โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

พระหลวงพ่อหมอ จังหวัดลพบุรี

สยามรัฐ

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สัปดาห์พระเครื่อง / อ.ราม วัชรประดิษฐ์

ผู้บูชาเลื่อมใสสามารถอาราธนาองค์พระลงทำน้ำมนต์พร้อมอธิษฐานจิต เพื่อรักษาโรคที่เป็นอยู่ให้หายขาดได้แทบทุกโรคเหมือนมีหมอตรวจรักษาดูแล

“พระหลวงพ่อหมอ” พระกรุเก่าของดีอีกหนึ่งพิมพ์ของ จ.ลพบุรี มีอายุอยู่ในราว 800 ปี พุทธศิลปะแบบสกุลช่างลังกามาผสมผสานกับศิลปะสกุลช่างขอมเดิมในลพบุรี ซึ่งแตกต่างไปจากพระเครื่องอื่นในสกุลช่างลพบุรี พุทธลักษณะลงตัวสมส่วน มีความสง่างาม และเข้มขลังอยู่ในที จุดน่าสนใจที่สุดอยู่ที่ ขนาดขององค์พระส่วนฐานกว้างประมาณ 7 ซม. และสูงประมาณ 11 ซม. ซึ่งก็พอๆ กับพระบูชาทีเดียว แต่เป็นที่นิยมนำมาเป็นพระเครื่องสำหรับห้อยบูชาโดยส่วนใหญ่

ชื่อ “พระหลวงพ่อหมอ” อาจเรียกขานกันตามพุทธคุณที่ปรากฏเด่นชัด คือด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บชะงักนัก โบร่ำโบราณกล่าวกันว่า “ผู้บูชาเลื่อมใสสามารถอาราธนาองค์พระลงทำน้ำมนต์พร้อมอธิษฐานจิต เพื่อรักษาโรคที่เป็นอยู่ให้หายขาดได้แทบทุกโรคเหมือนมีหมอตรวจรักษาดูแลอยู่ใกล้ๆ ยังไงยังงั้นเลย” จึงใช้เรียกขานกันมาจนถึงปัจจุบัน หรืออีกประการหนึ่งคือ ที่กลางพระหัตถ์ข้างขวามี “วงดอกจัน” ปรากฏชัดเจน อันแสดงถึงพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ซึ่งมีลักษณะกลมคล้ายๆ “เม็ดยา” จึงอาจนำมาเรียกชื่อ “พระหมอ” หรือ “พระหลวงพ่อหมอ” ก็เป็นได้

พุทธลักษณะที่ว่ามีความงามสง่าและเข้มขลังนั้น มาจากพระพักตร์ที่กลมป้อมเอิบอิ่มแฝงไว้ด้วยความคมเข้ม และพระวรกายล่ำสันบึกบึน แลดูอบอุ่นเหมือนมีหมอคอยดูแลจริงๆ องค์พระประทับนั่งลักษณะยืดตรงตามแบบฉบับของพุทธศิลปะลังกา แสดงปางสมาธิ ขอบโดยรอบยกเป็นเส้นซุ้มประภามณฑล พระเกศ จิ่มเป็นปลีวางอยู่บนมุ่นเมาลี มี “ลายกนก” ประกอบบริเวณพระเศียร พระศก ปรากฏเป็นเส้น ลักษณะแบบผมหวี พระเนตร พระนาสิก พระโอษฐ์ ปรากฏชัดเจนและดูเป็นธรรมชาติ พระกรรณยาว ตรงปลายเป็นตุ้มและเชื่อมต่อมาเป็นเส้นพระศอ ต้นพระกรทั้งสองข้าง มีพาหุรัดตกแต่งตามแบบลังกา เส้นจีวรและเส้นสังฆาฏิ เป็นเส้นขีดลึกและคมชัดมาก พระนาภี เป็นหลุมกว้างลึก พระหัตถ์ทั้งสองข้าง วางประสานกันแบบขวาทับซ้าย มีรายละเอียดนิ้วพระหัตถ์ชัดเจน และพระบาททั้งสองข้าง ซ้อนในลักษณะขวาทับซ้าย และมีรายละเอียดนิ้วพระบาทชัดเจน

