โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

Mobility Data เปลี่ยนเมืองรองเป็น ‘เมืองน่าเที่ยว’ สร้างรายได้จากรากวัฒนธรรม

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 1 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว

ก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 การท่องเที่ยวไทยมีสัดส่วนรายได้สูงถึง 19% ต่อจีดีพี และมีนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงถึงเกือบ 40 ล้านคนต่อปี แต่หลังโรคระบาดผ่านไป อัตราการฟื้นตัวของไทยกลับยัง “ติดลบ” อยู่ที่ -12%

ขณะที่เพื่อนบ้านอย่างญี่ปุ่น เวียดนาม อินโดนีเซีย หรือสิงคโปร์ ต่างพัฒนาแนวทางการท่องเที่ยวใหม่ที่เน้นคุณค่าและความหมาย ไม่ใช่ปริมาณนักท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว

ภาวะ over-tourism ที่ทำลายสมดุลของเมืองใหญ่ เป็นปัญหาที่หลายประเทศเริ่มตระหนัก และหันไปสู่การกระจายนักท่องเที่ยวออกสู่เมืองรองหรือชุมชน แต่คำถามคือ การกระจายแบบไหนที่ไม่ใช่แค่ผลักคนไปที่อื่นโดยไม่มีระบบรองรับ?

ดังนั้น ภาคีเครือข่ายจากภาครัฐ สถาบันวิชาการ และภาคเอกชน นำโดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น และสตาร์ตอัป Cloud and Ground จึงร่วมแก้ปัญหาเพื่อฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวไทย ผ่าน “Mobility Data” หรือข้อมูลพฤติกรรมการเดินทางของประชาชนที่ได้จากการใช้งานโทรศัพท์มือถือ

Cluster Tourism: ปรับภูมิศาสตร์สู่เศรษฐกิจใหม่

Mobility Data ตั้งอยู่บนแนวคิด “Cluster Tourism” หรือการท่องเที่ยวแบบกลุ่มพื้นที่ ซึ่งนำข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) มาวิเคราะห์รูปแบบการเดินทางของผู้คนกว่า 500 ล้านทริปในช่วงปี 2566 - 2567 เพื่อระบุเส้นทางท่องเที่ยวที่มีอยู่แล้วในชีวิตจริง จากนั้นนำมาพัฒนาเป็นเส้นทางส่งเสริมเศรษฐกิจในชื่อ Routes to Roots หรือ “เส้นทางสู่ราก” ที่เน้นความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ และพฤติกรรมผู้คน

โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) ซึ่งถือเป็นก้าวแรกของการใช้ข้อมูลทางเทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนวิธีคิดและการจัดการนโยบายด้านการท่องเที่ยว ที่ผ่านมาอาศัยเพียงมุมมองจากบนลงล่าง การกำหนดเส้นทางหรือกิจกรรมท่องเที่ยวมักไม่สอดคล้องกับชีวิตจริงของผู้คนในพื้นที่ และไม่สามารถกระจายผลประโยชน์ได้อย่างเป็นธรรม

นี่จึงไม่ใช่การกำหนดเส้นทางจากบนโต๊ะ แต่เป็นการมองเส้นทางจาก “พฤติกรรมจริงของผู้คน” แล้วเสริมคุณค่าให้กลายเป็น Cluster Tourism หรือ “การท่องเที่ยวแบบคลัสเตอร์” ที่แต่ละเมืองในเส้นทางต่างมีบทบาทชัดเจน ทั้งเมืองศูนย์กลาง เมืองบริวาร และเมืองเสริม

21 คลัสเตอร์ท่องเที่ยว

จากข้อมูล Mobility Data ของทรู คอร์ปอเรชั่น พบว่า มีอย่างน้อย 21 กลุ่มเส้นทางที่ผู้คนมักเดินทางเชื่อมต่อกันอยู่แล้ว เช่น เชียงใหม่-ลำปาง-ลำพูน, เพชรบุรี-ประจวบฯ-สมุทรสาคร-สมุทรสงคราม, ขอนแก่น-ชัยภูมิ เป็นต้น

โดยแต่ละกลุ่มประกอบด้วย “เมืองศูนย์กลาง” “เมืองบริวาร” และ “เมืองส่งเสริมพิเศษ” ที่สามารถออกแบบนโยบายแบบเฉพาะพื้นที่ เพื่อพัฒนาศักยภาพร่วมกันได้

เงื่อนไขสำคัญในการทำให้คลัสเตอร์เกิดขึ้นจริง มีอยู่ 5 ข้อ ได้แก่

  • ต้องมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีอัตลักษณ์
  • มีกลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมายที่ชัดเจน
  • เห็นบทบาทของแต่ละจังหวัดในเครือข่าย
  • ต้องจัดการกับความหนาแน่นหรือผลกระทบจากนักท่องเที่ยว
  • สามารถต่อยอดและกระจายสู่พื้นที่ใหม่ได้

