จีนลุยเขื่อนยักษ์บนที่ราบสูงทิเบต สะเทือนเสถียรภาพน้ำภูมิภาค
จีนได้เริ่มก่อสร้างโครงการพลังงานน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก มูลค่า 170,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากพอในแต่ละปีสำหรับทั้งสหราชอาณาจักร โครงการนี้มีขนาดใหญ่กว่าเขื่อนสามผาที่เคยยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบัน
จีนระบุว่า โครงการนี้จะเข้าถึงพลังงานสะอาด การจ้างงาน และแรงกระตุ้นต่อเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ขณะที่สำหรับประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ท้ายน้ำ โครงการนี้ได้ปลุกความวิตกเดิมเกี่ยวกับความมั่นคงด้านน้ำขึ้นมาอีกครั้ง เนื่องจากแม่น้ำยาร์ลุงซางโปจะกลายเป็นแม่น้ำพรหมบุตรเมื่อไหลเข้าสู่อินเดียและบังกลาเทศ ซึ่งถือเป็นเส้นชีวิตของผู้คนนับล้าน
แผนดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อน 5 แห่งตลอดระยะทาง 50 กิโลเมตร ซึ่งเป็นบริเวณที่แม่น้ำตกลงจากที่ราบสูงทิเบตถึง 2,000 เมตร พลังงานไฟฟ้าแรกคาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในช่วงต้นถึงกลางทศวรรษ 2030
จีนยังไม่ได้เผยแพร่ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนการก่อสร้างโครงการนี้อย่างไร การขาดข้อมูลนี้ยิ่งเพิ่มความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงด้านน้ำในอินเดียและบังกลาเทศ ซึ่งพึ่งพาแม่น้ำพรหมบุตรเพื่อการชลประทาน การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ และน้ำดื่ม
หัวหน้าคณะรัฐมนตรีของ รัฐอรุณาจัลประเทศตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนืออินเดีย และอยู่ติดกับชายแดนจีน กล่าวเมื่อต้นปีนี้ว่า เขื่อนดังกล่าวอาจทำให้แม่น้ำที่ไหลผ่านรัฐอินเดียแห่งนี้แห้งถึง 80% ในขณะเดียวกันก็อาจทำให้พื้นที่ท้ายน้ำ เช่น รัฐอัสสัมที่อยู่ติดกัน เกิดน้ำท่วม
ตามความเห็นของ ไมเคิล สเต็คลอร์ ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยโคลอมเบีย ระบุว่า นอกจากเรื่องน้ำแล้ว เขื่อนนี้ยังอาจหมายถึงการมีตะกอนดินน้อยลงที่ไหลลงสู่ท้ายน้ำ ตะกอนเหล่านี้มีสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเกษตรในพื้นที่ราบลุ่มของท้ายน้ำ
คามความเห็นของ ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ทางน้ำระหว่างอินเดีย-จีน จากมหาวิทยาลัยแอริโซนา ระบุว่า อินเดียและจีนเคยทำสงครามชายแดนในภูมิภาคนี้ในช่วงทศวรรษ 1960 และการขาดความโปร่งใสจากจีนได้ยิ่งทำให้เกิดการคาดเดาว่า จีนอาจใช้เขื่อนนี้ตัดน้ำในกรณีเกิดความขัดแย้งอีกครั้ง ขณะที่แผนของจีนเป็นโครงการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำแบบ "Run of the River" ซึ่งหมายถึงว่าน้ำจะไหลตามเส้นทางธรรมดาของแม่น้ำพรหมบุตรตามปกติ
กระทรวงการต่างประเทศจีน ระบุเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่า การก่อสร้างโครงการพลังงานน้ำยาร์ลุงซางโปเป็นเรื่องภายในอธิปไตยของจีน เขื่อนจะให้พลังงานสะอาดและป้องกันอุทกภัย จีนได้ดำเนินการสื่อสารที่จำเป็นกับประเทศท้ายน้ำเกี่ยวกับข้อมูลอุทกวิทยา การควบคุมอุทกภัย และความร่วมมือด้านการลดภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับโครงการยาร์ลุงซางโป
อินเดียเองก็เสนอสร้างเขื่อน 2 แห่งบนแม่น้ำเซียง ซึ่งเป็นชื่อของแม่น้ำยาร์ลุงซางโปในอินเดีย โดยหนึ่งในนั้นคือโครงการผลิตไฟฟ้า 11.5 กิกะวัตต์ในรัฐอรุณาจัลประเทศ ซึ่งหากดำเนินการจะกลายเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดของอินเดีย เขื่อนเหล่านี้มีการเสนอขึ้นบางส่วนเพื่อยืนยันสิทธิของอินเดียเหนือแม่น้ำสายนี้ และเสริมความชอบธรรมในกรณีที่จีนพยายามเบี่ยงเบนน้ำ
ความขัดแย้งเรื่องเขื่อนและความมั่นคงด้านน้ำไม่ใช่เรื่องใหม่
ปากีสถานเคยกล่าวหาอินเดียว่าใช้น้ำที่ใช้ร่วมกันเป็นอาวุธในพื้นที่พิพาทแคชเมียร์ หลังจากที่นิวเดลีระงับการเข้าร่วมในสนธิสัญญาน้ำสินธุ ซึ่งกำกับการแบ่งปันน้ำระหว่างสองประเทศ
ในอียิปต์ นักการเมืองอาวุโสคนหนึ่งเคยถูกจับภาพได้ขณะเสนอให้ทิ้งระเบิดเขื่อนแม่น้ำไนล์ที่เป็นที่ถกเถียงกันซึ่งเอธิโอเปียวางแผนสร้าง ระหว่างการขัดแย้งที่ยืดเยื้อเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว
ความเสี่ยงจากแผ่นดินไหวและสภาพอากาศสุดขั้ว
เขื่อนจะถูกสร้างในเขตที่เกิดแผ่นดินไหวได้ และยังเสี่ยงต่อดินถล่ม น้ำท่วมจากทะเลสาบธารน้ำแข็ง และพายุ การเร่งสร้างเขื่อนในพื้นที่นี้ก่อให้เกิดความกังวลจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความปลอดภัย หลังจากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในทิเบตเมื่อต้นปีนี้
โครงการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กกว่ามากในลำน้ำสาขาใกล้เคียงนั้นจำกัดเวลาการก่อสร้างไว้เพียง 4 เดือนต่อปี เนื่องจากความท้าทายทางวิศวกรรมในพื้นที่สูงและฤดูหนาวที่โหดร้าย