โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

มนุษย์ต่างวัย Fest 2025 ชีวิตดี...ชีวิต ซีซั่น 2

ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดต 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

มนุษย์ต่างวัย ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงาน “มนุษย์ต่างวัย Fest 2025 : ชีวิตดี…ชีวิต ซีซั่น 2 It’s Okay To Be You” คู่มือการออกแบบเริ่มต้นชีวิตในซีซั่นใหม่ในเวอร์ชั่นที่คุณอยากจะเป็น

Sessions : “Mindset ที่ดี คือสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตซีซันใหม่” โดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน กล่าวว่า Mindset เปรียบเหมือน Application ที่ต้องอัพเดตระบบปฏิบัติการตลอด เพราะความรู้ใหม่ ๆ ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ

คนอายุ 50 ต้องใช้ชีวิตให้เหมือนคนอายุ 30 ไม่ว่าเราอายุเท่าไหร่ นั่นก็เป็นเพียงตัวเลข ทุกคนมีวัย มี Prime Time ของชีวิต

ดังนั้น เราต้องจัดระเบียบความคิด เพื่อคุมชีวิตตัวเองได้ คนที่ไม่เคยจัดระเบียบความคิดก็เหมือนห้องนอนที่สกปรก มีความรู้แต่กระจัดกระจาย ถ้ามี Mindset ที่ดี จะควบคุมชีวิตได้ ไปเร็วก็ได้ ช้าก็ได้ สมองจะเป็นชั้นหนังสือใหม่ที่มีระเบียบ

“ชีวิตไม่ได้รุ่งเรืองเสมอไป ตอนวัยเด็กอาจมีความคิดมากมาย ทำให้คาดหวังสูง เมื่อทำตามที่หวังไม่ได้ก็เกิด Burnout ยอมแพ้ทุกอย่าง แทนที่จะ Burnout จงเลือกที่จะ Rebirth เกิดใหม่ขึ้นมาให้ได้”

ดูตัวอย่าง Mindset ของ Bruce Lee เป็นชีวิตที่ไม่มีรูปแบบ ทำชีวิตเหมือนน้ำ ใส่ภาชนะแบบใดก็เป็นแบบนั้น

“แต่ปัญหาคือหลายคนทำตัวเป็นของแข็ง อยู่ที่ไหนก็ลำบาก ถ้ามี Ego โลกปัจจุบันมีความรู้มหาศาล ถ้าขังตัวเองอยู่ในห้องเล็ก ๆ ผมคิดว่าจะทำให้เราตกโลกโดยใช่เหตุ”

ในศตวรรษที่ 21 Mindset ต้องเปิดกว้าง ทั้งการวางแผนเรื่องการเงิน ต้องมีเงินพอใช้ 24 เดือน จึงจะเรียกว่ามั่นคงทางการเงิน เพราะเป็นช่วงเวลาที่คนเราจะขาดรายได้ได้นานที่สุด

Mindset เรื่องสุขภาพ เป็นอนาคตที่ท้าทาย คนเรามีอายุยืนขึ้น แต่สุขภาพจะค่อย ๆ ทรุดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราต้องสังเกตพฤติกรรมความป่วยไข้อยู่เสมอ

Mindset เรื่องความสัมพันธ์ การฟังและเรียนรู้จากคนรุ่นใหม่ การแลกเปลี่ยนจะทำให้แต่ละรุ่นเดินหน้าไปด้วยกันได้ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือความเคารพต่อกัน จะทำให้ทุกคนมีความสุข

มองความต่างของ Gen ให้เป็นพลัง

ดร.สันติธาร เสถียรไทย กรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย อดีตผู้บริหารบริษัทเทค และภาคการเงินระดับโลก ผู้เขียนหนังสือ Twists & Turns สำนักพิมพ์มติชน กล่าวใน Sessions : Intergenerational Literacy ทักษะจำเป็นในโลกที่มีคนหลายเจน

โลกและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป คนที่เกิดมาในแต่ละ Generation จึงต่างทั้งความคิดและการกระทำ แต่เราจะเปลี่ยนความแตกต่างระหว่างวัยให้เป็นพลังได้ ด้วยการมี Appreciate เห็นคุณค่ากันและกัน ไม่ใช่ความขัดแย้ง แต่เป็นการสนับสนุน และเป็นเกราะป้องกันในการถูก Disruption

ประเทศไทยมีคนทำงานเกินอายุเกษียณและวัยทำงานที่ต้องดูแลพ่อแม่ และลูก ต้องทำงานหนักขึ้นจากสถานการณ์เศรษฐกิจ ทำให้ตลาดแรงงานมีคนเจน Baby Boomer อีก 4 ปีคนเจน Alpha จะเข้าสู่ตลาดแรงงานเช่นกัน ในอนาคตอันใกล้จะมีถึง 5 Generation อยู่ร่วมกันในที่ทำงาน เป็น Multigenerational Work Force

