โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ส่งฟรี! รถรับส่งผู้ป่วยมะเร็งบัตรทอง เข้าถึง 3 เทคโนโลยีขั้นสูง

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวว่า ตามมติบอร์ด สปสช. เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2568 ได้เห็นชอบ “ข้อเสนอการจ่ายค่าพาหนะ สำหรับบริการรับส่งผู้ป่วยเพื่อเข้ารับบริการสาธารณสุขสำหรับบริการการรักษาด้วยรังสีโปรตอน (Proton Therapy) บริการฝังแร่เฉพาะที่เพื่อรักษาเนื้องอกในตา (Eye Plaque Brachytherapy) และบริการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ (Robotic Surgery)”

เพื่อให้เป็นไปตามสิทธิประโยชน์นี้ ที่ผ่านมาสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จึงได้จัดระบบรับส่งเพื่อให้บริการผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาได้เข้าถึงบริการ

“สิทธิประโยชน์นี้ จะช่วยทลายกำแพงอุปสรรคด้านการเดินทาง ซึ่งเราต้องการให้ผู้ป่วยสิทธิบัตรทองทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในประเทศไทยสามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างเท่าเทียมกัน และไม่ได้เป็นเพียงการช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่าย แต่เป็นการมอบความหวังและเพิ่มโอกาสในการรักษาให้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวด้วย ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยอย่างแท้จริง” รมว.สาธารณสุข กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

หยุดมะเร็งปอด! คร่า 41 ชีวิต/วัน พบผู้ป่วยรายใหม่ 57 คน /วัน

ภูมิคุ้มกันคุณเฟิรม พร้อมบวก 'เซลล์มะเร็ง' แล้วหรือยัง?

รับ-ส่ง บริการรักษาพยาบาลเพื่อผู้ป่วยมะเร็ง ฟรี!

ด้านนพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า บริการรักษาพยาบาลเพื่อผู้ป่วยมะเร็งด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง 3 รายการ ที่อยู่ในระบบบริการรถรับ-ส่ง ได้แก่

- บริการรักษาด้วยรังสีโปรตอน (Proton Therapy): เป็นเทคโนโลยีการฉายรังสีที่มีความแม่นยำสูง เหมาะสำหรับการรักษาเนื้องอกในตำแหน่งที่ใกล้กับอวัยวะสำคัญ โดยเฉพาะในผู้ป่วยมะเร็งในเด็ก ซึ่งปัจจุบันให้บริการที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

- บริการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ (Robotic Surgery): นำร่องใน 3 กลุ่มโรคสำคัญ ได้แก่ มะเร็งต่อมลูกหมาก, มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และมะเร็งตับ ตับอ่อน และท่อน้ำดี ซึ่งช่วยให้การผ่าตัดมีความแม่นยำสูง แผลเล็ก และผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว โดยมีโรงพยาบาลในระบบที่ให้บริการหลายแห่ง เช่น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, โรงพยาบาลศิริราช, โรงพยาบาลรามาธิบดี, และโรงพยาบาลราชวิถี

- บริการฝังแร่เฉพาะที่เพื่อรักษาเนื้องอกในตา (Eye Plaque Brachytherapy): เป็นการรักษาที่ให้ผลดีและช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรักษาดวงตาไว้ได้ ซึ่งปัจจุบันให้บริการที่โรงพยาบาลรามาธิบดี

วางระบบประสานงานอำนวยความสะดวกผู้ป่วย

สำหรับการให้บริการนั้น นพ.จเด็จ กล่าวต่อว่า สปสช. ได้ทำการวางระบบการประสานงานไว้อย่างชัดเจนเพื่ออำนวยความสะดวกสูงสุดแก่ผู้ป่วย มีขั้นตอนดังนี้:

1. โรงพยาบาลต้นทาง: เมื่อแพทย์วินิจฉัยและวางแผนการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องเข้ารับบริการ 3 รายการข้างต้น โรงพยาบาลจะทำการนัดหมาย / ประสานการส่งตัวผู้ป่วยพร้อมประวัติการรักษาไปที่โรงพยาบาลปลายทางที่มีศักยภาพ

2. ประสานงานผ่านสายด่วน 1330: ผู้ประสานงานของโรงพยาบาล (Hospital Coordinator) จะแจ้งข้อมูลผู้ป่วย, วันนัดหมาย และเบอร์โทรศัพท์มายังสายด่วน สปสช. 1330

3. ยืนยันการเดินทาง: เจ้าหน้าที่สายด่วน สปสช. 1330 จะโทรศัพท์ติดต่อผู้ป่วยโดยตรงเพื่อยืนยันวันเดินทาง พร้อมสอบถามข้อมูลญาติที่จะเดินทางมาด้วย 1 คน

