จับตาพิษการเมืองกระทบโปรเจ็กต์ 4 แสนล้าน“คมนาคม”ลุ้นสภาไฟเขียวกฎหมาย 5 ฉบับ ชี้ชะตา”รถไฟฟ้า 20 บาท-แลนด์บริดจ์”
จับตา”บิ๊กโปรเจ็กต์”แสนล้านหวั่นสะดุดยกแผงพิษการเมืองกระทบเสถียรภาพ“รัฐบาลแพทองธาร”ร่างกม.หนุนนโยบายเรือธง”รถไฟฟ้า20บาท”ยังไม่ผ่านสภา
กม.SECประมูล”แลนด์บริดจ์”ส่อลากยาว
หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้น.ส.แพทองธารชินวัตรนายกรัฐมนตรีหยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวมีผลตั้งแต่วันที่1ก.ค. 2568จากกรณีถูกร้องเรียนเรื่องคลิปเสียงการสนทนากับสมเด็จฮุนเซนประธานวุฒิสภาและอดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชาและพรรคภูมิใจไทยถอนตัวออกไปเป็นฝ่ายค้านทำให้”รัฐบาลแพทองธาร”ตกอยู่ในสภาพรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำสั่นคลอนอย่างมากมีการประเมินว่าหากสถานการณ์ถึงทางตันและต้องยุบสภาจะส่งผลทำให้โครงการตามนโยบายของรัฐบาลสะดุดรวมไปถึงกฎหมายหลายฉบับจะค้างสภาฯ
โดยเฉพาะ”ค่าโดยสารรถไฟฟ้า20บาทตลอดสาย”หนึ่งในนโยบายเรือธงที่”พรรคเพื่อไทย”หวังเป็นนโยบายครองใจคนกรุงเพราะจะช่วยลดค่าครองชีพในการเดินทางและทำให้เงินในกระเป๋าประชาชนเหลือไปใช้จับจ่ายในด้านอื่นได้มากขึ้นแต่…หากมีการยุบสภาก็มีโอกาสสูงที่จะล่มไปพร้อมกับรัฐบาลได้
ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการค่าโดยสารรถไฟฟ้า20บาทตลอดสายในโครงการรถไฟฟ้าแล้ว2สายคือโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงสายนครวิถี(กรุงเทพอภิวัฒน์-ตลิ่งชัน)และสายธานีรัถยา(กรุงเทพอภิวัฒน์-รังสิต)ของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)และโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายฉลองรัชธรรม(สายสีม่วง)ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)ตั้งแต่วันที่16ต.ค. 2566ปัจจุบันเป็นปีที่2แล้วซึ่งจำนวนผู้โดยสารของทั้ง2สายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่มีการกำหนดมาตรการค่ารถไฟฟ้า20บาทตลอดสายระยะที่2ในทุกเส้นทางทุกสีและทุกสายครอบคลุมทั้งโครงข่ายรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลทั้งหมดได้แก่รถไฟฟ้าสายสีเขียว,สีทอง,สีเหลือง,สีชมพู,สีน้ำเงิน,สายสีม่วง,สายสีแดงและสายแอร์พอร์ตเรลลิงก์(ARL)ให้เริ่มใช้ได้วันที่30ก.ย. 2568นั้น
การจะขยาย รถไฟฟ้า 20 บาท ให้ใช้ได้ทุกสายนั้น นอกจากการปรับปรุงระบบหลังบ้านของแอป “ทางรัฐ” เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริหารรายได้ ซึ่งจะมีการเปิดให้ลงทะเบียนภายในเดือน ส.ค. 2568 แล้ว ยังจะต้องมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นเครื่องมือในการดำเนินการด้วย ซึ่งปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฏร8203;
@ลุ้นสภาฯโหวต พ.ร.บ. 3 ฉบับ ชี้ชะตา"รถไฟฟ้า 20 บาท”ทุกสาย
การดำเนินโครงการค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายในระยะที่ 2 และการขับเคลื่อนระบบตั๋วร่วมในระยะยาว จำเป็นต้องอาศัย
กรอบกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีอยู่แล้ว คือพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เพื่อกำหนดกรอบการใช้จ่ายเงินภาครัฐและการอดหนุนบริการสาธารณะ และพ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 เพื่อกำหนดแนวทางความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
