โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

Deep Talk AI จาก DPU! ผู้ช่วยส่วนตัวเรียนรู้-สื่อสารในยุคดิจิทัล

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ทุกวันนี้เราอาจคุ้นเคยกับ AI ในรูปแบบของระบบแชทที่คอยตอบคำถาม หรือช่วยค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต แต่ “Deep Talk: AI Voice and Visual Assistant” จาก วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ เทคโนโลยี (ANT) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ได้ก้าวไปอีกขั้น ด้วยการผสานความสามารถในการมองเห็น การได้ยิน และการเข้าใจบริบทเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้อย่างเป็นธรรมชาติ ราวกับมีสายตา หู และสมองของมนุษย์

นวัตกรรมนี้พัฒนาขึ้นโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บัญญพนต์ พูลสวัสดิ์ รองคณบดี และอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบและการพัฒนาเกม วิทยาลัย ANT-DPU ซึ่งจัดแสดงในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2568 (Thailand Research Expo 2025) ที่ผ่านมา

โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากงานวิจัยในปี 2559 ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ศูนย์เทคโนโลยีสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการ ที่มุ่งช่วยเหลือผู้บกพร่องทางการมอง และอื่นๆ ในส่วนของ Web Accessibility และ Accessibility Technology ให้สามารถใช้ชีวิตได้สะดวกขึ้น ก่อนจะต่อยอดสู่เวอร์ชันปัจจุบัน ซึ่งพร้อมเป็นผู้ช่วยอัจฉริยะในทุกมิติของชีวิต ตั้งแต่การเรียนรู้ในห้องเรียนไปจนถึงการใช้งานในชีวิตประจำวัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

รพ. สบายใจได้ 'ประกันสังคม' ยืนยันจ่ายค่ารักษาต่อเนื่อง

ภูมิคุ้มกันคุณเฟิรม พร้อมบวก 'เซลล์มะเร็ง' แล้วหรือยัง?

เหนือกว่าแชทบอต 'มองเห็น-ได้ยิน-รู้ลึก'

Deep Talk มีความแตกต่างจาก AI ภาษาขนาดใหญ่ หรือ LLM (Large Language Model) อย่าง ChatGPT หรือ Gemini อย่างสิ้นเชิง เพราะไม่ได้เป็นเพียงโมเดลภาษา แต่ได้รับการเสริมความสามารถให้มี "ตา" และ "หู" ด้วยระบบ Vision Model ความสามารถนี้ทำให้ AI สามารถตีความข้อมูลจากภาพได้ เช่น การประมวลผลภาษามือ หรือการอ่านสิ่งต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็น ดังนั้น หากคุณถือแก้วน้ำให้ดู Deep Talk สามารถบอกได้ทันทีว่า "คุณกำลังถือแก้วน้ำ"

นอกจากนี้ Deep Talk ยังสามารถโต้ตอบได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการใช้ Google AI Studio ในการสร้างเสียงแบบ Real Time Voice Actor ซึ่งให้เสียงที่เป็นธรรมชาติเหมือนมนุษย์ และยังสามารถปรับแต่งให้เป็นเสียงเพศหญิงหรือชายได้ตามต้องการ ทำให้การสื่อสารราบรื่นและเป็นมิตรมากยิ่งขึ้น ที่น่าสนใจคือ โมเดลนี้ยังสามารถ “จดจำลักษณะเฉพาะของผู้ใช้งาน” ได้ เมื่อมีการสอนข้อมูลเฉพาะบุคคลเข้าไป ส่งผลให้การโต้ตอบมีความเฉพาะเจาะจงและเป็นส่วนตัวมากขึ้น

ผศ.บัญญพนต์ อธิบายถึงแนวคิดเบื้องหลังการพัฒนานวัตกรรมนี้ว่า จุดประสงค์แรกของการพัฒนาคือ การสร้างเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บกพร่องทางการมองเห็น สามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้ชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นโครงการที่ทำร่วมกับ NECTEC ตั้งแต่ปี 2559 ก่อนที่จะพัฒนาเป็น Deep Talk เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้งานที่ไม่สะดวกพิมพ์ข้อความ ผู้ที่มือไม่ว่าง ไม่สามารถตอบโต้ได้ทันที หรือในบางกรณีที่การอธิบายด้วยคำพูดทำได้ยาก

