โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

“โรงเรียนจีน” แห่งแรกในไทยอยู่ที่จังหวัดอะไร เกิดขึ้นเมื่อไร

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา
คณะผู้ก่อตั้งโรงเรียนประถมกงลี่เผยเฉียว และนักเรียนถ่ายภาพร่วมกันที่วัดตะเคียนงาม ตำบลปากน้ำกระแส อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เมื่อ พ.ศ. 2489 (ภาพจาก วิเศษ ศิลปานนท์, จาก หนังสือ สมุดภาพเมืองระยอง)

แม้ชาวจีนจะเดินทางเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา ส่วนหนึ่งยังมีการสร้างครอบครัวอีกด้วย แต่ก็ยังไม่มีการจัดตั้ง “โรงเรียนจีน” เกิดขึ้น จนสมัยรัชกาลที่ 1 (พ.ศ. 2325-2352) จึงเกิดโรงเรียนแห่งแรกขึ้น

โรงเรียนจีน ยุคบุกเบิก

โรงเรียนจีนแห่งแรก เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2325 ที่อยุธยา โรงเรียนแห่งนี้เรียกชื่อว่า “เกาะเรียน” มีนักเรียนประมาณ 200 คน หากไม่มีหลักฐานว่าใครเป็นผู้ก่อตั้งและปิดกิจการไปเมื่อใด ด้วยขณะนั้นทางการยังมีข้อบังคับในการควบคุมสถานศึกษา

โรงเรียนแห่งที่ 2 เกิดขึ้นที่บริเวณใกล้ๆ วัดอรุณราชวราราม ธนบุรี เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2395 ในลักษณะโรงเรียนประจำที่สอนด้วยภาษาจีน โดยคณะมิชชันนารี มี นาย Kieng Kwa Sib เป็นผู้จัดการสอน แรกเริ่มรับเฉพาะนักเรียนชาย ต่อมาโรงเรียนขยายใหญ่ขึ้นจึงรับทั้งนักเรียนชายและหญิง ภายหลัง นาย Kieng Kwa Sib เสียชีวิต โรงเรียนจึงเปลี่ยนเป็นสอนด้วยภาษาไทยทั้งหมด

พ.ศ. 2451 สมาคมจงฮว๋า ได้จัดตั้ง “โรงเรียนฮว๋าอี้” ขึ้น ที่ตรอกกัปตันบุช ถนนเจริญกรุง นับเป็นโรงเรียนจีนแห่งแรกที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการโดยชาวจีนในประเทศไทย

สมาคมตั้งโรงเรียน

ต่อมาสมาคมแต้จิ๋ว, ฮกเกี้ยน, ไหหลำ, แคะ (ฮากกา) และกวางตุ้ง ร่วมกันจัดตั้ง “โรงเรียนซินหมิน” เนื่องจากผู้บริหารส่วนใหญ่เป็นคนแต้จิ๋ว จึงใช้ภาษาแต้จิ๋วในการเรียนการสอน ชาวจีนกลุ่มอื่นๆ จึงแยกออกไปตั้งโรงเรียนของตนเอง

เริ่มจาก พ.ศ. 2456 สมาคมจีนแคะตั้ง “โรงเรียนจิ้นเตอะ”, พ.ศ. 2457 สมาคมกวางตุ้งตั้ง “โรงเรียนเม่งตั้ก”, พ.ศ. 2459 สมาคมฮกเกี้ยนตั้ง “โรงเรียนป้วยง้วน”, พ.ศ. 2463 สมาคมแต้จิ๋วตั้ง “โรงเรียนเผยอิง” และ พ.ศ. 2464 สมาคมไหหลำตั้ง “โรงเรียนยกหมิน”

จากนั้นจำนวนโรงเรียน (จีน) ก็ขยายเพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 30 แห่ง เป็นกว่า 200 แห่งในชั่วเวลาเพียง 12 ปี (พ.ศ. 2463-2475)

การเมืองกับโรงเรียน

จำนวนโรงเรียนที่เพิ่มอย่างรวดเร็วนั้น เกิดจากชาวจีนอพยพเข้ามาในไทยมากขึ้น เพราะในประเทศจีนเกิดการจลาจลและปัญหาเศรษฐกิจ ขณะที่ในประเทศไทยชาวจีนก็ต้องแข่งขันกับชาวยุโรป ที่เข้ามามีบทบาททั้งการค้าและการศึกษา จึงพยายามรักษาความเป็นจีน ซึ่งโรงเรียนมีบทบาทสำคัญ

แต่ทางการไทยก็เริ่มเข้มงวดกับโรงเรียนของชาวจีนมากขึ้น พ.ศ. 2476 ถูกจำกัดชั่วโมงสอนภาษาจีนจากสัปดาห์ละ 28 ชั่วโมง เหลือเพียงไม่เกิน 6 ชั่วโมง หากโรงเรียนใดละเมิดจะถูกสั่งปิดกิจการ

เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2482-2485) จีนกับญี่ปุ่นอยู่คนละฝ่ายสงคราม ชาวจีนและครูจีนในไทยเรี่ยไรเงินส่งกลับไปช่วยประเทศจีน และต่อต้านการซื้อสินค้าญี่ปุ่น แต่ไทยเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ทางการไทยจึงคุมเข้มโรงเรียนเหล่านี้อย่างจริงจัง โรงเรียนหลายแห่งถูกปิด หากหลังสงครามยุติจีนเป็นประเทศชนะสงคราม โรงเรียนที่ถูกสั่งปิดก็พากันเปิดอีกครั้ง จนมีจำนวนมากถึง 450 แห่งในปลาย พ.ศ. 2489

หลังความสัมพันธ์ไทย

พ.ศ. 2492 จีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ โรงเรียนของชาวจีนในประเทศไทยจึงถูกควบคุมจริงจังอีกครั้ง บางแห่งเลิกกิจการเอง บางแห่งถูกสั่งปิด จนเหลือเพียง 177 แห่งใน พ.ศ. 2502 และจำกัดให้สอนภาษาจีนเพียงสัปดาห์ละ 5 ชั่วโมง

พ.ศ. 2518 เมื่อไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต การควบคุมโรงเรียนเอกชนที่สอนภาษาจีนก็ผ่อนคลายลง หลายฝ่ายเห็นความสำคัญของภาษาจีน พฤษภาคม พ.ศ. 2532 กระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้สอนภาษาจีนได้ตั้งแต่ชั้นอนุบาล-ประถมศึกษาปีที่ 6 (เดิมประถมศึกษาปีที่ 1-4)

กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ทางการประกาศให้ภาษาจีนกลางมีสถานะเท่ากับภาษาต่างประเทศอื่นๆ (ภาษาอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมัน และญี่ปุ่น) ที่สอนในโรงเรียนไทยทั่วไป และอนุญาตให้ครูชาวจีนจากประเทศจีนมาสอนได้

“โรงเรียนจีน” ในอดีตก็น่าจะเทียบได้กับ “โรงเรียนอินเตอร์” ในปัจจุบัน ต่างกันที่ใช้ “ภาษาจีน” ไม่ใช่ “ภาษาอังกฤษ”

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง :

ประพิณ มโนมัยพิบูลย์. “พัฒนาการของการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย” ใน, วารสารอักษรศาสตร์ ปีที่ 39 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2550.

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 8 กรกฎาคม 2568

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : “โรงเรียนจีน” แห่งแรกในไทยอยู่ที่จังหวัดอะไร เกิดขึ้นเมื่อไร

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.silpa-mag.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ศิลปวัฒนธรรม

พระราชานุกิจ รัชกาลที่ 5 แต่ละวันทรงทำอะไรบ้าง?

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ สามัคคีกลุ่มจีน 5 ภาษา ช่วยเหลือจีนยากไร้ในสยาม

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

มหาอำนาจจีน “เรียนภาษาไทย” ไปทำไม ตั้งแต่เมื่อ 400 กว่าปีก่อน

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ไข้ทรพิษ (ฝีดาษ) โรคห่าอันแท้จริงของประเทศสยาม ระบาดทุกปีไม่มีเว้น

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

เพจดังสรุปปม "แม่แตงโม" ปลดทนายเดชา-ลุยคดีต่อ ไม่ติด Netflix ทำสารคดี

สยามรัฐ

นโยบายภาษีทรัมป์เปลี่ยนเกมการค้าโลกอย่างไรในปี 2025

TNN ช่อง16

ค้นรัง “ก๊กอาน” เจ้าพ่อคราวน์กาสิโน คนสนิท “ฮุน เซน”

สำนักข่าวไทย Online

"บิ๊กแบน"ผู้การสุรินทร์ รับรางวัล “เทพนารายณ์” ประจำปี 2568 สาขาบุคคลต้นแบบผู้ส่งเสริมผู้ทำคุณประโยชน์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาดีเด่น

สยามรัฐ

“มาริษ” ประเดิมทวิภาคีเวียดนาม-ฟิลิปินส์

สำนักข่าวไทย Online

https://www.youtube.com/watch?v=PsMZO8oCCMM

สวพ.FM91

เงินเข้าไวกว่าเดิม!! เปิด 3 กลุ่ม มีเงินเข้า เดือน ก.ค

มุมข่าว

คุก 70 ผู้ต้องหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์รายใหญ่นครศรีธรรมราช สูงสุด 24 ปี ปรับ ริบของกลาง ชดใช้เงินคืนผู้เสียหาย

สยามรัฐ

ข่าวและบทความยอดนิยม

ดูแนวคิดรื้อ "นครวัด" และปราสาทขอม สมัยรัชกาลที่ 4 สู่การจำลองนครวัด ตั้งที่วัดพระแก้ว

ศิลปวัฒนธรรม

“ทูตอเมริกัน” สมัย ร.4 เผย เจรจากับ “สยาม” ควรพาเรือปืนมาด้วยจะได้ไม่เสียเวลา

ศิลปวัฒนธรรม

“โรงเรียนจีน” แห่งแรกในไทยอยู่ที่จังหวัดอะไร เกิดขึ้นเมื่อไร

ศิลปวัฒนธรรม
ดูเพิ่ม
Loading...