แต่ต้องมีกฎหมายอีก 3 ฉบับที่ยังอยู่ในขั้นตอนการจัดทำและปรับปรุงแก้ไข และต้องอาศัยเสถียรภาพของรัฐบาล เสียงโหวตในสภาฯผลักดัน ได้แก่
1.ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การขนส่งทางราง พ.ศ. …เพื่อกำหนดกรอบการกำกับดูแลระบบขนส่งทางรางให้มีมาตรฐานและประสิทธิภาพ
ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 8 ต.ค. 2567 มีมติเห็นชอบ และที่ประชุมสภาฯ มีมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางรางฯ วาระ 1 แล้ว เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 2567 เตรียมเสนอสภาฯพิจารณาวาระ 2,3
2.ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. ….เพื่อกำหนดแนวทางการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมให้เป็นเอกภาพและยั่งยืนเป็นการสนับสนุนการให้บริการขนส่งสาธารณะ ทั้งรถไฟ รถไฟฟ้า
ครม. มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 2567 และที่ประชุมสภาฯ มีมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.ตั๋วร่วม วาระ 1 แล้ว เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2568 เตรียมเสนอสภาฯพิจารณาวาระ 2,3
แม้พ.ร.บ.ตั๋วร่วมจะเป็น “เครื่องมือ” ในการเชื่อมค่าโดยสารระบบขนส่งมวลชนทั้งรถไฟฟ้า รถเมล์ เรือ หลายๆสายให้คิดรวมเป็นเที่ยวเดียวได้ แต่การกำหนดค่าโดยสาร 20 บาท นั้นไม่สามารทำได้ด้วยตัวกฎหมายนี้ แม้จะมีการจัดตั้งกองทุนตั๋วร่วมฯ แต่ยังมีประเด็น การเงินอุดหนุนกองทุนฯ ที่จำเป็นต้องใช้กฎหมายอื่นร่วมด้วย และยังมีเงื่อนไขสัญญาสัมปทานกับเอกชนอีก
3.ร่างพ.ร.บ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (ฉบับที่..) พ.ศ. … เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543ให้สอดคล้องกับสถาพการณ์ปัจจุบันและสามารถส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการตามภารกิจของ รฟม.ตามนโยบายรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยครม.มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2568 และที่ประชุมสภาฯ มีมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าฯ วาระ 1 แล้ว เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2568 เตรียมเสนอสภาฯพิจารณาวาระ 2,3
พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จะช่วยให้สามารถดำเนินนโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายได้ ตามกำหนดวันที่ 30 ก.ย. 2568 เนื่องจาก จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนของรายได้และอำนาจของ รฟม. โดยเปิดโอกาสให้นำเงินรายได้สะสมของรฟม. ที่มาจากส่วนแบ่งค่าสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (MRT) โอนเข้ากองทุนตั๋วร่วมเพื่อจ่ายชดเชยให้รถไฟฟ้าสายอื่นได้ เช่น จ่ายให้รฟท. เพื่อชดเชย รายได้สายสีแดง และ แอร์พอร์ตลิงก์จ่ายให้กทม.เพื่อชดเชยรายได้สายสีเขียวและสายสีทอง เป็นต้น
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า สาเหตุที่ต้องแก้ไขพ.ร.บ.การรถไฟฟ้าฯ พ.ศ.2543 เนื่องจากเดิมจะนำเงินสะสมของรฟม.ที่มีไปใส่กองทุนตั๋วร่วมฯเพื่อใช้อุดหนุน เรื่องค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายรวมถึง รายได้ของรฟม.ก็จะไม่จัดส่งกระทรวงการคลังแต่จะนำใส่กองทุนตั๋วร่วมฯ แต่ทางกระทรวงการคลังบอกว่าทำไม่ได้ เพราะรฟม.เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่จัดส่งรายได้เข้ากระทรวงการคลังเพื่อนำไปเป็นงบประมาณแผ่นดิน จึงมีการแก้ไขพ.ร.บ.รฟม.
