โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ต่างประเทศ

ไทยยอมได้หรือไม่? ถ้ารู้ว่าสหรัฐตั้งใจใช้'ภาษี'บีบให้เราแยกตัวจากเศรษฐกิจจีน (Decoupling)

The Better

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • THE BETTER

อย่างที่คาดไว้ไม่ผิด โดนัลด์ ทรัมป์ เลื่อนกำหนดขึ้นภาษีประเทศต่างๆ ออกไปอีกจนกว่าจะถึงวันที่ 1 สิงหาคม

ผมเชื่อว่าถ้าประเทศส่วนใหญ่และประเทศใหญ่ยังตกลงกับทรัมป์ไม่ได้ มีหวังทรัมป์เลื่อนกำหนดต่อไปอีก แต่จะใช้กลเม็ดอื่นทำให้คนเข้าใจว่าเขาทำตามคำพูด โดยที่เนื้อแท้แล้วเขายังไม่กล้าจะลงมือทำจริงๆ

มีแต่ประเทศเล็กๆ ที่เจรจาไม่เป็นเท่านั้นที่ "ยอมก้มหัว" ให้ทรัมป์ นั่นคือ เวียดนามกับกัมพูชา

ดีลของทั้งสองประเทศยังไม่ได้เปิดเผยออกมา อัตราภาษีของกัมพูชาลดลงมาพอสมควร แต่ของฟรีไม่มีในโลก ผมเชื่อว่าสิ่งที่กัมพูชาแลกไปนั้นอาจรวมถึงการ "รื้อห่วงโซ่อุปาทานกับจีนทั้งหมด" นั่นคือเลิกรับผลิตให้จีนไปเลย ซึ่งเป็นเรื่องที่ร้ายแรงมาก พราะสาเหตุที่กัมพูชาถูกขึ้นภาษีสูงถึง 49% ก็เพราะสหรัฐฯ มองว่ากัมพูชาทำตัวเป็นโรงงานให้จีน

นี่แหละครับ ประเทศที่ไร้ประสบการณ์ในการเจรจาก็มักจะเอาทั้งตัวเข้าแลกแบบนี้ ผลก็คือ คนจีนโกรธเขมรไปแล้ว ครั้นจะให้สหรัฐฯ รักใคร่ตนก็ยากอีก เพราะมีโอกาสที่ทรัมป์ที่ไม่รู้จักพออาจจะขอร้องให้กัมพูชาทำอะไรที่เจ็บตัวอีก เพราะสหรัฐฯ ยังถือไพ่เหนือกว่านั่นคือภาษีที่สูงถึง 36%

ทั้งกัมพูชาและเวียดนามทิ้งจีนแบบไม่รีรอ ทำให้คนจีนไม่พอใจกันยกใหญ่หาว่า "หักหลัง" นั่นเป็นเรื่องของจีน แต่สิ่งที่เราเรียนรู้จากกรณีของเวียดนามกับกัมพูชาก็คือ ทั้งสองประเทศ "รีบร้อน" ไม่สนใจจะ "ใช้พลังการร่วมกลุ่มเข้าสู้" และที่สำคัญ "ไม่รู้จักถ่วงดุล"

อาเซียนทั้งกลุ่มนั้นรวมตัวกันเหนียวแน่นเป็น "กองทัพเดียวกัน" ในทันทีหลังจากรัฐบาลทรัมป์ประกาศไปไม่กี่ชั่วโมง จากการรายงานของสำนักข่าว AFP ที่เห็นร่างแถลงการณ์ของอาเซียนระบุว่า รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนระบุตามร่างแถลงการณ์ร่วมว่า "เราแสดงความกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดด้านการค้าโลกที่เพิ่มสูงขึ้นและความไม่แน่นอนที่เพิ่มมากขึ้นในภูมิทัศน์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินการฝ่ายเดียวที่เกี่ยวข้องกับภาษีนำเข้า"

รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนไม่ได้ระบุชื่อสหรัฐฯ โดยตรง แต่กล่าวว่าภาษีนำเข้านั้น "ไม่เกิดประโยชน์และมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการแตกแยกทางเศรษฐกิจทั่วโลก และก่อให้เกิดความท้าทายที่ซับซ้อนต่อเสถียรภาพและการเติบโตของเศรษฐกิจอาเซียน"

แถลงการณ์นี้จะเป็นไฮไลท์ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ในสัปดาห์นี้

ที่น่าสนใจก็คือ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ จะเดินทางร่วมกับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์นี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางเยือนเอเชียเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง

ประจวบเหมาะพอดีกับที่ "เจ้านาย" ของเขา คือ ทรัมป์ ประกาศเดินทางขึ้นภาษีประเทศในอาเซียน และเมื่ออาเซียนมีท่าทีต่อต้านการขึ้นภาษีอย่างชัดแจ้งขนาดนั้น รูบิโอ มีโอกาส "หน้าแหก" ในการประชุมครั้งนี้ หากเขาจะดึงดันให้อาเซียน "สละจีน" แล้วหันมา "ซบอก" สหรัฐฯ อีกครั้ง

ต้องยอมใจ รูบิโอ อย่างหนึ่งก็คือ ในบรรดารัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ช่วงหลังๆ มีเขานี่แหละที่สนใจอาเซียน แม้จะนิดๆ หน่อยๆ ก็ถือว่ามากกว่าคนอื่นๆ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลของเขาปฏิบัติต่ออาเซียนด้วยการขึ้นภาษี แบบนี้จะให้อาเซียนคุยดีๆ ได้อย่างไร?

จากการรายงานของสำนักข่าว AFP เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวโดยขอไม่เปิดเผยชื่อว่า รูบิโออาจบอกกับบรรดาผู้นำว่า สหรัฐฯ ต้องการที่จะ "ปรับสมดุล" ความสัมพันธ์ทางการค้า

พูดง่ายๆ คือไม่ได้มาแก้ไขสถานการณ์อะไรเลย แต่มาย้ำอีกครั้งว่า "พวกคุณต้องถูกขึ้นภาษีนะ และนี่คือเหตุผลที่ผมมาที่นี่"

นักวิเคราะห์รายหนึ่งบอกกับ AFP ว่า คาดว่ารูบิโอจะแสดงบทบาทในการ "ปลอบประโลม" หลังจากที่ทรัมป์ประกาศเรื่องภาษีศุลกากรล่าสุด

“เราสามารถหวังได้ว่ารูบิโอจะส่งสารเชิงบวกเพื่อย้ำถึงความสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ” มุสตาฟา อิซซุดดิน นักวิเคราะห์ด้านกิจการระหว่างประเทศจากบริษัทที่ปรึกษาโซลาริส สแตรทิจีส์ สิงคโปร์ กล่าวกับ AFP

แต่เขากล่าวเสริมว่า “การมีส่วนร่วมที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นของสหรัฐฯ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจถูกขัดขวางด้วยแนวทางการทำธุรกรรมระหว่างประเทศของทรัมป์”

รูบิโอและรัฐบาลทรัมป์คงคิดว่า เวียดนามกับกัมพูชายอมสละจีนได้ อาเซียนก็คงทำแบบเดียวกันง่ายๆ

โปรดทราบว่า เวียดนามกับกัมพูชานั้นอ่อนหัดในเรื่องการระหว่างประเทศ ทั้งสองประเทศนี้มีชื่อในเรื่อง "เลือกข้างแบบขอไปที" และ "ไร้สกิลในการถ่วงดุล" จนกระทั่งเกิดความฉิบหายต่อประเทศตัวเองมาไม่รู้เท่าไรแล้ว

เวียดนามกับกัมพูชายอมที่จะทำ Decoupling หรือการแยกตัวทางเศรษฐกิจกับจีน เพราะคิดว่าเลือกสหรัฐฯ ฝ่ายเดียวคุ้มกว่า แต่ลืมคิดไปว่าแม้แต่สหรัฐฯ ก็ยังทำ Decoupling กับจีนไม่ได้เลย นักวิเคราะห์บางคนถึงบอกว่า ทั้งสองประเทศกำลังเป็นหนูทดลองให้สหรัฐฯ ประเมินการ Decoupling แบบจริงๆ จังๆ

