โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

"ดีลการค้า" แลกมาด้วยความเสี่ยง สินค้า 2 ชาติ สหรัฐฯ-จีน ไหลเข้าประเทศ "Twin Influx"

TNN ช่อง16

เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว
ความเสี่ยงจากดีลการค้า สินค้า 2 ชาติไหลเข้าประเทศ

ความเสี่ยงจาก "ดีลการค้า" ที่มากกว่า "ภาษี"

ทำความรู้จักกับ ‘Twin Influx’ การที่สินค้าที่หลั่งไหลเข้ามาในประเทศพร้อมๆ กันถึงสองทาง คือ ทั้งจากสหรัฐอเมริกา และจากประเทศจีน เป็นความเสี่ยงที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นในประเทศไทย และอีกหลายประเทศโดยเฉพาะอาเซียน จุดเริ่มต้นสำคัญของความเสี่ยงนี้ และคือ การประกาศเรียกเก็บภาษีนำเข้าที่สูงขึ้นไปยังคู่ค้าจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ หรือ Reciprocal Tariff เพื่อหวังลดการขาดดุลการค้า และทำให้ชาติต่างๆ กลุ่มต่างๆ วิ่งเข้าหาเพื่อขอเจรจาการค้า ต่อรองให้มีการลดภาษี โดยยอมแลกกับหลายสิ่ง

เช่น เวียดนาม และอินโดนีเซีย 2 ชาติอาเซียนที่บรรลุดีลการค้าสำเร็จ ได้ลดภาษีทรัมป์เหลือ ที่ 20 % และ 19 % จากเดิม 46 % และ 32 % แต่ต้องยอมแลกด้วยการเปิดเสรีตลาด หรือเก็บภาษีสินค้าอเมริกันที่อัตรา 0% ขณะที่ประเทศไทยถูกเรียกเก็บภาษีจากสหรัฐฯ ที่ 36% และเร่งเจรจาต่อรองด้วยเงื่อนไขคล้ายกับ 2 ชาติอาเซียน คือ ยอมแลกเสรีตลาด หรือภาษี 0 % กับสินค้าจากสหรัฐฯ หลายรายการ แต่ย้ำว่ามีการดูแลไม่ให้กระทบกับภาคการผลิตของไทย หรือไม่กระทบต่อคนไทย เน้น Win-Win ได้ประโยชน์ 2 ฝ่าย ภายใต้เส้นตายที่ภาษีนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ 1 สิงหาคม 2025

ข้อมูลจาก วิจัยกรุงศรี หรือ Krungsri Research

ประเมินกรณีเลวร้าย : หากประเทศไทยต้องเสียภาษีให้แก่สหรัฐฯ สูงถึง 36% เราอาจต้องสูญเสียมูลค่าการส่งออกในระยะยาวถึง 1.62 แสนล้านบาท โดยสินค้าที่จะได้รับผลกระทบหนักที่สุด ได้แก่ สิ่งทอ เครื่องหนังและรองเท้า คาดว่าจะติดลบ - 7.5% , อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้า (-6.1%), สินค้าผลิตอื่น ๆ (เช่น ไม้ กระดาษ การพิมพ์ และเฟอร์นิเจอร์) (-4.8%), อาหารและเครื่องดื่ม (-3.2%) และ ยางและพลาสติก (-2.1%) โดยภาคส่วนเหล่านี้ส่งออกไปยังสหรัฐฯเป็นหลักสูงสุดถึง 35% จากตลาดโลก และเมื่อรวมทั้งหมดแล้วคิดเป็น 13.6% ของ GDP ของไทยในปี 2566

ประเมินกรณีปิดดีลสำเร็จ : หากประเทศไทยเราสามารถปิดดีลกับสหรัฐฯได้สำเร็จ และเป็นไปตามความคาดของรัฐบาลไทย คือ ลดการเรียกเก็บภาษีเหลือเพียง 20% ตามทิศทางภูมิภาค โดยไทยยอมแลก เรียกเก็บภาษี 0% จากสินค้าสหรัฐฯ คาดว่าจะช่วยลดผลกระทบต่อการส่งออกของไทยได้ถึง 9.3 เท่า คาดว่าจะสูญเสียการส่งออกลดลง เหลืออยู่ที่ 1.74 หมื่นล้านบาท จาก 1.62 แสนล้านบาท เมื่อโดนภาษี 36%