ใช้ RAG เพิ่มความรอบรู้เชิงลึก

Deep Talk ถูกออกแบบให้เป็นผู้ช่วยอัจฉริยะที่สามารถมองเห็นและเข้าใจข้อมูลจากภาพ พร้อมทั้งทำหน้าที่เป็น Screen Reader ที่ช่วยอ่านข้อความบนหน้าจอได้อย่างคล่องแคล่ว ทำให้การเข้าถึงข้อมูลเป็นเรื่องง่ายและสะดวกสำหรับทุกคน ปัจจุบัน Deep Talk รองรับการใช้งานทั้งภาษาไทย อังกฤษ และจีน พร้อมด้วย UI (User-friendly Interface) ที่ออกแบบให้ใช้งานได้เหมือนแอปพลิเคชันทั่วไป โดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานด้านเทคนิคใดๆ ที่สำคัญยังสามารถใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือได้อีกด้วย ทำให้เข้าถึงและใช้งานได้สะดวกสบายทุกที่ทุกเวลา

ในงานวิจัย ผศ.บัญญพนต์ ยังใช้เทคนิค Breaking หรือ RAG (Retrieval Augmented Generation) ซึ่งเป็นการเสริมความสามารถให้ AI สามารถเรียนรู้ข้อมูลเฉพาะทางได้ลึกกว่าปกติ โดยทั่วไป AI ทั่วไปจะมีความรู้แบบกว้างๆ แต่ RAG ช่วยให้ Deep Talk สามารถ “ป้อน” ข้อมูลเฉพาะด้าน เช่น กฎหมาย ภาษาอังกฤษ จิตวิทยา หรือแม้กระทั่งข้อมูลภายในองค์กร และทำให้โมเดลนี้กลายเป็น “ผู้รู้ประจำองค์กร” ที่สามารถให้คำแนะนำที่ถูกต้องและแม่นยำได้ทันที

“ปกติ AI ทั่วไปเราแค่ Custom ปรับเหมือนสอนเพิ่มให้เรียนรู้เชิงลึกเฉพาะ AI ก็จะมีความชำนาญเฉพาะทาง” ผศ.บัญญพนต์ ย้ำ พร้อมระบุว่า “หากองค์กรเตรียมข้อมูลที่ต้องการสอนให้พร้อม” ทางทีมวิจัยสามารถฝึกฝน Deep Talk ให้เชี่ยวชาญเฉพาะทางได้ภายใน 1 วัน โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรมใหม่

นอกจากนี้โมเดล Deep Talk ยังได้รับการอัปเดตเวอร์ชันให้สามารถสืบค้นข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้งานสามารถสั่งให้ AI ค้นหาข้อมูลจาก Google ได้โดยตรง เช่น พูดว่า “ช่วยสืบค้นข้อมูลอินเทอร์เน็ตหน่อย” แล้ว Deep Talk จะส่งคำค้นออกไปและนำข้อมูลกลับมาตอบในทันที

ผศ.บัญญพนต์ อธิบายเสริมว่า ความสามารถนี้ช่วยให้ Deep Talk ตอบคำถามได้ทันสมัยและหลากหลายยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามยังมีความท้าทายที่ต้องพิจารณา เช่น การป้องกันไม่ให้ AI ดึงข้อมูลจากแหล่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นประเด็นที่ทีมวิจัยกำลังติดตามอย่างใกล้ชิด

ปลดล็อกความกลัวการตั้งคำถามในเด็ก

หนึ่งในเป้าหมายหลักของ Deep Talk คือการเป็น “ผู้ช่วยสอนในห้องเรียน” โดยเฉพาะในวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อแก้ไขปัญหาเรื้อรังที่เด็กไทยจำนวนมากต้องเผชิญ นั่นคือ "ความกลัวที่จะตั้งคำถามที่ดูไม่ฉลาด" หรือความกังวลว่าจะถูกตำหนิจากครูและเพื่อนๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ยิ่งกว่าการไม่รู้คำตอบเสียอีก

