โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

“อะมีบากินสมอง” ภัยเงียบจากน้ำธรรมชาติ ย์แพทย์ มช. เตือนประชาชนอย่าชะล่าใจ

TNN ช่อง16

เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา
แพทย์มช.เตือนอันตรายจากน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ อาจทำให้เกิดโรคอะบีมากินสมอง ร้ายแรงถึงชีวิต

แพทย์และทีมคณาจารย์ ประจำภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มช. ออกเตือนประชาชน หลีกเลี่ยงล้างจมูกด้วยน้ำประปา และควรระวังขณะเล่นน้ำในแหล่งธรรมชาติ แม้ความเสี่ยงต่ำ แต่อันตรายร้ายแรงถึงชีวิต

แม้จะพบได้น้อยมากในประเทศไทย แต่โรค “อะมีบากินสมอง” หรือ Primary Amoebic Meningoencephalitis (PAM) ถือเป็นภัยสุขภาพที่รุนแรงและมักจบลงด้วยการเสียชีวิตภายในไม่กี่วัน ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขเตือนให้ประชาชนตระหนักถึงการใช้และสัมผัสน้ำจากแหล่งธรรมชาติ หรือแม้แต่น้ำประปาในบางกรณี พร้อมแนะนำแนวทางป้องกันที่ทุกคนสามารถทำได้

อะมีบากินสมองคืออะไร?

อะมีบากินสมอง คือเชื้อปรสิตเซลล์เดียวในกลุ่มอะมีบา ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Naegleria fowleri พบได้ทั่วโลก ทั้งในดิน แหล่งน้ำจืดธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ทะเลสาบ น้ำพุร้อน รวมถึงแหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น สระว่ายน้ำหรือถังเก็บน้ำที่ไม่ได้มาตรฐาน

ประเทศไทยพบเชื้อชนิดนี้ในหลายจังหวัด โดยเฉพาะในแหล่งน้ำจืด ไม่พบในน้ำทะเล และปัจจุบันยังไม่มียารักษาที่จำเพาะสำหรับเชื้อชนิดนี้

ภัยเงียบที่คร่าชีวิต

แม้จะพบได้น้อยมาก แต่อะมีบากินสมองกลับอันตรายถึงชีวิต ข้อมูลผู้ติดเชื้อในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2525 – 2564 มีรายงานผู้ติดเชื้อสะสมเพียง 17 ราย แต่เสียชีวิตถึง 14 ราย และส่วนใหญ่เสียชีวิตภายใน 1–2 สัปดาห์หลังแสดงอาการ

ด้วยเหตุนี้ โรคนี้จึงถือเป็น “ภัยเงียบ” ที่ประชาชนมักไม่ตระหนักถึง โดยเฉพาะเมื่อยังไม่มีแนวทางการรักษาที่ชัดเจน

ใครเสี่ยง? ติดได้อย่างไร?

ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ที่เล่นน้ำในคลอง บึง น้ำตก หรือแม้แต่ในสระว่ายน้ำหรือสวนน้ำที่ไม่ได้รับการดูแลที่ดี รวมถึงผู้ที่ใช้น้ำประปาล้างจมูกโดยตรง

การติดเชื้อเกิดจากการที่น้ำที่มีเชื้อ Naegleria fowleri เข้าทางโพรงจมูก เชื้อจะไต่ขึ้นผ่านเส้นประสาทรับกลิ่นไปยังสมอง ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบรุนแรง

อาการหลังติดเชื้อ ได้แก่ ปวดหัว มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ก่อนพัฒนาเป็นคอแข็ง และมีภาวะทางระบบประสาทอย่างรวดเร็ว หากไม่วินิจฉัยและรักษาโดยเร็ว มักเสียชีวิตในเวลาอันสั้น การให้ประวัติการว่ายน้ำ เล่นกีฬาทางน้ำหรือกิจกรรมในแหล่งน้ำธรรมชาติ การล้างโพรงจมูกด้วยน้ำประปา จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้เร็วขึ้น

เคยเกิดในไทยแล้ว

กรณีล่าสุดเกิดขึ้นในปี 2565 เมื่อชาวเกาหลีที่พำนักในประเทศไทย 4 เดือน กลับไปประเทศแล้วเสียชีวิตด้วยภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากอะมีบา แพทย์วินิจฉัยภายหลังว่าเป็นโรคอะมีบากินสมอง

น้ำประปาปลอดภัยหรือไม่?

