โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ดีลสันติภาพของทรัมป์! (The Trump Peace Deal)

THE STANDARD

อัพเดต 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา • thestandard.co
ดีลสันติภาพของทรัมป์! (The Trump Peace Deal)

Just spoke to the Prime Minister of Cambodia relative to stopping the War with Thailand. I am calling the Acting Prime Minister of Thailand, right now, to likewise request a ceasefire, and end the War, which is currently raging …

After speaking to both Parties, Ceasefire, Peace, and Prosperity seems to be a natural. We will see soon!

President Donald J. Trump

26th July 2025

หลายคนอาจไม่เชื่อเลยกับถ้อยแถลงในโซเชียลของทรัมป์ในปัญหาการสู้รบระหว่างไทยกับกัมพูชา จนอาจกล่าวได้ว่า เป็นดังเรื่องที่ ‘แทบไม่น่าเชื่อ’ กับข่าวที่ปรากฏในคำ่คืนวันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคมที่ผ่านมา เมื่อข่าวชิ้นหนึ่งจากทำเนียบขาวปรากฏในเวทีระหว่างประเทศ … ผู้นำสหรัฐฯ เรียกร้องให้ไทยและกัมพูชาต้องหยุดยิง จากปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม ตามแนวชายแดนของทั้ง 2 ประเทศ เพราะความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มที่จะขยายตัวออกไป โดยเฉพาะการใช้อาวุธโจมตีระยะไกล ซึ่งทำให้ประชาคมระหว่างประเทศมีความกังวลในเรื่องนี้

แน่นอนว่า ในเบื้องต้น ไม่ชัดเจนว่า สิ่งที่ปรากฏนั้น ‘จริงหรือไม่’ เพราะในโลกที่ AI สามารถสร้างทุกสิ่งทุกอย่างได้ หลายฝ่ายจึงมีคำถามอย่างมากว่า สิ่งที่ผู้นำสหรัฐฯ นั้น เป็นถ้อยแถลงที่แท้จริงหรือไม่?

ในเวลาต่อมาเพียงไม่นานนัก ก็มีคำยืนยันที่ชัดเจนว่า ข้อเรียกร้องหยุดยิงของทำเนียบขาวเป็น ‘เรื่องจริง’ ไม่ใช่ประดิษฐกรรมของ AI แต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับในทางการเมืองระหว่างประเทศว่า ข้อเรียกร้องของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ในครั้งนี้ มีความน่าสนใจอย่างมาก บทความนี้จึงอยากทดลองนำเสนอข้อสังเกตบางประการ ดังนี้

