โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

เกาะติดผลเจรจาภาษีสหรัฐ หลังประเทศเพื่อนบ้านเหลือ 19-20%

Businesstoday

อัพเดต 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 20 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Businesstoday

สถานการณ์เศรษฐกิจไทย โดยจับตาผลการเจรจาการค้าไทย-สหรัฐฯ หลัง 2 ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนต่อรองภาษีตอบโต้เหลือ 19-20% ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้อาจชะลอลงจากปีก่อน

“วิจัยกรุงศรี” ระบุว่า แม้มีมาตรการรองรับผลกระทบสงครามการค้าจาก BOI แต่ยังต้องติดตามการเจรจากการค้าไทยกับสหรัฐฯ เลขาสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เผยว่าจากการประกาศใช้นโยบายเก็บภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯล่าสุด ทำให้นักลงทุนเกิดความกังวล ประกอบกับการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น

ทาง BOI จึงออกมาตรการ “ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการไทย เพื่อรองรับโลกยุคใหม่” โดยมีเป้าหมาย คือ 1.เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเสริมสร้าง Supply Chain ในประเทศให้แข็งแกร่ง และ 2.ลดความเสี่ยงจากนโยบายการค้าสหรัฐฯ และจัดระเบียบการลงทุนเพื่อรักษาสมดุลในการแข่งขันทางธุรกิจให้เหมาะสม ประกอบด้วย 5 มาตรการ

ข้อมูลจาก BOI ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตของยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนที่เพิ่มขึ้นทั้งในแง่จำนวนโครงการ (822 โครงการ หรือ +20% YoY) และมูลค่าการลงทุน (4.31 แสนล้านบาท หรือ +97% YoY) นำโดยการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมดิจิทัล และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนของนโยบายภาษีของสหรัฐฯนับเป็นแรงกดดันที่มีนัยสำคัญต่อการตัดสินใจของนักลงทุนโดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทานโลก และพึ่งพาการเข้าถึงตลาดสหรัฐฯเป็นหลัก

ทั้งนี้ยังต้องติดตามการเจรจาการค้าไทยกับสหรัฐฯ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการว่าจะสามารถลดอัตราภาษีตอบโต้ให้ต่ำกว่า 36% ได้หรือไม่ ขณะที่ประเทศคู่แข่งในภูมิภาคอย่างเวียดนามและอินโดนีเซียสามารถเจรจาลดอัตราภาษีลงเหลือ 20% และ 19% ตามลำดับ หากไทยเผชิญอัตราภาษีที่สูงกว่าอาจกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของไทยในระยะต่อไป

จำนวนนักท่องเที่ยวจีนฟื้นตัวอย่างช้าๆ วิจัยกรุงศรีคาดปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดเพียง 34 ล้านคน ล่าสุดข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง วันที่ 13 กรกฏาคม มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยรวม 17.75 ล้านคน ลดลง 5.6% YoY สร้างรายได้ 8.22 แสนล้านบาท โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ มาเลเซีย จีน อินเดีย รัสเซีย เกาหลีใต้

จากข้อมูลรายสัปดาห์ล่าสุดแม้เห็นสัญญาณการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจีนที่เพิ่มขึ้นสู่ระดับกว่า 10,000 คนต่อวัน จากราว 7,000-8,000 คนต่อวัน ในช่วงก่อนหน้า แต่ยังนับว่าต่ำเมื่อเทียบกับปี 2562 ที่เคยมากถึง 30,000 คนต่อวัน สะท้อนให้เห็นว่าการฟื้นตัวยังอ่อนแอและยังไม่กลับเข้าสู่ระดับก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 ซึ่งนอกจากผลกระทบจากความกังวลด้านความปลอดภัยแล้ว ยังเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงจากประเทศคู่แข่ง เช่น ญี่ปุ่น และเวียดนาม

ปัจจัยดังกล่าวจึงเป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ทำให้ วิจัยกรุงศรี ตัดสินใจปรับลดคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเดินทางเข้าไทยในปี 2568 ลงเหลือ 34 ล้านคน จากเดิมคาดที่ 36.5 ล้านคน และลดลงจากปีก่อนที่ 35.5 ล้านคน โดยประเมินว่าการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจีนอาจยังไม่สามารถเร่งตัวได้ในช่วงครึ่งปีหลัง ขณะที่ตลาดท่องเที่ยวจากประเทศอื่นๆ แม้บางประเทศจะมีแนวโน้มดีขึ้น อาทิ อินเดีย และยุโรป แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะชดเชยช่องว่างของจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เคยเป็นตลาดหลักของไทย

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Businesstoday

Business Today Thai Politics 23 กรกฎาคม 2568

14 ชั่วโมงที่ผ่านมา

หวังภาษีทรัมป์ต่ำกว่า 36% ส่งออกไทยเสี่ยงสูญเสียส่วนแบ่ง

16 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่นๆ

“ทิสโก้” ย้ำอสังหาชะลอตัวครึ่งปีหลัง แนะจับตา AP-SIRI ท็อปฟอร์มเหนือคู่แข่ง

ข่าวหุ้นธุรกิจ

ไข่เป็ด หรือ ไข่ไก่ ฟองไหนดีต่อสุขภาพมากกว่ากัน?

The Bangkok Insight

ดาวโจนส์ปิดพุ่งกว่า 500 จุด รับข่าวดีข้อตกลงการค้าญี่ปุ่น หนุนความหวังดีลสหรัฐฯ-ยุโรป

efinanceThai

เตือนภัย บริการรับทำใบเสร็จปลอม กระตุ้นให้มีการฉ้อโกงออนไลน์พุ่ง

ฐานเศรษฐกิจ

ราคาน้ำมันวันนี้ 24 ก.ค. ปรับลดลง! อัปเดตราคาน้ำมันทุกชนิดจาก 3 ปั๊มใหญ่ที่นี่

The Bangkok Insight

ดีลที่ดี...ต้อง Co-Create

กรุงเทพธุรกิจ

แรงเกินคาด!

ข่าวหุ้นธุรกิจ

MTC ผูกหนี้-แก้หนี้.!

ข่าวหุ้นธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...