อย่างไรก็ตาม วิจัยกรุงศรี มองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในกรณีนี้ก็มาพร้อมกับความเสี่ยง เป็นผลกระทบด้านลบที่สำคัญ ที่ต้องจับตาและเฝ้าระวัง นั่นคือสิ่งที่เรียกว่า "การหลั่งไหลสองทาง (Twin Influx)" แม้จะช่วยลดปัญหาการส่งออกได้ แต่การเปิดเสรีตลาดในประเทศ จัดเก็บภาษี 0% ให้สินค้าจากสหรัฐฯ อาจนำมาซึ่งความเสี่ยงที่สินค้าอเมริกันจะพุ่งขึ้นอย่างมหาศาล และจะกระทบกับเศรษฐกิจในระยะยาวได้

หากเราเปิด"เสรีตลาด"ให้แก่สหรัฐฯ : วิจัยกรุงศรี Krungsri Research คาดการณ์ว่าในระยะยาว สินค้าจากสหรัฐฯจะพุ่งขึ้นกว่าเดิมจากติดลบ จะบวกไปถึง 27% หรือ 1.88 แสนล้านบาท แต่ที่สำคัญ ที่น่าห่วงที่สุด คือ สถานการณ์ "การหลั่งไหลสองทาง Twin Influx " ซึ่งหมายถึงการที่สินค้าจากสหรัฐฯ ทะลักเข้ามาไทยพร้อมๆ กับการหลั่งไหลของสินค้าจีน ที่หลั่งไหลเข้าสู่ไทยและอาเซียนอยู่แล้วก่อนหน้านี้และจะมีเพิ่มขึ้นไปอีก ทั้งจากการผลิตเกินอุปทานในภาคการผลิตของจีน และภาษีทรัมป์ที่กดดันไปยังจีน หรือกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนนั่นเอง

ประเทศไทยต้องตั้งรับและเตรียมพร้อม กับสินค้าหรือภาคส่วนในไทยที่เสี่ยงกลายเป็นเหยื่อ ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการนำเข้าเหล่านี้ แบ่งเป็นสินค้าจากสหรัฐ กลุ่มที่หนักสุด ก็คือ ภาคเกษตรและอาหารและเครื่องดื่ม ที่อาจจะทะลักหรือหลั่งไหลเข้ามาเพิ่มขึ้นถึง 155% เกษตรกรรม 134% ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง 74% สิ่งทอเครื่องหนังและรองเท้า 50% ยางและพลาสติก 43%

"สินค้าจากประเทศจีน" ที่มีความเสี่ยง ทะลักเข้าสู่ไทยมากกว่าเดิม ได้แก่ เหมืองแร่ และเหมืองหิน 29% ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง 18% เกษตรกรรม 13% โลหะและอโลหะ 11% อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้า 11 %

นอกจากนี้ “Twin Influx” อาจจะกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน และส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตในประเทศ โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรมที่มีการจ้างงานถึง 28.6% ของกำลังแรงงานในปี 2567

ทั้งนี้ล่าสุด หลังจากที่สหรัฐฯ และจีนบรรลุข้อตกลงการค้าปรับลดภาษี Reciprocal Tariffs ระหว่างกันในเบื้องต้น พบว่าการส่งออกจีนในเดือนมิถุนายนที่่ผ่านมา กลับมาเติบโตขึ้นครั้งแรกอยู่ที่ 5.8% การส่งออกจากจีนไปอาเซียนที่ยังเติบโตแข็งแกร่งที่ 16.8% โดยจีนส่งออกมาไทยเติบโตสูงสุดในอาเซียนอยู่ที่ 27.9%

การส่งออกของไทยนับตั้งแต่ต้นปีทีผ่านมา มีปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญมากจากการที่ประเทศต่างๆเร่งนำเข้าสินค้าเพื่อหนีภาษีทรัมป์ ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ รายงานว่าการส่งออกของไทยเดือนพฤษภาคม 2568 มีมูลค่า 31,044.6 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 18.4 % ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 นับเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 38 เดือน นับตั้งแต่มีนาคม 2565 และถือเป็นมูลค่าการส่งออกรายเดือน สูงสุดในประวัติศาสตร์ โดยการส่งออกขยายตัวเร่งขึ้นในตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ จีน สหภาพยุโรป และตลาดรอง อาทิ ทวีปออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และลาตินอเมริกา

รัฐบาลยืนยันว่าดีลภาษีกับสหรัฐฯ ยึดหลัก "Win-Win"

