โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

กยศ. หักยอดซ้ำซ้อน แถมยอดหนี้เพิ่ม? สรุปกรณี กยศ. หักยอดซ้ำซ้อน และปัญหาที่คนเผชิญจากการกู้ยืม

The MATTER

อัพเดต 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Recap

จ่ายหนี้อยู่ดีๆ ยอดหนี้เพิ่มขึ้นเสียอย่างนั้น…เกิดอะไรขึ้นกับกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. ?

ช่วงวันที่ 18 กรกฎาคม 2568 ที่ผ่านมา คนจำนวนมากออกมาเล่าบนโซเชียลมีเดียว่าตนถูกหักเงิน กยศ. ซ้ำซ้อน ทั้งที่มีการชำระยอดประจำเดือนนั้นๆ หรือประจำปีนั้นๆ ไปแล้ว จนกลายเป็นความกังวล ที่หลายคนอาจเดือดร้อนจากการสูญเสียเงินที่ต้องใช้ในช่วงสิ้นเดือน

ซึ่งปัญหาเกี่ยวโยงกับ กยศ. นั้น ดำเนินต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงต้นเดือน ที่หลายคนพบว่ายอดหนี้ที่ปรากฏบนแอปพลิเคชัน กยส. Connect เพิ่มสูงขึ้น ทั้งที่ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้เลย

The MATTER ชวนย้อนดูเหตุการณ์ตั้งแต่เริ่มต้นกัน ว่าเกิดอะไรขึ้นกับ กยศ. บ้าง และเกิดจากอะไรกันแน่

