โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ชัวร์ก่อนแชร์: ซิลิโคนเสริมหน้าอก เสี่ยงมะเร็ง จริงหรือ?

ชัวร์ก่อนแชร์

อัพเดต 17 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว • สำนักข่าวไทย อสมท

25 กรกฎาคม 2568
แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล

ข้อมูลน่าสงสัย :

มีความกังวลใจเกี่ยวกับการเสริมความงามและความเสี่ยงมะเร็ง เมื่อมีการเชื่อมโยงการเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนกับการป่วยเป็นมะเร็งเต้านม

บทสรุป :

1.การเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนผิวไม่เรียบ เพิ่มความเสี่ยงมะเร็ง BIA-ALCL เล็กน้อย
2.แต่การเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนผิวเรียบ ไม่พบความเสี่ยงมะเร็ง BIA-ALCL แต่อย่างใด
3.ผู้เสริมหน้าอกตวรตรวจคัดกรองเต้านมเป็นประจำทุก 2-3 ปี

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :

ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลพิสูจน์ว่า การเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านม

แต่พบว่าการใช้ซิลิโคนบางชนิด เพิ่มความเสี่ยงเล็กน้อยต่อการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดที่หาได้ยาก

BIA-ALCL มะเร็งต่อมน้ำเหลืองจากซิลิโคนเสริมหน้าอก

BIA-ALCL เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดที่หาได้ยาก ที่รู้จักในชื่อ Anaplastic Large Cell Lymphoma (ALCL)

ซึ่งการเกิด ALCL จากการเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนจะเรียกอาการนี้ว่า Breast Implant-Associated Anaplastic Large Cell Lymphoma หรือ BIA-ALCL

BIA-ALCL จะเกิดบริเวณเนื้อเยื่อแผลเป็นรอบ ๆ ถุงซิลิโคน บริเวณต่อมน้ำเหลืองใกล้ ๆ เต้านม ไม่ได้เกิดบริเวณเต้านมโดยตรง

การรักษา BIA-ALCL คือการผ่าเอาถุงซิลิโคนออกมาพร้อมกับก้อนมะเร็ง บางรายอาจต้องรักษาร่วมด้วยเคมีบำบัดและรังสีบำบัด หากตรวจพบได้เร็วสามารถรักษาให้หายขาดได้

BIA-ALCL พบแต่ผู้ใช้ซิลิโคนผิวไม่เรียบเท่านั้น

ข้อมูลพบว่า ผู้ป่วย BIA-ALCL ทั้งหมด มาจากการใช้ซิลิโคนผิวไม่เรียบทั้งหมด ทำให้ในปี 2019 องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) สั่งให้บริษัท Allergan เรียกคืนซิลิโคนผิวไม่เรียบที่จำหน่ายในสหรัฐฯ ทั้งหมด หลังพบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง BIA-ALCL

อัตราความเสี่ยงมะเร็ง BIA-ALCL ตามชนิดของซิลิโคนดังนี้

1.ผิวเรียบ (Smooth) – ไม่มีโอกาสเกิดโรค BIA-ALCL
2.ผิวทรายแบบละเอียด (Microtexture) – มีโอกาสเกิดโรค BIA-ALCL เท่ากับ 1 : 82,000
3.ผิวทรายแบบหยาบ (Macrotexture) – มีโอกาสเกิดโรค BIA-ALCL เท่ากับ 1 : 3,200
4.โพลียูรีเทน (Polyurethane) – มีโอกาสเกิดโรค BIA-ALCL เท่ากับ 1 : 2,800

BIA-SCC มะเร็งจากซิลิโคนเสริมหน้าอก

อีกโรคมะเร็งที่พบได้ยากจากการเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคน คือมะเร็งสเควมัสเซลล์ คาร์ซิโนมา (Squamous Cell Carcinoma : SCC)

การเกิด SCC จากการเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนจะเรียกอาการนี้ว่า Breast Implant-Associated Squamous Cell Carcinoma หรือ BIA-SCC

BIA-SCC จะเกิดบริเวณเนื้อเยื่อแผลเป็นรอบ ๆ ถุงซิลิโคนคล้าย BIA-ALCL แต่ผู้เชี่ยวชาญยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ปัจจัยใดทำให้ผู้เสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนมีความเสี่ยงเป็นมะเร็ง BIA-SCC

แต่การที่ BIA-ALCL และ BIA-SCC เป็นอุบัติการณ์ของโรคที่เกิดขึ้นได้ยากมาก ผู้ที่ทำการเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนจึงไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเอาซิลิโคนออกแต่อย่างใด แต่ควรเฝ้าระวังด้วยการตรวจคัดกรองเต้านมเป็นประจำทุก 2-3 ปี

ข้อมูลอ้างอิง :

https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/womens-health/expert-answers/breast-implants-and-cancer/faq-20057774
https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC9354718/
https://www.bangmodaesthetic.com/article/content08082019

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์: การสักลาย เสี่ยงมะเร็ง จริงหรือ?

54 นาทีที่แล้ว

ชัวร์ก่อนแชร์ : เป็น “ไข้ทับระดูห้ามฉีดยา” เพราะอาจถึงตายได้ จริงหรือ ?

18 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดประโยชน์ กินไข่แก้โรค จริงหรือ ?

18 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ชัวร์ก่อนแชร์ : ผลิตภัณฑ์เสริมสมรรถภาพทางเพศ จริงหรือ ?

21 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

เปิดคู่มือเอาตัวรอดภัย ‘สงคราม’ ชายแดนไทย-กัมพูชา

เดลินิวส์

‘ทูตกัมพูชา’ ตีมึนโวย ‘ไทย’ ต้องหยุดยิง แต่ ‘ทหารเขมร’ เปิดฉากยิง ‘ภูมะเขือ’ แต่เช้ามืด

เดลินิวส์

กรมอุตุฯ เผย “เหนือ-อีสาน” ยังมีฝนตกหนักบางแห่ง

สำนักข่าวไทย Online

ไฟไหม้โกดังเก็บผ้าย่านทุ่งครุ ดับเพลิงระดมฉีดน้ำกว่าครึ่งชม. เร่งหาสาเหตุ!

เดลินิวส์

‘ทีมโฆษกกองทัพบก’ โพสต์อาลัย 6 ทหารกล้า เสียชีวิตจากการปฏิบัติภารกิจ พิทักษ์อธิปไตยของชาติ

เดลินิวส์

เกาะติดสถานการณ์เหตุปะทะไทย-กัมพูชา 26 ก.ค. 68 ยังมีเหตุปะทะต่อเนื่อง

PPTV HD 36

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 26 ก.ค. 68

AEC10NEWs

ราคาน้ำมันวันนี้ (26 ก.ค. 68) เช็กราคาดีเซล-แก๊สโซฮอล์ล่าสุด

ประชาชาติธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

ชัวร์ก่อนแชร์: ฉีดโบท็อกซ์ เสี่ยงมะเร็ง จริงหรือ?

ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์: ใช้ยาย้อมผม เสี่ยงมะเร็ง จริงหรือ?

ชัวร์ก่อนแชร์

กษัตริย์อังกฤษพบแพทย์เรื่องรักษามะเร็ง

ชัวร์ก่อนแชร์
ดูเพิ่ม
Loading...