Deep Talk จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการเปิดพื้นที่ให้เด็กกล้าตั้งคำถาม โดยทำหน้าที่เป็น “ติวเตอร์ส่วนตัว” หรือ “ผู้ช่วยในห้องเรียน” ที่เด็กๆ สามารถถามสิ่งที่สงสัยได้อย่างอิสระ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะผิด ถูกตัดสิน หรืออายที่จะถามซ้ำ

ขณะเดียวกันก็ตอบโจทย์พฤติกรรมเยาวชนในปัจจุบันที่มักชอบฟังและดูมากกว่าอ่าน ด้วยการโต้ตอบผ่านเสียงทำให้เด็กๆ ได้รับคำตอบที่เข้าใจง่ายในทันที และยังช่วยให้เด็กเรียนรู้ตามจังหวะของตนเอง

Deep Mind ก้าวแห่งอนาคต

นอกเหนือจากการนำไปใช้ในด้านการศึกษา ธุรกิจ และการให้คำปรึกษา เช่น การให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต ผศ.บัญญพนต์ ได้ต่อยอดการพัฒนา “Deep Talk” จนกลายเป็นเวอร์ชันใหม่ในชื่อว่า “Deep Mind” ซึ่งเป็น AI ที่มีความสามารถลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยไม่เพียงตอบคำถามแบบตรงไปตรงมา แต่ยังสามารถ “คิด” วิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์ที่ซับซ้อนได้อย่างมีเหตุผล

หนึ่งในแนวคิดที่ ผศ.บัญญพนต์ ได้นำมาใช้สำหรับทดสอบศักยภาพของ Deep Talk คือการป้อนข้อมูลพระไตรปิฎกฉบับย่อทั้ง 7 เล่มเข้าไปในระบบ เพื่อดูว่า AI จะสามารถเข้าใจเนื้อหาทางธรรมะได้ลึกซึ้งแค่ไหน ผลปรากฎว่า AI สามารถประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อนเชิงนามธรรมเช่นนี้ได้

ผศ.บัญญพนต์ มองต่อว่า ถ้าอย่างนั้น AI ก็ย่อมสามารถเข้าใจข้อมูลสุขภาพที่มีความซับซ้อนเช่นเดียวกันได้ ไม่ว่าจะเป็นประวัติครอบครัว ข้อมูลพันธุกรรม หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งจะเปิดประตูไปสู่การประยุกต์ใช้ในมิติใหม่ๆ

“หาก Deep Mind เข้าใจข้อมูลสุขภาพที่ซับซ้อนได้จริง เราสามารถให้คำแนะนำที่เฉพาะเจาะจงกับแต่ละบุคคลได้เลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหารที่ควรกิน การออกกำลังกายที่เหมาะสม หรือแม้กระทั่งการนอนหลับ ว่าควรนอนยังไงให้ดีต่อสุขภาพ สุดท้ายก็จะกลายเป็นเหมือนคุณหมอประจำบ้าน ที่คอยให้คำแนะนำเรื่องสุขภาพ แม้จะไม่ใช่หมอที่รักษาโดยตรง แต่ก็ช่วยให้เรารู้วิธีดูแลตัวเองได้ดีขึ้นในชีวิตประจำวัน” ผศ.บัญญพนต์ ระบุ

ทั้งนี้ ปัจจุบัน Deep Mind ได้พัฒนาโครงสร้างหลักและระบบการทำงานเสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาด้านจริยธรรมก่อนเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ ขณะเดียวกันยังมีการพัฒนาเพิ่มเติมในด้านรูปลักษณ์และการโต้ตอบ เช่น การสร้างอวตารเสมือนจริงที่สามารถขยับและสื่อสารได้อย่างเป็นธรรมชาติ รวมถึงการออกแบบให้ใช้งานผ่านอุปกรณ์พกพา เช่น แว่นตาอัจฉริยะ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบกับ AI ได้ทุกที่ทุกเวลา

Deep Talk ยังรับประกันความเป็นส่วนตัว โดยระบบไม่เก็บข้อมูลส่วนบุคคล อาทิ หมายเลขโทรศัพท์ หรือข้อมูลระบุตัวตนอื่นๆ หากไม่ได้รับความยินยอม นอกจากนี้ทีมงานยังได้เร่งหารือผลกระทบด้านจริยธรรมจากความสามารถในการ “มองเห็น” และตีความสภาพแวดล้อม เพื่อให้มั่นใจว่า AI นี้จะปลอดภัย โปร่งใส และเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อย่างแท้จริง