เรื่องเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2568 ที่ผู้กู้ยืม กยศ. หลายคนพบว่ายอดหนี้ในแอปพลิเคชัน กยศ. Connect เพิ่มขึ้น ทั้งที่ชำระหนี้ตามปกติ โดยมียอดที่ต้องชำระคืนเพิ่มขึ้นตั้งแต่หลักพัน ไปจนถึงประมาณ 3 หมื่นบาท ทำให้เกิดความกังวลในวงกว้าง กยศ. ชี้แจงว่า กรณียอดเงินเพิ่มขึ้นนี้เกิดจากหลายส่วน อันดับแรก คือ ระบบเดิมนั้นแสดงไม่ถูกต้อง โดย ก่อนหน้านี้ กยศ. นำเงินที่ผู้กู้ยืมชำระไปหักแต่เงินต้นอย่างเดียว 100% โดยไม่ได้หักดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ ทำให้ยอดหนี้เงินต้นที่แสดงในแอปพลิเคชันน้อยกว่าความเป็นจริงมาตลอด ซึ่งเป็นแค่ยอดชั่วคราวก่อนที่จะมีการปรับปรุงระบบ ลำดับต่อมา คือกฎหมายใหม่ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2566 มีกฎหมาย กยศ. ฉบับใหม่บังคับใช้ ที่กำหนดให้การหักหนี้ต้องเป็นไปตามลำดับ คือ หัก เงินต้นส่วนที่ครบกำหนด, ดอกเบี้ย, และเงินเพิ่ม ตามลำดับ และสุดท้าย คือ การพัฒนาระบบ ที่ กยศ. เพิ่งจะพัฒนาระบบให้สอดคล้องกับกฎหมายใหม่เสร็จ ทำให้ตอนนี้เงินที่ชำระจะถูกนำไปหักตามลำดับที่ถูกต้องแล้ว และระบบได้ทำการคำนวณยอดหนี้ใหม่ย้อนหลังไปตั้งแต่เริ่มชำระหนี้ กยศ. ย้ำ ขอให้ผู้กู้ยืมไม่ต้องเป็นกังวล พร้อมยืนยันว่าผู้กู้ยืมจะไม่เสียสิทธิใดๆ ทางกฎหมายอย่างแน่นอน และยอดหนี้ที่เป็นปัจจุบันจะแสดงขึ้นบนแอปพลิเคชันภายในเดือนกรกฎาคม 2568 นี้ เพื่อให้เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น โดยสรุปจากการชี้แจงครั้งนี้ กยศ. ยืนยันว่าผู้กู้ยืมไม่ได้เสียเงินเพิ่มจากที่ควรจะเป็น เป็นเพียงการแก้ไขตัวเลขให้ถูกต้อง เช่น มีหนี้ 100 บาท (โดยเป็นเงินต้น 85 บาท และดอกเบี้ย 15 บาท) แต่แอปฯ แสดงแค่ 85 บาท เพราะหักแต่เงินต้น ซึ่งเปลี่ยนมาแสดงผลเป็นยอดหนี้ 100 บาท ซึ่งเป็นยอดที่ถูกต้องตามจริงแล้ว ทั้งนี้ ผู้ที่กู้ยืมและกำลังชำระหนี้คืนอยู่จริง เข้ามาโต้แย้งในคอมเมนต์ใต้โพสต์ชี้แจงว่า เดิมทียอดที่ขึ้นในแอปพลิเคชัน กยศ connect นั้นเป็นยอดเงินที่รวมดอกเบี้ยแล้ว และที่ชี้แจงว่าเป็นการหักเฉพาะเงินต้นก็ไม่เป็นความจริง เพราะระบบจะคำนวณมาเรียกเก็บรายปี และชี้แจงดอกเบี้ยของปีนั้นๆ แล้ว ไม่เพียงเท่านั้น เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2568 ยังมีผู้ออกมาแจ้งปัญหาการหักเงินผู้กู้ยืมซ้ำซ้อน หรือหักเกินยอด โดยบางคนจ่ายค่างวด กยศ. เป็นรายปี และจ่ายไปก่อนแล้ว หรือบางคนใช้วิธีการหักออกจากเงินเดือนที่บริษัทจะโอนให้เป็นประจำทุกเดือน แต่เมื่อถึงวันที่กำหนดกลับโดนหักยอดเงินอัตโนมัติซ้ำอีกครั้ง บางส่วนออกมาเล่าว่า ยังคงศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยอยู่ แต่กลับโดนหักเงินจากบัญชีที่ผูกไว้เช่นกัน ทั้งที่ตามระบบปกติจะต้องเริ่มมีการหักเงินชำระหนี้คืนหลังจบการศึกษาและเริ่มทำงานแล้ว คนจึงออกมาเล่าถึงความเดือดร้อนจากการโดนหักยอดเงินซ้ำซ้อน ว่าสำหรับบางคน เงินก้อนที่ถูกหักไปตั้งแต่หลักพันถึงหลักหลายหมื่นบาทนั้น อาจเป็นเงินก้อนสุดท้ายที่จะต้องใช้ไปทั้งเดือน แต่กลับถูกหักเงินออกไปโดยไม่ได้ทำอะไรผิด 20 กรกฎาคม 2568 กยศ. โพสต์ชี้แจงบนเฟซบุ๊กว่า สาเหตุเกิดจากความคลาดเคลื่อนของระบบคำนวณหนี้ใหม่ ซึ่งใช้สำหรับหักเงินอัตโนมัติจากบัญชีผู้กู้ที่มีหนี้ค้างชำระ โดยระบบดังกล่าวคำนวณยอดหนี้คลาดเคลื่อน ส่งผลกระทบต่อผู้กู้ยืมหลายราย รวมถึงบางรายที่ชำระหนี้ครบหรือชำระล่วงหน้าไปแล้วก็อาจโดนหักซ้ำด้วย กยศ. ได้ออกมาชี้แจงและขออภัยสำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และระบุว่าจะเร่งดำเนินการคืนเงินที่หักเกินพร้อมคืนค่าธรรมเนียมการโอนเงินเข้าบัญชีเดิมของผู้กู้ยืมโดยอัตโนมัติให้เร็วที่สุด ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการได้ภายใน 3 วันหลังจากได้รับการตรวจสอบร่วมกับผู้พัฒนาระบบ กยศ. ยังยืนยันว่าจะดำเนินการอย่างถี่ถ้วนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาลักษณะนี้ขึ้นอีกในอนาคต กรณีที่เกิดขึ้น ทำให้คนกลับมาถกเถียงกันในเรื่องของการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง ‘คนจ่ายตรงเสียเปรียบ’ เนื่องจากมีผู้ผิดนัดชำระหนี้อยู่จำนวนไม่น้อย ที่ผ่านมา กยศ. จึงได้มีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระหนี้อยู่เป็นระยะ เช่น การลดเบี้ยปรับ มีส่วนลด หรือมีการปรับโครงสร้างหนี้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากวงจรหนี้ และทำให้ กยศ. สามารถเรียกคืนเงินมาบริหารจัดการต่อได้ และไม่ให้กระทบสภาพคล่องของกองทุน จนอาจไม่สามารถให้กู้ยืมกับรุ่นต่อๆ ไปได้
ในมุมมองของคนที่จ่ายตรงและไม่เคยผิดนัดชำระหนี้เลย จึงรู้สึกว่า "ทำไมคนที่ไม่รักษาวินัยถึงได้รับการช่วยเหลือพิเศษ ในขณะที่เราที่พยายามจ่ายตรงตลอดกลับไม่เคยได้รับอะไรแบบนี้เลย?"
ผู้กู้ยืมที่จ่ายตรงจึงมีความคาดหวังว่า กยศ. ควรจะมีมาตรการที่ สร้างสมดุล ระหว่างการช่วยเหลือผู้มีปัญหาทางการเงิน บการให้รางวัลหรือจูงใจแก่ผู้ที่มีวินัยที่ดี อย่างการพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้ที่ชำระตรงเวลาต่อเนื่อง

