โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

อสังหาริมทรัพย์

อสังหาเสี่ยงวิกฤติหุ้นกู้ แคชโฟลว์ กูรูแนะผนึกมาตรการทางรอด

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 20 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนที่พุ่งทะยานกว่า 90% ของ GDP ในไตรมาส 1/2568 มีหนี้ทั้งสิ้น 16.2 ล้านล้านบาท จำแนกเป็นหนี้บ้านสูง 37.9% หรือราว 6 ล้านล้าน และยังมี NPL จากภาคครัวเรือนกว่า 200,000 ล้านบาท พร้อมหนี้ที่เริ่มผิดนัดกว่า 575,000 ล้านบาท ขณะที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวบางเบา เพียง 2% ในปี 2567 และคาดว่าจะลดลงเหลือ 1.5% ในปี 2568 ยิ่งทำให้สถาบันการเงินหั่นวงเงินผ่อนคลายสินเชื่อที่อยู่อาศัยอย่างระมัดระวัง ตอกย้ำด้วย ดัชนี “Responsible Lending” ส่งผลให้ยอดอนุมัติสินเชื่อหดตัวหนัก

ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ นักวิชาการอิสระด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยและเมือง กล่าวว่า อัตราปฏิเสธสินเชื่อพุ่งกว่า 45% ทำให้ยอดขายที่อยู่อาศัยใหม่ลดลงถึง 20-30% ต่อไตรมาส การโอนกรรมสิทธิ์ลดลง 5-10% ตั้งแต่ไตรมาส 1/2566-1/2568 โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมที่ต้องสร้างก่อนโอน “ยอดขายหด-ผู้ซื้อได้รับอนุมัติน้อย-โอนต่ำ” ส่งผลต่อรายได้และกระแสเงินสดของดีเวลลอปเปอร์อย่างมีนัยสำคัญ

ดีเวลลอปเปอร์ ทั้ง listed และ non-listed เริ่มสะดุดในการชำระหนี้หุ้นกู้ ครึ่งแรกปี 2568 มีรายงานว่า ดีเวลลอปเปอร์รายหนึ่งผิดนัดชำระ 300 ล้านบาท และอีก 5 รายต้องขอเลื่อนหนี้รวม 7,860 ล้านบาท รวมถึงหุ้นกู้ 95,000 ล้านบาทจะครบกำหนดภายในปีนี้ การต่ออายุ (rollover) เป็นไปอย่างยากลำบาก

นั่นคือสัญญาณ “เสือลำบาก” ที่สะท้อนภาวะสภาพคล่องติดลบ ความไม่เชื่อมั่นนักลงทุน และภาระหนี้แบบทวีคูณ หากรับมือไม่ทัน อาจเป็น “ระเบิดเวลาทางเศรษฐกิจ”

ชี้ทางรอด 3 ประสาน มาตรการเชิงรุก

ดร.วิชัย แนะ 6 เรื่องที่ดีเวลลอปเปอร์ควรทำ! ได้แก่ 1.บริหารจัดการ Cash Flow ในระยะสั้น โดยเร่งระบายสินค้าคงคลัง ทุกรูปแบบ เช่น จัดโปรโมชั่น ลดแลกแจกแถม ผ่อนดาวน์ระยะยาว 24-36 เดือน หรือรูปแบบการขาย Rent-to-Own ให้ผู้เช่ามีสิทธิ์ซื้อในอนาคต

2.ทำการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน โดยนำโครงการ/หน่วยที่อยู่อาศัย มัดรวมเป็นกองสินทรัพย์เพื่อนำไปแปลงเป็นทุนในการดำเนินงาน เช่น จัดทำกองทุน REITs เพื่อขายให้กองทุน/นักลงทุนสถาบัน ซึ่งทดแทนการออกหุ้นกู้ได้ในระดับหนึ่ง หรือ นำสินทรัพย์เหล่านี้ใช้ค้ำประกันเปลี่ยนเป็นเงินทุน หรือ ขายที่ดินสำรอง/โครงการที่ไม่มีความจำเป็น หรือ ขายหุ้นในบริษัทย่อยออกเพื่อระดมทุน

3.วางแผนทางการเงินสำหรับการชำระหนี้และดำเนินการอย่างจริงจัง โดยสำรวจ ประเมิน คาดการณ์สถานะทางการเงินแบบ Conservative เพื่อดูความพร้อม หากเห็นว่าไม่มีความพร้อมในการชำระหุ้นกู้รายการใด ก็วางแผนขอขยายระยะเวลาชำระหนี้ (Loan Tenure) หรือ ขอแปลงหนี้เป็นหุ้น (Debt-to-Equity Swap) ทั้งนี้ควรมีการจ่ายดอกเบี้ยปกติในช่วงก่อนครบชำระหนี้หุ้นกู้