น่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือ น่าจะเป็นพระพิมพ์ที่หลังจากกดแม่พิมพ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้นำมาตกแต่งรายละเอียดบางอย่างเพิ่มเติมในภายหลัง เพราะถ้าสังเกตจากเส้นจีวรและเส้นสังฆาฏิ ลักษณะจะเหมือนการขีดเขียนมากกว่าการกดพิมพ์ ข้อ

ด้วยพุทธคุณเป็นเลิศปรากฏและพุทธลักษณะที่งามสง่าดังกล่าวมานี้ ทำให้ “พระหลวงพ่อหมอ” เป็นพระที่ได้รับความนิยมและเคารพศรัทธาอย่างมากของชาวจังหวัดลพบุรีและแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่อง สนนราคาก็ถือว่าสูงเอาการทีเดียว เนื่องด้วยเป็นพระที่หายากมาก และของทำเทียมเลียนแบบก็ค่อนข้างยากเสียเวลาและไม่คุ้มค่า เพราะพุทธลักษณะขององค์พระที่มีรายละเอียดต่างๆ มากมายครับผม

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก สยามรัฐ

คปภ. Kick off โครงการ “OIC Be Smart First Jobber ปีที่ 4” ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เสริมทักษะประกันภัย เตรียมพร้อมคนรุ่นใหม่สู่เส้นทางอาชีพอย่างมั่นคง

26 นาทีที่แล้ว

ช็อกแฟนคลับ! "พิกเล็ท" ประกาศเลิก "วิคเตอร์" ยุติรัก 10 ปี เหลือแค่เพื่อนกัน

33 นาทีที่แล้ว

ระทึก! แผ่นดินไหวต่อเนื่องกลางดึกยันเช้าญี่ปุ่น 5 ครั้ง ไต้หวันถูกหางเลข 1 ขณะเมียนมา-อินโดและไทยเงียบกริบ ไม่สั่นไหวจนบัดนี้กว่า 16ชม.

48 นาทีที่แล้ว

แรงงานเร่งเยียวยาเหยื่อไฟไหม้โรงงานสระบุรี จ่ายสิทธิประโยชน์กว่า 16 ล้าน

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

Jurassic World: Rebirth หวนคืนสู่สวนสนุกที่คิดถึง ครบถ้วนทั้งความตื่นเต้น ลุ้นระทึก และรอยยิ้ม

THE STANDARD

Café Amazon เตรียมเปิดตัวพรีเซนเตอร์ใหม่ เขย่าตลาดกาแฟพรีเมียม!

สยามรัฐวาไรตี้

"แผ่นดินไหว" ภัยเดียวที่ยังทำนายล่วงหน้าไม่ได้ แต่เตรียมพร้อมได้

Thai PBS

"เที่ยวไทยคนละครึ่ง" ยังไม่ล่ม แต่ ททท. ขอหยุดปรับปรุงระบบชั่วคราว

Manager Online

ทำความรู้จักน้ำมันกระเทียม ประโยชน์และข้อควรระวังก่อนเลือกใช้

sanook.com

MIND: ยิ่งเล่าเยอะยิ่งรู้จักกันดีจริงหรือ? รู้จัก ‘Floodlighting’ พฤติกรรมแชร์ข้อมูลลงลึกเกินความสัมพันธ์ จนละเลยว่ามันอ่อนไหวและไม่ควรพูด

BrandThink

สอบหลักฐาน สืบหา "พระมเหสี" ในสมเด็จพระนเรศ ที่หลักฐานไทยไม่เคยกล่าวถึง

ศิลปวัฒนธรรม

ร่องรอย "เสือผ่อน" โจรดังสมัย ร.5-7 จากลำตัดเก่าแก่ที่สาบสูญ ชีวิตวัยเด็ก ถึงจุดจบน่าเศร้า

ศิลปวัฒนธรรม

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...