4. จัดรถรับ-ส่งถึงที่: ข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งต่อไปยัง “คลินิกเวชกรรมเส้นด้าย” ซึ่งเป็นพันธมิตรหลักในการบริหารจัดการการเดินทาง โดยทางคลินิกจะประสานงานจัดรถรับ-ส่ง ซึ่งอาจเป็นรถแท็กซี่หรือรถบริการจากเครือข่ายในพื้นที่ ไปรับผู้ป่วยและญาติจากบ้านพัก เพื่อเดินทางไปยังสถานีขนส่งหรือสถานีรถไฟ

5. เดินทางไปยัง รพ.เพื่อรับบริการ ผู้ป่วยและญาติจะเดินทางด้วยบริการขนส่งสาธารณะหลักอย่าง “บริษัท สมบัติทัวร์” หรือรถไฟ โดยไม่ต้องสำรองจ่ายค่าตั๋วเดินทาง

6. รับจากสถานีสู่โรงพยาบาล: เมื่อเดินทางมาถึงสถานีขนส่ง จะมีรถประสานงานไปรับเพื่อนำส่งไปยังโรงพยาบาลที่นัดหมายไว้อย่างสะดวกและปลอดภัย

7. ครอบคลุมการเดินทางขากลับ: กระบวนการทั้งหมดนี้จะครอบคลุมทั้งการเดินทางไปและกลับ ตั้งแต่การวางแผนการรักษา, การเข้ารับการรักษาตามนัดหมาย จนถึงการติดตามผลการรักษา (Follow-up)

“ความร่วมมือกับภาคเอกชนทั้ง “คลินิกเวชกรรมเส้นด้าย” และ “สมบัติทัวร์” ถือเป็นหัวใจหลักของการจัดระบบรับ-ส่งผู้ป่วยมะเร็งในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงพลังของการหลอมรวมเครือข่ายเพื่อเป้าหมายเดียวกัน เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งสิทธิบัตรทองได้เข้าถึงการรักษาที่จำเป็นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งขณะนี้ระบบได้เริ่มให้บริการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว” เลขาธิการ สปสช. กล่าว

นพ.จเด็จ กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดระบบรับ-ส่ง ผู้ป่วยมะเร็ง 3 รายการบริการนี้ เป็นคนละส่วนกับระบบรถรับ-ส่งผู้ทุพพลภาพและผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นการดำเนินการโดยใช้งบในส่วนของงบบริการเฉพาะ (Central reimbursement)และให้บริการผู้ป่วยมะเร็งทั่วประเทศ ขณะที่ระบบรถรับ-ส่งผู้ทุพพลภาพฯ เป็นการใช้งบประมาณในส่วนกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น (กปท.) เบื้องต้นนำร่องเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ และในจังหวัดที่ร่วมจัดตั้ง กปท. และจัดทำโครงการฯ เพื่อให้บริการเท่านั้น

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

ตลท.มาตรการซื้อขาย DV8 ระดับ 2 ห้าม Net settlement และให้ซื้อขาย Auction 16 ก.ค. - 5 ส.ค. นี้

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ศูนย์ฮีลใจนักวิ่ง! 'HOKA Culture Hub' รันคลับใหม่ใจกลางเจริญกรุง

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

'อนุทิน' รับส่งเอกสารแจงกกต.ปม'ทักษิณ' ครอบงำพรรค ยันภท.อิสระ

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

Quiet Firing ทำไมยุคนี้เจอบ่อย? เปิดเบื้องหลังการไล่ออกเงียบๆ

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

คอลลาเจน ข้อควรรู้ก่อนกิน 5 กลุ่มโรค ควรเลี่ยงอาจกระทบต่อสุขภาพ

Amarin TV

“อะมีบากินสมอง” ภัยเงียบจากน้ำธรรมชาติ ย์แพทย์ มช. เตือนประชาชนอย่าชะล่าใจ

TNN ช่อง16

ประกันสังคม ยันจ่ายค่ารักษาต่อเนื่อง ไม่ให้เป็นภาระสถานพยาบาล

ฐานเศรษฐกิจ

คปภ.สั่งเพิกถอน ใบอนุญาตนายหน้าประกัน หลอกเงินนักศึกษา ม.ขอนแก่น 57 ราย ทำกรมธรรม์ประกันภัยภาคบังคับ

BTimes

Deep Talk AI จาก DPU! ผู้ช่วยส่วนตัวเรียนรู้-สื่อสารในยุคดิจิทัล

กรุงเทพธุรกิจ

"ซิลลิค ฟาร์มา" ทุ่ม 130 ล้านบาท ยกะดับโลจิสติกส์เภสัชภัณฑ์ในไทย

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...