แน่นอนว่า หนูทดลองที่ทดลองไม่ผ่าน ย่อมซี้แหงแก๋

เมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีรายงานจาก Reuters ซึ่งอ้างแหล่งข่าวในรัฐบาลเวียดนามว่า เวียดนามถูกขอให้ “ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งจะทำให้สหรัฐฯ ต้องพึ่งพาส่วนประกอบจากจีนน้อยลง

แหล่งข่าวรายหนึ่งบอกว่า เป้าหมายสูงสุดคือการเร่งการทำ Decoupling ของสหรัฐฯ ออกจากการพึ่งเทคโนโลยีขั้นสูงจากจีน (โดยผ่านทางเวียดนาม) โดยยกตัวอย่างอุปกรณ์เสมือนจริงว่าเป็นตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่ประกอบในเวียดนามที่พึ่งพาเทคโนโลยีของจีนมากเกินไป

นั่นแสดงว่า สหรัฐฯก็ยังทำ Decoupling กับจีนไม่ไหว แต่ต้องทำผ่านเวียดนาม

แต่จะขอบอกว่าการยึดโยงกับจีนนั้นไม่ใช้เรื่องที่จะ Decoupling ได้ง่ายๆ เพราะจีนลงทุนในอาเซียนสูงกว่าที่สหรัฐฯ ลงทุนมานานหลายสิบปีแล้ว หากสหรัฐฯ ต้องการใช้การขึ้นภาษีบีบอาเซียนให้แยกตัวจากจีน ก็เท่ากับตัดท่อน้ำเลี้ยงของอาเซียน

ถ้าทรัมป์กับพลพรรคใจกว้างสักหน่อย ควรจะลงทุนเพิ่มในอาเซียนไม่ใช่ขึ้นภาษีอาเซียน แบบนี้จึงควรค่ากับการพูดคุยกันหน่อย กับการขึ้นภาษีด้วยแล้วจะบีบให้เลิกคบจีนด้วยนั้น มันเห็นแก่ได้ไปหน่อย และพาลจะสร้างศัตรูเปล่าๆ

แม้แต่ "เพื่อนแท้"ของสหรัฐฯ ก็ทนไม่ไหว

เราจึงเห็นว่า วันเดียวกันนั้น นายกรัฐมนตรีของออเสตรเลียจึงประกาศเดินทางเยือนจีนในทันที ข่าวนี้ได้รับความสนใจอย่างมาก ผมเองก็รู้สึกว่า "มันบังเอิญเกินไปแล้ว" หนึ่งคือวันเวลาเหมาะเจาะเกินไป และสองคือออสเจรเลียกับจีนเคยเทลาะกันเมื่อไม่นานมานี้แล้วคืนดีเมื่อเร็วๆ นี้เอง

ก่อนหน้านี้ ทรัมป์กำหนดอัตราภาษี 10% ต่อออสเตรเลีย ทำให้นายกรัฐมนตรีอัลบาเนซีกล่าวว่าเขาจะเจรจากับสหรัฐอเมริกาเพื่อยกเลิกภาษี ในเวลานั้นเอง เซียวเฉียน เอกอัครราชทูตจีนประจำออสเตรเลียเสนอให้ออสเตรเลีย "ร่วมมือกัน" กับจีนด้วยการเรียกเก็บภาษีจากทรัมป์ แต่ออสเตรเลียปฏิเสธข้อเสนอ จนกระทั่งมีข่าวว่านายกรัฐมนตรีอัลบาเนซีจะเยือนจีนด้วยตัวเองในวันนี้