4.ลดค่าใช้จ่าย โดยชะลอกิจกรรมของโครงการใหม่ที่ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้างและนำเงินทุนที่มีไปมุ่งโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างให้เสร็จตามกำหนดเพื่อสามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้เงินสดกลับมา

5.วางแผนขยายระยะเวลาชำระคืนหนี้หุ้นกู้ โดยทะยอยปรับเปลี่ยนช่วงเวลาของหนี้จากระยะสั้น 1-2 ปี ให้มีระยะเวลายาวขึ้นเป็น 3-5 ปีขึ้นไป และปรับให้เงินทุนใหม่เป็นดอกเบี้ยแบบลอยตัว ผ่านการออกหุ้นกู้รุ่นใหม่เพื่อจ่ายคืนรุ่นเก่า และ กอง REITs 6.กระจายความเสี่ยงธุรกิจให้มีความหลายด้วยการเพิ่มธุรกิจ Recurring Income

ชงรัฐออก 6 มาตรการหนุน

ขณะที่ภาครัฐควรมีมาตรการดังนี้ 1.ช่วยเหลือด้านสภาพคล่องภาคเอกชน เช่น จัดหา Soft Loan ระยะสั้น 1-3 ปี ในรูปแบบการให้สินเชื่อแบบไม่มีหลักประกัน หรือ แบบมีหลักประกันหนุน (Asset-backed Loan) ผ่านธนาคารรัฐ เช่น ดีเวลลอปเปอร์สามารถนำหน่วยที่อยู่อาศัยที่สร้างเสร็จแล้วเหลือขาย และ Rent to Own เป็นหลักประกันขอรับ Soft Loan ได้ไม่เกิน 50% ของมูลค่าหลักประกัน

2.ช่วยลดภาระด้านต้นทุนด้านภาษีในระยะสั้น โดยการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับหน่วยที่อยู่อาศัยที่ยังขายไม่หมดและสร้างเสร็จเกินระยะเวลา 3 ปี และ ลดภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยมีเงื่อนไขให้ดีเวลลอปเปอร์นำส่วนลดภาษีไปเป็นส่วนลดให้ผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยโดยตรง เพื่อกระตุ้นการซื้อที่อยู่อาศัยในตลาดอีกทางหนึ่ง

3.ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและค่าธรรมเนียมแก่บ้านใหม่มากกว่าบ้านมือสองในระยะสั้น (1-2 ปี) เพื่อระบายที่อยู่อาศัยเหลือขายและสร้างสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ

4.จัดให้มีโครงการประกันสินเชื่อ (Mortgage Insurance) โดยรัฐบาลจัดทำนโยบายระยะสั้นให้มีการรับประกันสัดส่วนไม่เกิน 20% ของมูลค่าที่อยู่อาศัยสำหรับผู้กู้ที่มี LTVเกินกว่า 80% เพื่อสร้างความมั่นใจในการปล่อยสินเชื่อให้ผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย คาดว่าช่วยให้สัดส่วนการปฏิเสธสินเชื่อลดลงจาก 45% เหลือ 20-25% เป็นสัดส่วนในปี 2562-2565 ซึ่งตลาดที่อยู่อาศัยยังพอไปได้

5.เพิ่มกำลังซื้อในระบบให้ประชาชน โดยเร่งสร้างงาน สร้างรายได้โดยตรงทั้งระยะสั้นและระยะยาวแก่ประชาชน พร้อมแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน เช่น โครงการพิเศษของหน่วยงานราชการและท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการจ้างงานลูกจ้างชั่วคราวสัญญา 1-2 ปี ระหว่างรอการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและธุรกิจของภาคเอกชน พร้อมทั้งทบทวนแผนงานในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ 157,000 ล้านบาท ให้มีการสร้างงานและสร้างรายได้โดยตรง ยกเลิกนโยบายแจกเงินแบบให้เปล่า เพื่อนำงบประมาณมาสร้างรายได้ กระตุ้นการบริโภคของประชน สร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ

และ6.ควรชะลอ “โครงการบ้านเพื่อคนไทย” เพื่อดึงดีมานด์เหล่านี้กลับเข้าตลาด เมื่อผ่านวิกฤติอสังหาฯ ไปแล้ว ค่อยกลับมาดำเนินการต่อ