  • ประธานาธิบดีทรัมป์ไม่ได้เรียกร้องให้รัฐคู่พิพาทหยุดยิงด้วยวาจาเท่านั้น หากแต่ยังมีการดำเนินการในสิ่งที่ทฤษฎีวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเรียกว่า ‘มาตรการบังคับทางการทูต’ (Coercive Diplomacy)
  • การใช้มาตรการบังคับในครั้งนี้ ไม่ใช่การใช้มาตรการบังคับในทางทหารที่เราคุ้นเคยในแบบเดิม ซึ่งในวิธีการแบบเดิมของรัฐมหาอำนาจนั้น มักจะเป็นการใช้ ‘เครื่องมือทางทหาร’ เป็นแบบแผนหลัก และอาจนำไปสู่การใช้กำลังทหารแทรกแซงเพื่อยุติวิกฤตความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
  • มาตรการบังคับให้เกิดการหยุดยิงครั้งนี้ เป็น ‘การบังคับในทางเศรษฐกิจ’ ที่สหรัฐฯ ขู่ว่า จะไม่มีการเจรจาเรื่องกำแพงภาษีกับรัฐคู่พิพาททั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งจะเห็นชัดว่า ในครั้งนี้ ทำเนียบขาวใช้ ‘เครื่องมือทางเศรษฐกิจ’ เป็นมาตรการบังคับ ซึ่งมิติทางเศรษฐกิจเช่นนี้เป็นสิ่งที่ทรัมป์นิยมชมชอบ
  • มาตรการบังคับของสหรัฐฯ ให้หยุดยิงครั้งนี้ เป็นการกดดันกับสิ่งที่รัฐคู่พิพาทต้องการอย่างมากคือ การเจรจาเพื่อผ่อนคลายผลที่จะเกิดเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจภายใน เพราะทุกประเทศต้องการการส่งสินค้าออกไปตลาดสหรัฐฯ จึงน่าสนใจอย่างมากว่า มาตรการนี้จะประสบความสำเร็จเพียงใด เพราะทรัมป์กล่าวชัดเจนว่า สหรัฐฯ จะไม่เจรจาทางการค้ากับประเทศที่ยังรบกัน (“We … do not want to make any Deal, with either Country, if they are fighting.” – Trump)
  • ในเบื้องต้น ผู้นำรัฐทั้ง 2 คงต้องตอบรับกับเสียงเรียกร้องของทำเนียบขาว แต่ในทางปฏิบัตินั้น การหยุดยิงจะเริ่มได้จริงเมื่อใด และจะหยุดอย่างไร
  • ความเป็นจริงของสถานการณ์สงคราม กองทัพของแต่ละฝ่ายยังมีสภาวะ ‘ติดพันสนามรบ’ ที่อาจจะต้องการความชัดเจนของนโยบายทางการเมืองจากรัฐบาล รัฐบาลจะต้องคิดหา ‘ทางออก’ จากภาวะสงครามให้ได้ โดยมีเงื่อนไขของทำเนียบขาวเข้ามาเป็นปัจจัยด้วย
  • ในสภาวะของวิกฤตการณ์ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชาครั้งนี้ ต้องยอมรับว่า รัฐบาลไทยมีภาพของความ ‘อ่อนแอ-อ่อนหัด’ โดยเฉพาะระดับตัวผู้นำรัฐบาล จนสังคมภายในของไทยไม่ตอบรับกับการดำเนินการของรัฐบาล และส่งผลในทางกลับกันอย่างน่ากังวล ให้เกิดการสนับสนุน ‘กระแสทหารนิยม’ ควบคู่ไปกับ ‘กระแสชาตินิยม’
  • การเจรจาสันติภาพเพื่อยุติปัญหานี้ จะปรากฏในรูปแบบใด จะดำรงเวทีที่เป็นทวิภาคี หรือในอนาคต สหรัฐฯ อาจจะเข้ามาเป็น ‘คนกลาง’ เพราะรัฐคู่พิพาทยังไม่มีสัญญาณของการหยุดยิงจริงๆ แต่อย่างใด หรือสหรัฐฯ อาจเล่นบทบาทเป็น ‘ผู้กดดัน’ แต่ไม่เข้ามาเป็นคนกลาง และบังคับด้วยมาตรการทางเศรษฐกิจให้ทั้ง 2 ฝ่ายต้องยุติการรบ