“ตอนนี้ระบบหลักพัฒนาเสร็จเรียบร้อยแล้วครับ เหลือแค่การนำไปทดลองใช้ในเคสจริง เพื่อประเมินความเป็นไปได้กับพฤติกรรมการใช้งานในโลกจริง และรอการอนุมัติเรื่องของข้อมูลประมาณ 3 เดือน” ผศ.บัญญพนต์ สรุป

ผู้ที่สนใจสามารถทดลองใช้งาน Deep Talk ได้ในปัจจุบันโดยง่ายๆ ผ่านการสแกน QR Code หรือเข้าใช้งานผ่านเว็บบราว์เซอร์บนโทรศัพท์มือถือ โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งแอปพลิเคชันเพิ่มเติม ระบบเปิดให้ใช้งานโดยจำกัดจำนวนครั้งในการโต้ตอบประมาณ 10,000 ครั้งต่อผู้ใช้งาน เพื่อช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอย่างเหมาะสม

ที่สำคัญทางทีมวิจัยยังเปิดรับความร่วมมือจากสถานศึกษาในระดับประถมหรือมัธยมที่สนใจทดลองใช้งาน AI นี้ในบริบทจริง โดยสถานศึกษาจะเป็นผู้ดำเนินการจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ ไมโครโฟน และกล้องเท่านั้น เพื่อร่วมกันศึกษาและประเมินว่าการนำ Deep Talk มาใช้จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ได้จริงหรือไม่

“ส่วนหน่วยงานองค์กรใดที่ต้องการให้ Deep Talk เรียนรู้ข้อมูลเฉพาะทางของตนเอง สามารถติดต่อเข้ามาได้โดยตรง ทีมวิจัยพร้อมให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด เพียงจัดเตรียมชุดข้อมูลที่ต้องการ ระบบสามารถฝึกให้พร้อมใช้งานได้ภายใน 1 วัน โดยมีค่าใช้จ่ายหลักในส่วนของบริการคลาวด์ เช่น Google AI Studio และการจัดการข้อมูล ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเลือกรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนนี้เองได้” ผศ.บัญญพนต์ กล่าว

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถทดลองใช้งาน Deep Talk ได้ด้วยตัวคุณเองเพียงคลิก: https://deeptalk-eight.vercel.app/

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

ตลท.มาตรการซื้อขาย DV8 ระดับ 2 ห้าม Net settlement และให้ซื้อขาย Auction 16 ก.ค. - 5 ส.ค. นี้

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ศูนย์ฮีลใจนักวิ่ง! 'HOKA Culture Hub' รันคลับใหม่ใจกลางเจริญกรุง

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

'อนุทิน' รับส่งเอกสารแจงกกต.ปม'ทักษิณ' ครอบงำพรรค ยันภท.อิสระ

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

Quiet Firing ทำไมยุคนี้เจอบ่อย? เปิดเบื้องหลังการไล่ออกเงียบๆ

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

คอลลาเจน ข้อควรรู้ก่อนกิน 5 กลุ่มโรค ควรเลี่ยงอาจกระทบต่อสุขภาพ

Amarin TV

“อะมีบากินสมอง” ภัยเงียบจากน้ำธรรมชาติ ย์แพทย์ มช. เตือนประชาชนอย่าชะล่าใจ

TNN ช่อง16

ประกันสังคม ยันจ่ายค่ารักษาต่อเนื่อง ไม่ให้เป็นภาระสถานพยาบาล

ฐานเศรษฐกิจ

คปภ.สั่งเพิกถอน ใบอนุญาตนายหน้าประกัน หลอกเงินนักศึกษา ม.ขอนแก่น 57 ราย ทำกรมธรรม์ประกันภัยภาคบังคับ

BTimes

"ซิลลิค ฟาร์มา" ทุ่ม 130 ล้านบาท ยกะดับโลจิสติกส์เภสัชภัณฑ์ในไทย

ฐานเศรษฐกิจ

ส่งฟรี! รถรับส่งผู้ป่วยมะเร็งบัตรทอง เข้าถึง 3 เทคโนโลยีขั้นสูง

กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...