โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

มัดรวม 'โรคผิวหนัง' ที่ต้องระวังช่วงหน้าฝน พร้อมวิธีป้องกันตัว

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ช่วงฤดูฝนความชื้นในอากาศจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้เชื้อรา แบคทีเรียและแมลงพาหะเจริญเติบโตได้ดี อีกทั้งประชาชนส่วนใหญ่ยังคงต้องเดินทางออกนอกบ้าน อาจต้องลุยฝน ลุยน้ำ หรือสวมใส่เสื้อผ้าที่เปียกชื้นเป็นเวลานานซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่เอื้อต่อการเกิดโรคผิวหนังหลายชนิดได้ง่ายขึ้น หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่เนิ่น ๆ

นายแพทย์สกานต์ บุนนาค รองอธิบดีกรมการแพทย์ ระบุว่า ฤดูฝนเป็นช่วงที่มีความร้อนอบอ้าวและความชื้นสูงร่วมกับเหงื่อและเสื้อผ้าเปียกชื้นอาจกระตุ้นให้เกิดโรคผิวหนังต่าง ๆ ได้ จำเป็นต้องเฝ้าระวังและสังเกตอาการผิดปกติของผิวหนังอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะในผู้ที่มีผิวบอบบางหรือมีโรคประจำตัว เช่น

  • โรคน้ำกัดเท้า
  • โรคกลาก
  • โรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้
  • ผื่นจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • โรคเท้ามีกลิ่นเหม็น
  • สิวเห่อ
  • โรคผื่นกุหลาบ

แนวทางการป้องกันโรคผิวหนังในฤดูฝน :

  • ทำความสะอาดร่างกายทันทีหลังจากเปียกฝน อาบน้ำ สระผม
  • หมั่นล้างมือ ล้างเท้าหลังลุยน้ำด้วยสบู่และน้ำสะอาด แล้วเช็ดให้แห้งสนิทอยู่เสมอ
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด แห้ง ไม่อับชื้น และเลือกเนื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี
  • หากมีอาการผิดปกติ เช่น คัน แสบ แดง หรือมีผื่น ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างเหมาะสม

นายแพทย์วีรวัต อุครานันท์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคผิวหนังที่พบบ่อยในฤดูฝนมีทั้งจากเชื้อรา แบคทีเรียและปฏิกิริยาภูมิแพ้ โดยเฉพาะโรคน้ำกัดเท้า กลาก ซึ่งมักเกิดในบริเวณอับชื้น เช่น ซอกนิ้วเท้า ขาหนีบ หรือก้น ความอับชื้นจากถุงเท้าและรองเท้าหลังลุยน้ำเป็นสาเหตุสำคัญ

นอกจากนี้โรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ก็สามารถกำเริบได้ง่ายเมื่อผิวระบายเหงื่อไม่ดีหรือเกิดการเสียดสีร่วมด้วย

โรคเท้ามีกลิ่นเหม็น เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบได้บ่อยในฤดูฝน เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่หนังเท้าชั้นนอกร่วมกับปัจจัยเสริมอื่น เช่น ความอับชื้น น้ำหนักตัวมาก หรือโรคเบาหวาน อาการอาจมีลักษณะเป็นขุย ผิวลอก หรือเห็นรูพรุนเล็ก ๆ บริเวณฝ่าเท้า รวมถึงโรคผิวหนังอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อยซึ่งแมลงบางชนิด เช่น ด้วงก้นกระดก หรือแมลงดูดเลือดอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือแพ้สัมผัส โดยบางรายอาจมีอาการรุนแรงจนต้องพบแพทย์

ด้านแพทย์หญิงนันท์นภัส โปวอนุสรณ์ นายแพทย์ชำนาญการ สถาบันโรคผิวหนัง กล่าวว่า ในช่วงฤดูฝนยังพบปัญหาสิวเห่อเพิ่มขึ้นจากความชื้นและความร้อนที่ส่งผลต่อการเปิดของรูขุมขน การเจริญของเชื้อแบคทีเรีย และการผลิตไขมันบนใบหน้า

นอกจากนี้ยังควรเฝ้าระวังโรคผื่นกุหลาบ ซึ่งเป็นผื่นผิวหนังเฉียบพลันที่อาจสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัส ผื่นมีลักษณะเป็นวงรีหรือกลม กระจายตามแนวผิวหนังคล้ายลายต้นสน ทั้งสองภาวะนี้สามารถรักษาได้ด้วยยาที่เหมาะสมภายใต้การดูแลของแพทย์เพื่อสุขภาพผิวที่ดีในช่วงฤดูฝน

ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนทุกคนตระหนักถึงความสำคัญในการรักษาความสะอาดของร่างกาย การเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม และการเฝ้าระวังความผิดปกติของผิวหนังอยู่เสมอ หากพบอาการที่ไม่พึงประสงค์ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็ว เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

ชัยชนะ ลุยแก้ปัญหายาเสพติด นำร่อง มินิธัญญารักษ์ 5 อปท.

14 นาทีที่แล้ว

“พิพัฒน์” แนะไทยปรับตัวฝ่าวิกฤติสหรัฐ เปิดเสรีเกษตร-บริการ

17 นาทีที่แล้ว

รัฐบาลเปิดรับสมัครทุน ODOS รุ่น 3 รับเด็ก ม.4-ปวช.1 กว่าพันทุน

22 นาทีที่แล้ว

สภาเอสเอ็มอีไทยผนึก IsWhere ดึง SMEs กว่าแสนรายร่วมฟื้นศก.

39 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่นๆ

ชัยชนะ ลุยแก้ปัญหายาเสพติด นำร่อง มินิธัญญารักษ์ 5 อปท.

ฐานเศรษฐกิจ

เปิดโปรเจกต์ 'Part-Time Job Hunter' ปั้นเด็กมีงานทำตั้งแต่ปี 1

กรุงเทพธุรกิจ

โอกาสทอง! รับสมัครฝึกงานญี่ปุ่น IM Japan ฟรี จบแล้วมีเงินก้อน 6แสนบาท

กรุงเทพธุรกิจ

กลาก เกลื้อน โรคที่โดนตีตราว่าสกปรก ผู้ป่วยอายปิดบังเสี่ยงรักษาผิดวิธี

Amarin TV

เผยสาเหตุ ที่ทำให้การแพ้อาหารเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ ทั้งที่ตอนเด็กไม่เคยแพ้

News In Thailand

ม็อบกัญชา 16 ก.ค.นี้! รมว.สธ.ไม่หวั่น สั่งเพิก-ถอนใบอนุญาตเพียบ

กรุงเทพธุรกิจ

PRINC Group ลุยจัดมหกรรมเสริมแกร่งด้านสุขภาพ พร้อมรักษาทันท่วงที

ฐานเศรษฐกิจ

"ศิครินทร์" ติดทำเนียบ "ESG100" 5 ปีซ้อน เดินหน้าพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...