‘Routes to Roots’ รากวัฒนธรรมคือทุนของชุมชน

การออกแบบ 6 เส้นทางนำร่องของโครงการ Routes to Roots โดย The Cloud ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงจุดเช็กอิน แต่เน้น “เรื่องเล่า” และ “รากวัฒนธรรม” ที่เชื่อมโยงการเดินทางเข้ากับความเข้าใจพื้นที่ แบ่งออกเป็น

  • Food Route (จันทบุรี-ตราด): อาหารพื้นบ้านที่เกิดจากวัตถุดิบเฉพาะถิ่น เช่น เร่ว กระทือ ขิงแก่
  • Volcano Route (บุรีรัมย์-สุรินทร์-ศรีสะเกษ): วัฒนธรรมบนเส้นทางภูเขาไฟเก่าแก่
  • Flavor Route (สมุทรสาคร-เพชรบุรี-ประจวบฯ): เรียนรู้แหล่งวัตถุดิบครัวไทย เช่น เกลือ น้ำตาลโตนด มะพร้าว
  • Lanna Route (เชียงใหม่-ลำพูน-ลำปาง): ประวัติศาสตร์และเศรษฐกิจล้านนากว่าพันปี
  • Nature Route (นครศรีฯ-พัทลุง): เส้นทางธรรมชาติของภาคใต้
  • River Route (สุพรรณฯ-อุทัยฯ-ชัยนาท): วัฒนธรรมแม่น้ำที่หล่อเลี้ยงวิถีชีวิตชุมชน

แต่ละเส้นทาง ไม่ได้มีเป้าหมายเพียงเพิ่มรายได้หรือยอดนักท่องเที่ยว แต่เพื่อกระจายโอกาสไปยังพื้นที่ที่ไม่เคยได้รับความสนใจ

วิทยาศาสตร์เพื่อคนทั้งประเทศ

ศ.ดร. คมกฤต เล็กสกุล รองผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า โครงการนี้สะท้อนแนวทางใหม่ที่ “วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม” ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือของภาคธุรกิจใหญ่หรือเมืองหลวงเท่านั้น แต่เป็นเครื่องมือที่สามารถขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะในระดับพื้นที่ กระจายอำนาจทางเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนตัวเล็กในระบบเศรษฐกิจ

“วิทยาศาสตร์ไม่ควรเป็นเรื่องของคนกลุ่มเดียว แต่นี่คือตัวอย่างของ SRI for All – วิทยาศาสตร์เพื่อคนทั้งประเทศ” ศ.ดร.คมกฤต กล่าว

ด้านเอกราช ปัญจวีณิน หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านดิจิทัลทรู ระบุว่า ข้อมูลพฤติกรรมของผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือในระดับ aggregate สามารถใช้เพื่อการออกแบบการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน จัดการทรัพยากรการเดินทาง และวางแผนความปลอดภัยได้แม่นยำยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

ดัชนีเชื่อมั่นอสังหาฯไตรมาส 2 วูบต่ำสุดในรอบปีรายย่อยกังวลหนัก

12 นาทีที่แล้ว

ไทยอยากคุยตรงกัมพูชายุติขัดแย้งมากกว่าให้ฝ่ายที่ 3 ไกล่เกลี่ย

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

คาร์บอนฟีเวอร์! อบก. ชี้ตลาดในไทยเติบโต แต่มีข้อจำกัด

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สคช. ระดมความเห็น ทุกอาชีพทั่วไทย จัดทำมาตรฐานอาชีพใหม่ปี 69

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

SONP วอนสื่อยึดจริยธรรม รายงานข่าวชายแดนไทย–กัมพูชา

ข่าวหุ้นธุรกิจ

DELTA เจอภาษีศุลกากร–ตั้งสำรองพุ่ง ฉุดกำไร Q2 หด 29% เหลือ 4.6 พันล้าน

ข่าวหุ้นธุรกิจ

เพราะอะไร iPhone 9 ถึงหายไป? ปริศนาที่ถูกลบออกจากประวัติศาสตร์ Apple

SpringNews

ปณท เปิด “ตู้ปณ.ช่วยผู้ประสบภัยไทย-กัมพูชา” 4 จ.ชายแดน ส่งสิ่งของช่วยเหลือฟรี! วันนี้ - 25 ส.ค. 68

สยามรัฐ

NT พร้อมสนับสนุนระบบสื่อสารในช่วงวิกฤตให้หน่วยงาน ประชาชน ในพื้นที่เสี่ยงชายแดน

สยามรัฐ

“ธปท.” กำชับ “แบงก์” ช่วยลูกหนี้ชายแดน “ไทย-กัมพูชา” ผ่อนจ่าย–วงเงินฉุกเฉิน

ข่าวหุ้นธุรกิจ

ทรูฯห่วงใยลูกค้า-ปชช.บรรเทาภัยชายแดนไทย-กัมพูชา มอบเน็ตฟรี-โทรฟรี รถเสริมทัพสัญญาณศูนย์อพยพฯสนามช้าง จ.บุรีรัมย์

สยามรัฐ

พนง.รถไฟฯสายเหนือ รวมพลังจิตอาสา เฉลิมพระชนมพรรษาในหลวงร.10 วันที่ 28 ก.ค.68 - ส่งกำลังใจให้พี่น้องทหารไทย

สยามรัฐ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...