  • ในสงครามชุดนี้ แต่เดิมหลายฝ่ายคาดการณ์ถึงบทบาทของจีนที่อาจจะเข้ามาเป็น ‘คนกลาง’ เพราะการมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างประเทศทั้ง 2 โดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมาคือ ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดอย่างมากระหว่างจีนกับกัมพูชา โดยเฉพาะการซ้อมรบทางทหารระหว่างประเทศทั้ง 2 เกิดก่อนที่การปะทะตามแนวพรมแดนไทย-กัมพูชาจะเริ่มขึ้น และจีนเองก็มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับไทยด้วย
  • ในบริบทการเมืองระหว่างประเทศ เป็นที่จับตามองกันว่า หากจีนเข้ามาเป็นผู้ยุติสงคราม ก็อาจนำไปสู่การขยายบทบาทของจีนในภูมิภาค เช่นที่ญี่ปุ่นเคยมีบทบาทเช่นนี้ในการยุติสงครามอินโดจีน 2484 ระหว่างสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศส และตามมาด้วยการขยายบทบาทของญี่ปุ่นในสยามก่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
  • ถ้าสหรัฐฯ เข้ามาเป็นคนกลางและ/หรือคนจัดการยุติการสู้รบในครั้งนี้ จึงน่าสนใจว่า การดำเนินการของทรัมป์ จะเป็นปัจจัยในการเสริมสร้างบทบาทของสหรัฐฯ อย่างไรหรือไม่ในอนาคต ทั้งในบริบทของความสัมพันธ์กับไทย และกับกัมพูชา
  • ในมุมมองของเวทีโลก ไม่มีใครอยากเห็นสงครามชายแดนไทย-กัมพูชาขยายตัว จนกลายเป็น ‘สงครามที่ควบคุมไม่ได้’ และนำไปสู่การไร้เสถียรภาพของภูมิภาค เพราะเวทีโลกยังเผชิญกับปัญหาสงครามที่ไม่มีข้อยุติคือ สงครามยูเครน สงครามกาซา สงครามซูดาน เป็นต้น และทั้งในเวทีโลกไม่มีใครต้องการเห็นการเกิดของ ‘วิกฤตการณ์มนุษยธรรม’ จากสงครามครั้งนี้ เนื่องจากวิกฤตการณ์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่สังคมโลกไม่อาจยอมรับได้ เช่น ตัวอย่างของปัญหายูเครน หรือกาซา
  • ในเวทีโลก อาจจะไม่มีใครใส่ใจว่าสงครามเริ่มต้นอย่างไร แต่โลกจะให้ความสนใจกับความสูญเสียที่เกิดกับประชาชน และพิจารณาถึงระดับของการใช้กำลัง ดังนั้น ประชาคมโลกจึงอยากเห็นการยุติสงคราม และถ้าสงครามยังขยายตัวไปไม่หยุด เวทีโลกพร้อมที่กดดันด้วยมาตรการบังคับให้เกิดการหยุดยิง เพื่อที่การหยุดยิงจะเป็นจุดเริ่มต้นของ ‘การลดระดับสงคราม’ (De-escalation of War)
  • การใช้มาตรการบังคับของสหรัฐฯ เห็นมาแล้วในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ด้วยการเป็น ‘คนกลาง’ ให้เกิดการยุติสงครามระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (DRC) กับรวันดา ที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตและผู้ลี้ภัยเป็นจำนวนมาก การใช้มาตรการบังคับในสงครามไทย-กัมพูชา อาจไม่แตกต่างกันท่ีสหรัฐฯ เข้ามาเล่นบทเป็นคนจัดการครั้ง
  • การมีบทบาทของทรัมป์ในลักษณะเช่นนี้ ต้องยอมรับว่าเป็น ‘บทบาทเชิงบวก’ อย่างมากกับการยุติปัญหาความขัดแย้งที่สำคัญชุดหนึ่งของโลกในทวีปแอฟริกา และเป็นการเปิดพื้นที่สำหรับการลงทุนในสินแร่ที่หายากและมีค่าในทางเศรษฐกิจ (ดูรายละเอียดใน “Rwanda, Congo sign peace deal in the US to end fighting, attract investment,” in Reuters, June 28, 2025)