ดูการมาของ AI อย่าง ChatGPT ถูกใช้อย่างแพร่หลายในปีเดียว ขณะที่ AI Deepseek มาทีหลัง แต่ใช้แค่ 7 วันก็ดังเลย คนเจนหนึ่งบางสิ่งอาจเห็นเป็นเรื่องอนาคต อีกเจนอาจเห็นเป็นเรื่องปัจจุบัน แต่อีกเจนอาจมองเป็นเรื่องที่เก่าไปแล้ว การไม่เท่าทันกับโลกที่เปลี่ยนไป ก็คือการไม่รับรู้ถึง “เสียงที่ไม่ได้ยิน” อาจจะทำให้เราถูก Disruption โดยไม่รู้ตัว

แต่การจะมี Appreciate จำเป็นต้องมี Empathise หรือความเข้าอกเข้าใจต่อความแตกต่าง เพราะแต่ละคนเติบโตมาในสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม หรือภาระหน้าที่ที่ต่างกัน

สิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่การมี Empathise คือ การมี Curious หรือการเปิดใจอยากรู้จัก ความสงสัย ความอยากรู้ คือ ประตูบานแรกสู่การเข้าอกเข้าใจ

เทคนิค 3E สื่อสารกับคนข้ามรุ่น

E 1 Empathy : ความเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกันโดยไม่เหมารวมตัดสิน จะช่วยให้แต่ละเจนเข้าใจกันได้เร็วยิ่งขึ้น

E 2 Equality : การให้เกียรติระหว่างกัน ยอมรับในคุณค่าและตัวตนของกันและกัน จะนำไปสู่การสร้างพลัง ความมั่นใจ ได้เห็นอีกมุมหนึ่งของกันและกัน

E 3 Expression : รู้ภาษา เข้าใจการสื่อสารระหว่างกัน อาจมีเจตนาเดียวกัน แต่คำที่ใช้ไม่เหมือนกัน แต่ละเจนมักมีคำที่ฟังแล้วรู้สึกไม่ดีต่างกัน การปรับวิธีสื่อสารโดยลดสิ่งที่อีกฝ่ายไม่ชอบทั้งคำพูดและการกระทำจะช่วยให้ทุกอย่างดีขึ้น

เปิดจักรวาลข้อมูล 6 ปี

อีกไฮไลต์คือ เวที MAIN STAGE เปิดจักรวาลข้อมูล 6 ปี มนุษย์ต่างวัย โดย ดร.ธนชาตย์ ฤทธิ์บำรุง ผู้อำนวยการหลักสูตรการจัดการวิเคราะห์ข้อมูลและเทคโนโลยีข้อมูล (MADT) ธนศักดิ์ รัตนหิรัญภรณ์ ที่ปรึกษาด้าน Data Analytics และ AI ประสาน อิงคนันท์ ผู้ก่อตั้งเพจมนุษย์ต่างวัย

ในยุคที่ข้อมูลคือพลังในการเปลี่ยนแปลงโลก แล้วข้อมูลแบบไหนที่จะสร้างความเข้าใจของคนในทุกช่วงวัย ?

ตลอด 6 ปีที่ผ่านมา มนุษย์ต่างวัยได้สะสมเรื่องเล่าจากผู้คนวัยต่าง ๆ ผ่านประสบการณ์ มุมมองที่หลากหลาย จนกลายเป็น “จักรวาลข้อมูล” ที่ขับเคลื่อนสังคมสูงวัย ผ่านหัวข้อด้านการงาน การเงิน สุขภาพกาย และสุขภาพใจ

ในมุมมองด้านการงาน คนวัย 50+ มองว่า “งานคือโอกาส” งานเพิ่มเท่ากับโอกาสเพิ่ม ต่างจากคน Gen Y หรือ Gen Z ที่มองว่า หากงานเพิ่มขึ้น ค่าตอบแทนก็ต้องเพิ่มขึ้นอย่างสมน้ำสมเนื้อ รวมถึงให้ความสำคัญกับการใช้ชีวิต หรือ Work-Life Balance

เมื่อสำรวจข้อมูลลึกลงไป แบ่งผู้คนออกเป็น 4 กลุ่มย่อย

กลุ่มเอาตัวให้รอด (60%) กลุ่มนี้มีจำนวนมากสุด โดยยังคงโฟกัสกับการทำงานเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้ชีวิต และมองว่าค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเป็นปัจจัยสำคัญ

กลุ่มเลือกชีวิตก่อน (40%) มองว่าคุณภาพชีวิตสำคัญกว่าเงิน เพราะกลัวว่าจะไม่ได้ใช้ชีวิตก่อนเสียชีวิต

กลุ่มงานคือตัวตน มองว่างานเป็นพาร์ตหนึ่งที่สำคัญในชีวิต และมองหางานที่มีความหมาย เชื่อมโยงกับสังคม

กลุ่มสมดุล เชื่อมั่นใน Work-Life Balance ทำงานพาร์ตไทม์หรือมากกว่าหนึ่งอย่าง เพื่อสร้างคุณภาพชีวิต และค่อย ๆ เปลี่ยนผ่านสู่การเกษียณ