อ้างอิงจาก

facebook.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก The MATTER

รู้จัก ‘Work Intensification’ เมื่องานที่ทำเข้มข้นขมปี๋ขึ้น จนทำให้เราอ่อนล้าทั้งกายใจ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

โลกอีกใบมาสร้างไว้ในที่ทำงาน? อะไรทำให้คนนอกใจแฟนมาแอบกิ๊กกับเพื่อนร่วมงาน

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

พายุวิภา ซัดเวียดนามแล้ว เตรียมตัวพรุ่งนี้ไทยเจอของจริง ตกหนัก ลมแรง

BRIGHTTV.CO.TH

‘เจ้าคุณณรงค์’ วัดม่วง เริ่มจำได้ ‘เอาทองไปขาย’ แต่ยังไม่ชัดเจน

The Bangkok Insight

กรมศุลกากร จับกุมสินค้าผิดกฎหมาย มูลค่ากว่า 88 ล้านบาท

AEC10NEWs

ฉาวโฉ่! สาวเสพยาโจ่งครึ่มกลางเมืองพัทยา วอนเร่งจับกุมหวั่นทำลายภาพการท่องเที่ยว

เดลินิวส์

‘LAS VEGAS SANDS’ โครงการระดับอัลตร้าลักชัวรีแห่งใหม่ในสิงคโปร์ คาดเป็นจุดหมายด้านความบันเทิง 8 พันล้านเหรียญ

TODAY

สีสันการแข่งขันส้มตำลีลา ท่าเก็บของลิซ่าก็มา

สำนักข่าวไทย Online

กมธ.ศาสนาฯ วุฒิสภา จ่อคุมพระแชต-วิดีโอคอลสีกา สกัดปัญหา “ลับหู”

เดลินิวส์

GCNT ผนึกกำลังทุกภาคส่วน จัด ‘GCNT EXPO 2025’ เร่งเครื่องประเทศไทยสู่หมุดหมายความยั่งยืน ท่ามกลางวิกฤตและความท้าทาย

THE STANDARD

ข่าวและบทความยอดนิยม

สรุปทรัมป์เก็บภาษีไทย 36% เรื่องที่เราควรรู้ ถ้าไทยยังถูกสหรัฐฯ เก็บภาษี ‘เท่าเดิม’

The MATTER

ยุบพรรค-ตัดสิทธิ์-ปลดนายกฯ ย้อนดูบทบาท ‘ศาลรัฐธรรมนูญ’ หลังการเลือกตั้ง ปี 62

The MATTER

สรุปคลิปเสียง แพทองธาร – ฮุน เซน เมื่อนายกฯ ไทยถูกกัมพูชา บันทึกและเผยแพร่เสียงสนทนา ระหว่างเจรจาเรื่องปัญหาพรมแดน

The MATTER
ดูเพิ่ม
Loading...