ผ่อนคลายปล่อยสินเชื่อ เสริมสภาพคล่อง

ส่วนสถาบันการเงิน ควรมีมาตรการส่งเสริมด้วยการ 1.ปรับปรุงและผ่อนคลายเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อ ที่ Conservative มากให้เหมาะสมกับลักษณะลูกค้าในปัจจุบัน เช่น หลักฐานรายได้ในกลุ่มลูกค้าที่มีอาชีพอิสระค้าขายออนไลน์ และเจ้าของกิจการขนาดเล็ก ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่า 50% ของผู้ซื้อที่อยู่อาศัย รวมถึงการคำนวณที่มาของรายได้ที่ควรนับรวมรายได้จากงาน part-time และรายได้อื่น ที่ผู้กู้ได้มาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ยอดการปฏิเสธสินเชื่อลดลง

2.ผ่อนคลาย/สนับสนุนโปรโมชั่นอัตราดอกบี้ยต่ำ เน้นอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3-5 ปี เพื่อกระตุ้นตลาดที่อยู่อาศัย

3.สนับสนุนในฐานะแหล่งเงินทุนที่จะช่วยเสริมสภาพคล่องให้ดีเวลลอปเปอร์ทดแทนหุ้นกู้ที่มีแนวโน้มเป็นตลาดที่ไม่ได้รับความเชื่อมั่นจากนักลงทุนอีกระยะหนึ่ง

4.เร่งบริหารจัดการ NPL ของสถาบันการเงิน และ 5.ให้ Non-bank เข้ามามีบทบาทร่วมปล่อยสินเชื่อเพื่อให้เกิดทางเลือกแก่ผู้กู้ซื้อที่อาศัย และเป็นการสร้างการแข่งขันในตลาดอีกทางหนึ่ง

ในภาวะ “เสือลำบาก” หากต้องการผลักดันระบบตลาดเดินหน้า ภาครัฐ เอกชน สถาบันการเงิน ต้องออกมาตรการเชิงรุกที่สามารถปฏิบัติได้จริง! เมื่อผนึกพลัง 3 ประสาน เสริมสภาพคล่อง กระตุ้นกำลังซื้อ ฟื้นฟูความเชื่อมั่น และจัดการหนี้เสีย เราอาจไม่เพียงรอดพ้นวิกฤติ แต่ยังพลิกโอกาสเพื่อความยั่งยืนระยะยาว

ถ้าไม่เริ่มวันนี้…ตลาดอสังหาฯ อาจเดินต่อไปไม่ได้!

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

ไทยจะเป็น อาร์เจนตินาแห่งวงการ AI หรือไม่ จากร่ำรวยสู่ร่วงโรย

23 นาทีที่แล้ว

'พิชัย' หนีตอบกระทู้สด หลัง 'ฝ่ายค้าน' ข้องใจเจรจาภาษีทรัมป์

28 นาทีที่แล้ว

“ทำเนียบขาว”ชี้“เงินเฟ้อ”อยู่ในเกณฑ์ดี เมินภาษีทำของแพง“ผู้นำเข้าสหรัฐ”เร่งปรับตัว

29 นาทีที่แล้ว

Gold Futures : บล.โกลเบล็ก ราคาทองวันนี้ 3,342.08 U$/ทรอยเอาน์ซ

32 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ

ธอส.เปิดสินเชื่อบ้านสุขสันต์ปี 2568 ดอกเบี้ยปีแรก 0.99% ผ่อนเริ่มต้นแค่ 2,600 บาท ลดภาระค่าครองชีพ

สยามรัฐ

เบเยอร์ ผู้นำด้านนวัตกรรมสีเพื่อสิ่งแวดล้อม รับมอบเครื่องหมาย CFR และ CFP เดินหน้าสู่เป้าหมาย Net Zero

สยามรัฐ

‘แสนสิริ-มิตซุย ฟุโดซัง’ผนึกพลังโตรุกลักชัวรี 2 โครงการ 6 พันล้าน

กรุงเทพธุรกิจ

‘แอสเซทไวส์’ ผ่าทางตัน แนะรัฐกระตุ้นมู้ดแอนด์โทน ดึงเอกชนลงทุน

ประชาชาติธุรกิจ

รัฐลดหย่อนภาษีโซลาร์รูฟ‘บ้านยุคใหม่’ สร้างสมดุลพลังงานสะอาด

กรุงเทพธุรกิจ

TOA เดินหน้าสู่ Net Zero ต่อเนื่อง ปีที่ 6 ผ่านการรับรอง CFO ย้ำผู้นำ Green Mission สร้างอนาคตยั่งยืน

สยามรัฐ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...