  • อดคิดเล่นๆ ไม่ได้ว่า ถ้าทรัมป์ยุติสงครามด้วยมาตรการบังคับทางเศรษฐกิจได้จริงแล้ว (อาจรวมถึงการยุติสงครามยูเครน อย่างที่ทรัมป์ฝันเสมอมา) ในกรณีนี้ ทรัมป์อาจกลายเป็นผู้ได้รับการเสนอในการชิง ‘รางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ’ ได้ไม่ยาก … ขณะที่ปีกเสรีนิยมไม่มีทางยอมรับทรัมป์ได้อย่างแน่นอน
  • ปีกอนุรักษ์นิยมสุดโต่งไทยอาจไม่ตอบรับ เพราะคนกลุ่มนี้อยากเห็นการขยายตัวของสงคราม และนำไปสู่การทำลายล้างขนาดใหญ่กับเป้าหมายในกัมพูชา แต่ต้องตระหนักเสมอว่า ไทยไม่ใช่อิสราเอลที่จะเปิดสงครามได้อย่างสุดโต่ง เช่นที่เกิดในกาซา และในทางการเมืองระหว่างประเทศ ไทยก็ไม่อยู่ในสถานะเช่นเดียวกับอิสราเอลแต่อย่างใด
  • สังคมไทยในส่วนหนึ่งต้องคิดที่จะไม่พาประเทศไปติด ‘กับดักสงคราม’ เพราะสงครามที่ลากยาวออกไป มีราคาทางเศรษฐกิจทั้งในระดับชาติ และเศรษฐกิจชายแดนเป็นค่าใช้จ่าย รวมถึงราคาชีวิตของผู้สูญเสีย และเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดในภาวะที่เศรษฐกิจไทยมีความเปราะบางอย่างมาก
  • ในอีกด้านของปัญหา สงครามชายแดนมักเป็นปัจจัยในการกระตุ้นอารมณ์ทางการเมืองในแบบ ‘ลัทธิชาตินิยม’ และปัญหาเช่นนี้ เกิดในทั้ง 2 ประเทศไม่แตกต่างกัน และอารมณ์การเมืองแบบนี้ยังเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความชมชอบในแบบ ‘ลัทธิเสนานิยม’ ฉะนั้น การจะยุติความขัดแย้ง จะต้องหาทางลดระดับของกระแสการเมืองชุดนี้ลงให้ได้ เนื่องจาก ทั้งชาตินิยมและเสนานิยมนั้น ล้วนเป็นปัจจัยพื้นฐานในการขับเคลื่อนความขัดแย้งระหว่างประเทศเพื่อนบ้านเสมอ
  • คำถามของสถานการณ์สนามที่เป็นจริงก็คือ แม้ทรัมป์จะมีถ้อยแถลงดังกล่าวแล้ว การสู้รบระหว่างประเทศทั้ง 2 ยังไม่ยุติลงแต่อย่างใด (บ่ายวันที่ 27 กรกฎาคม 2568) ฉะนั้น ถ้าทั้ง 2 ฝ่ายยังรบกันต่อไป และไม่หยุดจริง ทรัมป์จะออก ‘มาตรการลงโทษ อย่างที่ขู่ไว้จริงหรือไม่ อันมีนัยว่า ทั้งไทยและกัมพูชาจะต้องแบกภาระภาษีของสินค้าเข้าสหรัฐฯ ในอัตราที่ ‘ไม่เป็นคุณ’ กับระบบเศรษฐกิจของตนเองอย่างแน่นอน
  • น่าสนใจว่า ในมุมมองของทรัมป์นั้น ปัญหาความขัดแย้งไทย-กัมพูชาอาจย้อนรอยแบบประวัติศาสตร์ความขัดแย้งในเอเชียใต้ เพราะเขาไม่ต้องการเห็นการย้อนรอยของสงครามในแบบของ ‘ความขัดแย้งระหว่างอินเดีย-ปากีสถาน’ หวนกลับเกิดมาอีกครั้งจากปัญหาชายแดนไทยกัมพูชา (“It very much reminds me of the Conflict between Pakistan and India” – Trump)
  • ทำเนียบขาวประกาศชัดเจนว่า ไม่ยุติสงครามระหว่างกันแล้ว การเจรจาทางการค้ากับสหรัฐฯ จะเกิดไม่ได้เลย การประกาศเช่นนี้ เป็นการออก ‘มาตรการบังคับทางการทูต’ อย่างชัดเจน จึงน่าสนใจว่า ประเทศคู่ขัดแย้งจะดำเนินการต่อจากนี้อย่างไร (“When all is done, and Peace is at hand, I look forward to concluding our Trading Agreements with both” – Trump)

