะไร เราจะตัดสินใจไปตามอารมณ์ความรู้สึกในตอนนั้น

ภาพ:Peter Cade / Getty Images

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก THE STANDARD

พิชัย ตั้งเป้าได้อัตราภาษีใกล้เคียงภูมิภาค พร้อมจับตาเงื่อนไข Transshipment วางแผนเพิ่มขีดความสามารถกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ

17 นาทีที่แล้ว

Topshop และ Topman จะกลับมาจัดแฟชั่นโชว์อีกครั้งในรอบ 7 ปี หลังการรีแบรนด์ใหม่

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

แพทองธารเยี่ยมให้กำลังใจ 3 ทหารบาดเจ็บเหตุระเบิด เผยกำลังใจดี ยังห่วงทีมในพื้นที่ บอกภูมิใจได้รับใช้ชาติ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

พิชัยเผย ผลการเจรจา USTR เชื่อสหรัฐฯ ‘พอใจ’ กับข้อเสนอที่ปรับปรุงเพิ่มไป ไทยได้ทำ ‘Stress Test’ ภาคธุรกิจ-เกษตรกรรมแล้ว

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

วิดีโอ

สิริพงศ์ ภูมิใจไทย โต้กลับทักษิณ ปมถูกพาดพิง “เป็นเขมรหรือไม่” ชี้ นายกฯ ยังเรียก Uncle

BRIGHTTV.CO.TH

ศบ.ทก. ไทยเตรียมประท้วง หากกัมพูชาวางทุ่นระเบิดใหม่

สำนักข่าวไทย Online

ทำไมคดีสุดฉาวและการเสียชีวิตของ ‘เจฟฟรีย์ เอปสตีน’ กำลังทำให้ฐานเสียงสำคัญของทรัมป์สั่นคลอน?

The MATTER

43 จังหวัด เช็กด่วน! เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าหลาก ดินโคลนถล่ม 19 - 24 ก.ค.

TNN ช่อง16

ทีมเดวิสคัพไทย ชนะ ซาอุดีอาระเบีย 3-0 คู่ ทะลุรอบชิงฯ

สำนักข่าวไทย Online

ทบ ปูนบำเหน็จพิเศษ 7 ชั้น ให้ พลทหาร ธนพัฒน์ เหตุเหยียบกับระเบิด บาดเจ็บข้อเท้าซ้ายขาด

JS100

หวิดวอด! เพลิงลุกห้องเครื่องรถ กลางถนนพัทยา

THE PATTAYA NEWS

ผงะ! ตึกรัฐทิ้งร้างทั่วประเทศ สูญงบนับแสนล้านบาท

ไทยโพสต์

ข่าวและบทความยอดนิยม

หุ้นไทยพุ่ง 40.48 จุด ปิดตลาดเฉียด 1,200 จุด ปรับขึ้นในวันเดียว ร้อนแรงสุดในรอบกว่า 2 ปี

THE STANDARD

Bitget มองเป้าหมาย Bitcoin ที่ 150,000 ดอลลาร์ ภายในไตรมาส 3/68 จากแรงซื้อของนักลงทุนสถาบัน

THE STANDARD

ไทยเตรียมยกเครื่องแนวทางกำกับอุตสาหกรรมการเงินครั้งใหญ่ หวังเป็นศูนย์กลางการเงิน หลังครม.ดัน พ.ร.บ. Financial Hub เข้าสภา

THE STANDARD
ดูเพิ่ม
Loading...