ต่อมาหลังจากที่ทรัมป์ประกาศเก็บภาษี 100% กับภาพยนตร์ที่ผลิตนอกสหรัฐอเมริกา รัฐบาลออสเตรเลียได้เรียกภาษีดังกล่าวว่า "ไม่ยุติธรรม" ออสเตรเลียที่ไม่โดนตรงๆ ก็ยังนิ่งไม่ไหว แล้วทำให้ต้องพิจารณาเปิด "การเจรจาการค้า" กับสหภาพยุโรปอีกครั้ง หลังจากเจรจาครั้งนี้ล้มเหลวในปี 2023 นั่นหมายความว่า ออสเตรเลียไม่หวังจะพึ่งสหรัฐฯ แล้วคงเพราะรู้สึกว่าทรัมป์ "บูลลี่เก่ง" และเอาแน่เอานอนไม่ได้

สรุปก็คือ ออสเตรเลียอาจจะรวมพลังกับจีน และรวมพลังกับสหภาพยุโรป สหภาพยุโรปก็อาจรวมพลังกับจีนด้วยเช่นกัน

ขณะที่มหามิตรของสหรัฐฯ อย่างญี่ปุ่นก็ออกอาการไม่ยอมก้มหัวอย่างชัดเจน โดยนายกรัฐมนตรีชิเงรุ อิชิบะของญี่ปุ่น กล่าวว่าการประกาศภาษีศุลกากรครั้งล่าสุดนี้ “เป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างแท้จริง” และย้ำว่าเขาจะยังคงเจรจากับรัฐบาลสหรัฐฯ ต่อไป

ส่วนอินเดียที่เคยกอดจูบกับสหรัฐฯ ล่าสุด ประกาศจะร้องเรียนกับองค์การการค้าโลก (WTO) เพื่อที่จะเก็บภาษีจากสหรัฐฯ ให้สมกับที่อินเดียถูกทรัมป์เก็บเพิ่ม จะเห็นว่ามิตรและประเทศนิยมสหรัฐฯ นั้นไม่มีใครยอมเลยสักรายเดียว

แม้แต่ "ศัตรู" ของจีนแผ่นดินใหญ่ คือไต้หวันยังไม่อาจจะแยกตัวทางเศรษฐกิจกับแผ่นดินใหญ่ได้ง่ายๆ NYT ถึงกับมีบทความว่า " ไต้หวันจะสามารถแยกตัวจากเศรษฐกิจจีนได้หรือไม่?" คำตอบก็คือ "นักวิเคราะห์กล่าวว่าการแยกเศรษฐกิจของทั้งสองออกจากกันโดยสิ้นเชิงนั้นเป็นเรื่องยาก"

สรุปก็คือ สหรัฐฯ กำลังจะถูก Decoupling โดยคู่กรณีทั่วโลก ส่วนสหรัฐฯ เองก็ยังทำ Decoupling กับจีนไม่ได้ แล้วไทยจะยอมเดินตามเกมโดยยอมเป็นหนูทดลองงั้นหรือ?

ดังนั้นประเทศใหญ่ๆ ยังไม่ได้ดีลและยังไม่ยอม ไทยก็ไม่ต้องรีบเร่งจนเสียการเสียงานเหมือนเวียดนามกับกัมพูชา ในเวลานี้ควรเจรจากับสหรัฐฯ ด้วย และรวมกลุ่มกันสู้ด้วย ไม่ใช่โชว์เดี่ยวแบบบางประเทศแล้วเสียระบบไปหมด

เราควรมองให้ลึกว่าเกมนี้คือการจงใจให้ไทย Decoupling กับจีน โดยเข้าใจไว้ก่อนว่าการทำ Coupling กับจีนก็ไม่ใช่การเลือกข้าง แต่เป็นความโยงใยในระบบโลกาภิวัฒน์ (ที่สหรัฐฯ เคยบังคับให้ทุกประเทศอยู่ในระบบนี้แท้ๆ) จนกระทั่งการค้าโลกนั้นไร้พรมแดนและยึดโยงกันไปหมด การที่สหรัฐฯ จะให้เรา Decoupling กับจีนหรือใครก็ตาม จึงเป็นเรื่องผิดธรรมชาติ และจะส่งผลร้ายต่อไทย แม้ไทยจะรอดจากการขึ้นภาษีของทรัมป์ก็ตาม