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจาภาษีกับทางการสหรัฐฯ ได้ออกมาเปิดเผยว่า รัฐบาลได้เตรียมพร้อมการออกมาตรการเพื่อดูแลผู้ประกอบการที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ โดยที่ผ่านมารัฐบาลได้มีเม็ดเงินจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 157,000 ล้านบาท จากงบประมาณปี 2568 ที่กันไว้สำหรับดูแลผู้ประกอบการที่จะได้รับผลกระทบโดยตรง จากเฟสแรกวงเงิน 10,000 ล้านบาท และยังมีเงินกระตุ้นเศรษฐกิจที่เหลืออยู่นำมาดำเนินการได้อีก 40,000-50,000 ล้านบาท รวมกับงบประมาณปี 2569 ที่อยู่ในการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรที่จะเกลี่ยเพื่อจัดงบประมาณรับมือผลกระทบมากขึ้น พร้อมเตรียมการให้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ เตรียมสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีและซัพพลายเชนการส่งออกตลาดสหรัฐวงเงิน 200,000 ล้านบาท

เช่นเดียวกับกระทรวงพาณิชย์ที่ระบุว่าเตรียมแผนเยียวยาไว้ แบ่งเป็น 2 สมมติฐาน คือ สมมติฐานแรก ไทยถูกเรียกเก็บภาษี 36% และสมมติฐานสอง ไทยถูกเรียกเก็บภาษี 20% เทียบเท่าเวียดนาม ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญ โดยพิจารณาว่ามีสินค้าประเภทไหนได้รับผลกระทบบ้างในระดับใด ซึ่งทั้งหมดจัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว รอเพียงแค่ผลเจรจาว่าที่สุดแล้วจะออกมาอย่างไร พร้อมดำเนินการ

ความท้าทายกำลังเกิดขึ้นแล้วกับเศรษฐกิจไทย ไม่ว่าผลการเจรจาระหว่างไทยและสหรัฐฯ จะออกมาในรูปแบบไหนก็ตาม การค้าโลกได้เปลี่ยนไปแล้ว ภายใต้ผู้นำของสหรัฐฯ ที่ชื่อว่าโดนัลด์ ทรัมป์ ทุกคนต้องตั้งรับ เตรียมพร้อม และปรับตัวตามให้ทันท่วงที

อ้างอิง : https://www.krungsri.com/th/research/research-infographic/twin-influx-2025


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TNN ช่อง16

กองทัพเรือเปิดยุทธการตราดพิฆาตไพรี 1 ดันกัมพูชาถอยจากเขตแดนไทย 3 จุด

24 นาทีที่แล้ว

เปิดดูรายละเอียด "ญี่ปุ่น" ยอมแลกอะไรบ้าง ทำไม "สหรัฐฯ" ยอมหั่น "ภาษีทรัมป์" เหลือ 15 %

32 นาทีที่แล้ว

ไทด์ เอกพันธ์-ทับทิม อัญรินทร์ เตรียมวิวาห์! ควงกันภ่ายพรีเวดดิ้งแล้ว

42 นาทีที่แล้ว

โปรแกรมกีฬาวันนี้ พร้อมช่องถ่ายทอดสด วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม 2568

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

เปิดดูรายละเอียด "ญี่ปุ่น" ยอมแลกอะไรบ้าง ทำไม "สหรัฐฯ" ยอมหั่น "ภาษีทรัมป์" เหลือ 15 %

TNN ช่อง16

KLeasing wins Best Automobile Financing award from The Asian Banker

AEC10NEWs

นักลงทุนคิดหนักค้ากัมพูชา เขมรยิงมั่ว-ธุรกิจหายวับ 1.1 หมื่นล้าน

ประชาชาติธุรกิจ

ราคาน้ำมันประจำวันที่ 26/07/68 อัปเดตจาก 4 สถานี

สยามรัฐ

ศุลกากรปราบปรามภาค 2 สกัดกั้นจับกุมตรวจยึดอะโวคาโด อย่างต่อเนื่อง

AEC10NEWs

กูรูเปิดโผ 7 กลุ่มหุ้นไทย รับผลกระทบความขัดแย้งไทย - กัมพูชา ปะทุ

ฐานเศรษฐกิจ

‘คิงเพาเวอร์’ รีเซตธุรกิจ ลั่น 2 ปีขึ้นผู้นำในเกมใหม่

ประชาชาติธุรกิจ

ราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัส ลดลง 87 เซนต์

สยามรัฐ

ข่าวและบทความยอดนิยม

จีนกังวลอย่างลึกซึ้งต่อสถานการณ์ไทย-กัมพูชา ส่งเสริมการเจรจาอย่างเหมาะสม

TNN ช่อง16

บอร์ดกระตุ้นเศรษฐกิจ ไฟเขียวโยกงบประมาณ 4.2 หมื่นล้าน ที่เหลือจากงบกระตุ้น 1.57 แสนล้าน ใช้รับมือภาษีทรัมป์

TNN ช่อง16

"ออสเตรเลีย" เลิกแบนเนื้อวัวจากสหรัฐฯ หวังเอาใจ "ทรัมป์"

TNN ช่อง16
ดูเพิ่ม
Loading...