น้ำประปาที่ได้มาตรฐานถือว่าปลอดภัยจากเชื้อชนิดนี้ อย่างไรก็ตาม หากมีการนำน้ำไปพักไว้ในถังเก็บน้ำก่อนใช้งาน อาจมีการปนเปื้อนเชื้อชนิดนี้จากการแตกรั่วซึมของระบบท่อส่ง และปริมาณคลอรีนในถังพักน้ำอาจลดลงจนฆ่าเชื้อไม่ได้

ที่สำคัญคือ “ไม่ควรใช้น้ำประปาในการล้างโพรงจมูกโดยตรง” เพราะเป็นทางเข้าสำคัญของเชื้อ หากจำเป็น ควรต้มน้ำก่อนใช้งาน หรือใช้ “น้ำเกลือปราศจากเชื้อ” ในการล้างโพรงจมูก

แนวทางป้องกันสำหรับประชาชน

  • หลีกเลี่ยงการใช้น้ำประปาล้างโพรงจมูก โดยเฉพาะน้ำจากถังเก็บ

  • ใช้น้ำเกลือปราศจากเชื้อในการล้างจมูก และควรเป็นขวดขนาดเล็ก ใช้ครั้งเดียว

  • หากต้องว่ายน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือสระน้ำที่ไม่มั่นใจ ควรสวมที่หนีบจมูกเสมอ

  • หากสำลักน้ำเข้าจมูก ควรสั่งน้ำมูกออกทันที

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TNN ช่อง16

ประเทศไหน "ดีที่สุดในโลก" ประจำปี 2025 ส่วนไทยติดอันดับ 2 ชาติดีที่สุดในอาเซียน

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กองทัพบกชี้แจงปม “ภูมะเขือ” ไม่ได้ถูกทหารกัมพูชายึดครองฝ่ายเดียว

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ทำความรู้จัก "ข้อตกลง 123" ความร่วมมือด้านนิวเคลียร์เพื่อสันติที่สหรัฐฯ เพิ่งเริ่มใช้กับไทย

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กกต. แจงข่าวเตรียมพิจารณคำร้อง ยุบ 6 พรรค ไม่เป็นความจริง

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

รพ.ราชวิถี เปิดฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ฟรี เช็กเงื่อนไขที่นี่

ฐานเศรษฐกิจ

คอลลาเจน ข้อควรรู้ก่อนกิน 5 กลุ่มโรค ควรเลี่ยงอาจกระทบต่อสุขภาพ

Amarin TV

ประกันสังคม ยันจ่ายค่ารักษาต่อเนื่อง ไม่ให้เป็นภาระสถานพยาบาล

ฐานเศรษฐกิจ

คปภ.สั่งเพิกถอน ใบอนุญาตนายหน้าประกัน หลอกเงินนักศึกษา ม.ขอนแก่น 57 ราย ทำกรมธรรม์ประกันภัยภาคบังคับ

BTimes

Deep Talk AI จาก DPU! ผู้ช่วยส่วนตัวเรียนรู้-สื่อสารในยุคดิจิทัล

กรุงเทพธุรกิจ

"ซิลลิค ฟาร์มา" ทุ่ม 130 ล้านบาท ยกะดับโลจิสติกส์เภสัชภัณฑ์ในไทย

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

สารหนู- ตะกั่ว แม่น้ำกกเกินค่ามาตรฐานหลายจุด เตือน ปชช. บริโภคปลาเสี่ยงปนเปื้อน

TNN ช่อง16

“อะมีบากินสมอง” โรคร้ายถึงตาย ไร้ยารักษา ทำไมอาจกลายเป็นโรคใกล้ตัว

TNN ช่อง16

"เชื้ออะมีบา" ไม่ติดต่อระหว่างคน แนะวิธีป้องกันโรคจากการสำลักน้ำ!

TNN ช่อง16
ดูเพิ่ม
Loading...