แต่ไม่ใช่ว่าจะดึงดันสวนเกมของทรัมป์ ให้ดูสัญญาณตรงนี้ครับ ก่อนจะถึงวันที่ 1 สิงหาคมถ้าประเทศใหญ่ๆ ได้ดีลกับสหรัฐฯ หรือประเทศส่วนใหญ่ยอมจำนนกับทรัมป์กันมากมายแล้ว ไทยก็ควรจะเร่งสปีดแต่ก็ต้องระวังไม่ให้ตกเป็นเหยื่อการเป็นหนูทดลองการทำ Decoupling

แต่ผมเชื่อว่าแม้จะถึงเส้นตายวันที่ 1 สิงหาคม ทรัมป์ก็อาจจะเลื่อนไปอีก เพราะประเทศใหญ่ๆ ไม่ใช่จะตกลงการค้ากันง่ายๆ ตามปกติแล้วการเจรจาพวกนี้ต้องใช้เวลานานหลายปีด้วยซ้ำ โอกาสที่จะเสร็จภายในไม่กี่สัปดาห์นั้นยาก

ยิ่งเป็นเรื่องที่มีเจตนาทำลายล้างรากฐานการค้าไปทั่วโลก คงไม่มีประเทศที่จะเร่งรีบดีลกับทรัมป์แน่นอน

แต่สำหรับประเทศที่เป็นแค่โรงวานผลิตแทนประเทศอื่น และไม่ช่ำชองเรื่องการค้าโลกเหมือนไทย เรื่องนี้ไม่ต้องคิดอะไรมาก แค่รับๆ ดีลไปก็สิ้นเรื่อง

ประเทศไทยทำแบบนั้นไม่ได้ เพื่อนบ้านใหญ่ๆ ในอาเซียนไม่มีชาติไหนทำได้ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงพวกบิ๊กๆ ในทวีปต่างๆ และทั่วโลก

บทความทัศนะโดย กรกิจ ดิษฐาน ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร และบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ The Better

Photo by Brendan SMIALOWSKI / AFP

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก The Better

"มาริษ" ประชุม รมว.กต.อาเซียนที่ประเทศมาเลเซีย พร้อมประเดิมทวิภาคีเวียดนาม-ฟิลิปินส์

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

"แพทองธาร" ประชุม ส.ส. พท. รับดอกไม้ให้กำลังใจ ย้ำเดินหน้าทำงานเต็มที่ จะมุ่งมั่นคืนความชอบธรรม

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความต่างประเทศอื่น ๆ

แม่เอะใจ ลูกชาย 2 ขวบผอมผิดปกติ เช็กกล้องดูน้ำตาไหล เห็นสิ่งที่พี่เลี้ยงเด็กทำ

sanook.com

BYD ส่งมอบ NEV คันที่ 90,000 ในไทย ฉลองครบ 1 ปี เปิดโรงงานในระยอง

Xinhua

จากริมถนนสู่ห้างใหญ่ จากเมืองหลักสู่เมืองรอง ธุรกิจ ‘อาหารไทย’ พัฒนาไม่หยุดในจีน

Xinhua

Asia Album : เกษตรกรอินโดฯ เก็บ ‘สละ’ ลูกโต หวังส่งขายสร้างรายได้ดี

Xinhua

จีนยินดีแบ่งปันความสำเร็จด้าน ‘ยุทโธปกรณ์’ กับมิตรประเทศ

Xinhua

พบจารึกโบราณ ชี้อาจช่วยยืนยันหลุมศพจริงของเจ้าชายต้นแบบ ‘เคานต์แดรกคูลา’

เดลินิวส์

นายกฯ ญี่ปุ่นชี้ภาษีอัตราใหม่ของทรัมป์ ‘น่าเศร้า’ ย้ำปกป้องผลประโยชน์ชาติ

Xinhua

เชิญชมแอ็กติ้ง! Kanna Seto ก้าวไปอีกขั้น ผลงานใหมบท "ดราม่า" นักเรียนสาวถลำรักครู

sanook.com

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...