ออกแบบชีวิตและสุขภาพ

สุขภาพกลายเป็นเรื่องที่ผู้สูงอายุสนใจและให้ความสำคัญ โดยตรวจร่างกาย เลือกรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย ผู้สูงวัยยุคนี้มีสุขภาพดีกว่ายุคก่อน และสะท้อนว่า วัยเกษียณไม่ได้ติดอยู่ในกรอบหรือค่านิยมแบบเดิมอีกต่อไป

ผู้สูงอายุที่เป็นพ่อแม่ต้องการชีวิตอิสระ ไม่ต้องการพึ่งพาลูกหลาน เชื่อมั่นในการดูแลจัดการไลฟ์สไตล์ตัวเอง และยินดีที่ลูก ๆ แยกออกไปใช้ชีวิตของตัวเอง

ขณะที่ลูก ๆ มองว่าการได้ดูแลและตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ คือความภาคภูมิใจ ต้องการแบ่งปันการใช้ชีวิตกับพ่อแม่ในบ้านหลังเดียวกัน การประสบความสำเร็จของคนยุคนี้จึงไม่ใช่แค่เรื่องเงิน แต่รวมถึงความสุข และความภูมิใจในสิ่งเล็ก ๆ ที่เรียบง่าย

ในอนาคตเทรนด์การออกแบบธุรกิจหรือบริการ จะไม่มองแค่กลุ่มเป้าหมายใดกลุ่มเป้าหมายหนึ่ง แต่จะมุ่งเชื่อมโยงคนทุกเจเนอเรชั่นเข้าด้วยกัน เช่น วางแผนการเงินแบบ 3-Generations, กองทุนเชื่อมวัย, บัญชีบริหารร่วม หรือบริการที่ปรึกษาทางการเงินสำหรับครอบครัว เพื่อลดภาระของ Sandwich Generation และจัดการการเงินที่ซับซ้อนของครอบครัว

อีกทิศทางที่น่าสนใจคือการออกแบบที่อยู่อาศัยแบบใหม่ คำนึงถึงการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ การจัดพื้นที่ส่วนกลางที่เอื้อต่อปฏิสัมพันธ์ การออกแบบบันไดหรือพื้นที่ในบ้านให้ปลอดภัย สะดวกสบาย เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้คนทุกวัย

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : มนุษย์ต่างวัย Fest 2025 ชีวิตดี…ชีวิต ซีซั่น 2

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.prachachat.net

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ประชาชาติธุรกิจ

‘เที่ยวไทย’ ครึ่งปีหลัง สุดท้าทายเร่งปั๊มนักท่องเที่ยว 18 ล้านคน

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ประกันแผ่นดินไหวขยับ เร่งสรุปเคลมก่อน ก.ย.นี้

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

นนท์ ธนนท์ ‘ทนไม่ไหว’ วอนแฟนเพลง ‘ไม่ซื้อ’ หลังบัตรคอนเสิร์ตถูกนำมาขายต่อในราคาแพง

THE STANDARD

สำรวจแง่มุมความคิดของ บอย-ป๊อด ผ่านสารคดีฟังสบาย BOYdPOD : THE CONVERSATION

THE STANDARD

‘Blueboo’ เด็กชายตัวฟ้าสีเศร้าในโลกสมมุติ เมื่อน้องแมวจากไป โลกทั้งใบจึงกลายเป็นงานศิลปะ

a day magazine

วอล์คกิ้งทัวร์ “ถนนทรงวาด” ย่านท่องเที่ยวสุดชิค ฮิปๆ โดนใจทุกเจน

ฐานเศรษฐกิจ

วิกฤตร้านอาหารไทย เมื่อยอดขายหน้าร้านดิ่งเหว ร้านเปิดใหม่ลดฮวบ เทค และ AI คือทางรอด

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

GALCHANIE ชวนมาสัมผัสความรักอันร้อนแรงผ่านซิงเกิลใหม่ Touch

THE STANDARD
วิดีโอ

ยินดีที่ได้ทัก : เบื้องหลังเยือน "ภาษีเจริญ"

Thai PBS

เปิดวิสัยทัศน์ จิตสุภา วัชรพล ผู้บริหารไทยรัฐกรุ๊ป ชี้ผู้นำต้องเข้าใจความเป็นมนุษย์ พาองค์กรเติบโต

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

ข่าวและบทความยอดนิยม

มนุษย์ต่างวัย Fest 2025 ชีวิตดี...ชีวิต ซีซั่น 2

ประชาชาติธุรกิจ

50 ปี ตลาดหลักทรัพย์ฯ มองอดีต-สร้างสะพานสู่อนาคต

ประชาชาติธุรกิจ

บริษัทเทค ‘ผลัดใบ’ พร้อมใจตั้ง ‘แม่ทัพ’ ใหม่ ขับเคลื่อนองค์กร

ประชาชาติธุรกิจ
ดูเพิ่ม
Loading...