กล่าวสรุปง่ายๆ สำหรับข้อเสนอของทรัมป์ในปัญหาไทย-กัมพูชา คือ ‘ไม่เลิกรบ ไม่คุย’ … ประเด็นนี้จึงน่าสนใจติดตามอย่างยิ่ง

จะเดินสู่อนาคตอย่างไร?

หลังจากคำร้องของทำเนียบขาวออกมาในคืนวันเสาร์ที่ 26 ตกบ่ายวันอาทิตย์ที่ 27 สงครามยังดำเนินต่อไปเสมือนหนึ่งผู้นำทั้ง 2 ประเทศ ยังมีอาการ ‘หูหนวก’ จากเสียงเรียกร้องของทรัมป์ แม้ทรัมป์จะแถลงว่า ได้คุยกับผู้นำทั้ง 2 แล้วก็ตาม

ดังนั้น จากข้อเรียกร้องของทรัมป์ครั้งนี้ จึงน่าติดตามอย่างมากว่า รัฐบาลทั้ง 2 ประเทศจะ ‘ปีนบันไดสงครามลง’ อย่างไรจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น … เราอาจต้องยอมรับในทางยุทธการว่า สงครามประเทศเพื่อนบ้านนั้น ‘รบกันพอประมาณ’ แล้วต้องหยุด เพราะสงครามชุดนี้ ไม่ใช่สงครามเบ็ดเสร็จที่นำไปสู่การยึดครองของรัฐผู้ชนะเช่นสงครามตีเมืองในยุคกรุงศรีอยุธยาแต่อย่างใด

ในความเป็นจริงแล้ว ธรรมชาติของสงครามเพื่อนบ้านในโลกสมัยใหม่นั้น การสู้รบที่เกิดขึ้นมักเป็นเพียง ‘สงครามสั่งสอน’ เท่านั้นเอง และไม่ใช่ ‘สงครามยึดครอง’ อย่างแน่นอน!

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก THE STANDARD

มาริษชี้ไทยมีภาพลักษณ์ดีในสายตาชาวโลก มองเป็นนิมิตหมายดีกัมพูชายอมเจรจาในกลไกทวิภาคี

18 นาทีที่แล้ว

‘สัตตาหกรณียะ’ เมื่อพระสงฆ์ต้องสละวัดกลางพรรษาหนีภัยชายแดน

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ไทย-กัมพูชา บรรลุข้อตกลงหยุดยิงทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข มีผลเที่ยงคืนนี้

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เปิดรายละเอียด ‘คำต่อคำ’ แถลงการณ์ร่วมเจรจาหยุดยิงไทย-กัมพูชา

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

3 องค์กรสื่อออกแถลงการณ์ขอความร่วมมือรายงานข่าวชายแดนอย่างรับผิดชอบ

TNN ช่อง16

มาริษชี้ไทยมีภาพลักษณ์ดีในสายตาชาวโลก มองเป็นนิมิตหมายดีกัมพูชายอมเจรจาในกลไกทวิภาคี

THE STANDARD

กองทัพไทย ซัด “มาลี” โฆษกเขมร สร้างข่าวเท็จซ้ำซาก-ไร้หลักฐานรองรับ

PPTV HD 36

เปิดคลิปวินาที 18.00 น. ทหาร ร้องเพลงชาติไทย บนภูมะเขือ หลังการเจรจาหยุดยิง เมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมา

MATICHON ONLINE

สรุปลำดับเหตุการณ์ไทย–กัมพูชา จากชายแดนตึงเครียดสู่ข้อตกลงหยุดยิง 28 ก.ค.

TNN ช่อง16

แท็กซี่เผยนาทีถูกปืนจี้กลางทาง หวิดเอาชีวิตไม่รอด สุดช็อกแต่ต้องจำใจพาคนร้ายไป อ.ต.ก.

Khaosod

ทภ.2 แจ้งประชาชนงดเดินทางกลับภูมิลำเนาจนกว่าจะประกาศ

สยามรัฐ

"บิ๊กเล็ก" ยันกองทัพรักษาอธิปไตยได้เรียบร้อย พร้อมปกป้องจนถึงเที่ยงคืนแล้วหยุดยิง เพื่อแสดงความเป็นประเทศที่เจริญแล้ว

Manager Online

ข่าวและบทความยอดนิยม

Goldman Sachs เพิ่มเป้าหมายดัชนีหุ้นจีน 11% บนความหวังสหรัฐฯ เจรจาการค้ากับจีนลุล่วง

THE STANDARD

พิธาชี้ กัมพูชาเสี่ยงกว่าไทยปมภาษีสหรัฐฯ แนะสองฝ่ายหันหน้าเจรจา อย่าเอาเศรษฐกิจมาเสี่ยง

THE STANDARD

ภูมิธรรมนำทีมไทยแลนด์ บินเจรจา ‘ฮุน มาเนต’ ที่มาเลเซีย ชี้ยึดหลักการ ‘หยุดยิงทันที-รักษาอธิปไตย’ เชื่อทั่วโลกยืนอยู่ข้างไทย

THE STANDARD
ดูเพิ่ม
Loading...