“เพื่อความยั่งยืนและไม่เป็นภาระด้านการเงินกับรฟม.และรัฐบาลไม่ต้องชดเชยทุกปี ในอนาคตจึงมีแนวทางการซื้อคืนสัมปทานรถไฟฟ้าทุกสาย และศึกษาการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติด (Congestion charge) เพื่อนำเงินเข้ากองทุนตั๋วร่วม เพื่อนำมาบริหารจัดการเรื่องค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสายทุกเส้นทาง”
@แก้กม.การท่าเรือฯรับ"เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์"
อีกกฎหมายคือ ร่างพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … ซึ่งครม. มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 21 ม.ค.2568 และที่ประชุมสภาฯ มีมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.การท่าเรือฯ วาระ 1 แล้ว เมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2568 เตรียมเสนอสภาฯพิจารณาวาระ 2,3
เป็นการ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 เพื่อเปลี่ยน/เพิ่มเติมให้ กทท.ลงทุนหรือเข้าร่วมกิจการกับบุคคลอื่น หรือถือหุ้นในบริษัทจำกัด,จัดตั้งบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ทั้งในและนอกราชอาณาจักร ,เช่าหรือพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของ กทท. ตามความจำเป็น รองรับอนาคต
ประเด็นหลักคือ การนำพื้นที่ท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย)พัฒนาเชิงพาณิชย์ ในหลากหลายรูปแบบ โดย กทท.มีการศึกษาทบทวนแผนแม่บทการบริหารจัดการพื้นที่ท่าเรือกรุงเทพใหม่ เพื่อให้รองรับนโยบายสถานบันเทิงครบวงจร (เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ ) มูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นอีกนโยบายสำคัญของพรรคเพื่อไทย ตั้งแต่สมัยที่นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี ที่สังคมจับตาว่า เป็นเป้าหมายเพื่อให้มีกาสิโน ในประเทศ
@พ.ร.บ. SEC จ่อเข้าครม.เดินหน้า”แลนด์บริดจ์”
“แลนด์บริดจ์”อภิมหาโปรเจ็กต์ วงเงินลงทุนกว่า 1 ล้านล้านบาท เป็นอีกโครงการที่ต้องรอร่างพ.ร.บ. เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (พ.ร.บ. SEC) ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้เปิดรับความคิดเห็นภาคเอกชนประกอบ และเสนอไปที่สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) แล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างหารือกรมบัญชีกลางช่วยตรวจสอบ ประเด็นแหล่งเงินของ”กองทุนแลนด์บริดจ์” ที่จะนำมาใช้สำหรับชดเชยเป็นค่าเวนคืน หรือ ค่าชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ 4 จังหวัด คือ สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร ระนอง
“หาก เสนอครม.ขออนุมัติได้ใน 1-2 เดือนนี้ แล้ว ก็ยังต้องรอดูว่าจะสามารถนำพ.ร.บ. SEC เสนอที่ประชุมสภาฯ เพื่อให้มีมติรับหลักการได้ทันการประชุมสมัยสามัญนี้หรือไม่”
ซึ่งกระทรวงคมนาคม วางเป้าหมาย ว่าภายในเดือน พ.ย. -ธ.ค. 2568 ร่างพ.ร.บ. SEC จะแล้วเสร็จ และประกาศใช้ เดินหน้าการจัดตั้ง สำนักงาน SEC และจะเปิดประมูลคัดเลือก PPP ในช่วงต้นปี 2569… แต่หากกรณี การเมืองถึงทางตัน ไม่มีรัฐบาลไม่มีสภาผู้แทนราษฏรไปก่อน ร่างพ.ร.บ. SEC ก็ต้องสะดุด และโครงการ”แลนดบริดจ์”ชะงัก โครงการนี้ เริ่มมาจากรัฐบาล”ประยุทธ์” รัฐบาล”เศรษฐา-แพทองธาร” สานต่อ จะไปอย่างไรก็ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลใหม่ ว่าจะเห็น”แลนด์บริดจ์”ยังเป็นจุดขายใหม่ แม่เหล็กดึงดูดนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศเข้ามาสร้างฐานการผลิตในพื้นที่หรือไม่
@เช็กบิ๊กโปรเจ็กต์ 4 แสนล้าน ส่อชะงัก…หากรัฐบาลล่ม
นอกจากนี้กระทรวงคมนาคมยังมีโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง ทั้งรถไฟ ทางด่วนและมอเตอร์เวย์ ที่รอเสนอครม.อนุมัติมูลค่ารวมกว่า 4 แสนล้านบาท ได้แก่
โครงการทางพิเศษจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงกะทู้-ป่าตอง ระยะทาง 3.98 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุน รวมประมาณ 16,759 ล้านบาท ของการทางพิเศาแห่งประเทศไทย (กทพ.) เสนอเรื่องไปที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เพื่อขออนุมัติคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้วตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2568 ปัจจุบัน อยู่ระหว่างส่งข้อมูลเพิ่มเติม หลังหารือกรมบัญชีกลาง ตรวจสอบระเบียบในการใช้รูปแบบ Design & Built หรือ ออกแบบไปพร้อมก่อสร้าง
การจัดหารถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า (บทต.) โดยกำหนดให้นำชิ้นส่วนภายในประเทศและต่างประเทศมาประกอบภายในประเทศ 946 คัน วงเงิน 2,459.97 ล้านบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เสนอเรื่องไปครม.ตัั้งแต่วันที่8 เม.ย. 2568
โครงการที่เตรียมเสนอไปครม. ได้แก่
1. โครงการทางพิเศษสายฉลองรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ด้านตะวันออกหรือโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ระยะที่ 1 (ตอน N2) เดิม ระยะทางประมาณ 11.3 กม. มูลค่า ประมาณ 16,960 ล้านบาท ของกทพ. ปัจจุบัน รอหารือกทม.และรอความเห็นจากสศช.
2. โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ช่วงบางบัวทอง-บางปะอิน (M9) ระยะทาง 35 กิโลเมต วงเงิน 15,862 ล้านบาท ของกรมทางหลวง ปัจจุบัน รอความเห็นจากสศช.
3. โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 จำนวน 6 เส้นทาง ระยะทางรวม1,310.84 กม. วงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 297,926 ล้านบาท ปัจจุบัน ส่งข้อมูลเพิ่มเติมและรอความเห็นจากสศช.
4. ขอความเห็นชอบโครงการจัดหารถดีเซลรางปรับอากาศใหม่ สำหรับบริการเชิงพาณิชย์ 184 คัน พร้อมอะไหล่ วงเงินรวมทั้งสิ้น 24,150 ล้านบาท อยู่ระหว่างสอบถามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5.ขอความเห็นชอบให้ดำเนินการโครงการจัดหารถโดยสารทดแทนรถด่วนพิเศษและรถด่วน 182 คัน พร้อมอะไหล่ วงเงินรวมทั้งสิ้น 10,502 ล้านบาท อยู่ระหว่างสอบถามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6. ขอความเห็นชอบให้ดำเนินโครงการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า พร้อมอะไหล่ขนาดน้ำหนักกดเพลา 20 ตันต่อเพลา จำนวน 113 คัน วงเงินประมาณ 23,730 ล้านบาทอยู่ระหว่างสอบถามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นายสุริยะกล่าวว่า ขณะนี้ครม.ถือว่ามีองค์ประกอบครบ และมีอำนาจเต็ม ไม่มีผลกระทบต่อการทำงานแต่อย่างใด รวมถึงการดำเนินโครงการต่างๆ สามารถทำได้ตามปกติ เชื่อว่าการดำเนินนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายและโครงการพัฒนาและลงทุนต่างๆ ของกระทรวงคมนาคมจะเป็นไปตามเป้าหมายและแผนงานที่วางไว้
ด้านนางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า การทำงานของรัฐบาลยังทำได้ตามปกติ โดยเฉพาะการผลักดันแก้ไขกฎหมายและร่างพ.ร.บ.ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคม ไม่มีปัญหา เพราะเสียงของรัฐบาลยังเกินอยู่ โดยเตรียมเสนอร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคมเข้าสู่การวาระประชุม วันที่ 23 ก.ค. 2568
แม้รัฐบาลจะมั่นใจเดินหน้าทำงานต่อ และเชื่อมั่นว่า กฎหมายที่เตรียมเสนอสภาในสมัยประชุมนี้ จะคุมเสียงโหวตผ่านได้ทั้งหมด แต่เชื่อว่าพิษการเมืองครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและยังกดดันการเติบโตเศรษฐกิจประเทศโดยเฉพาะการขับเคลื่อนด้วยเม็ดเงินจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่จะหยุดชะงัก!!!
website : mgronline.com
facebook : MGRonlineLive
twitter : @MGROnlineLive
instagram : mgronline
line : MGROnline
youtube : MGR Online VDO