โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ต่างประเทศ

รัฐบาลญี่ปุ่น หนุนปลูกข้าวแก้ปัญหาราคาแพง

TNN ช่อง16

เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ปัญหาราคาข้าวสารแพง ทำให้ให้รัฐบาลญี่ปุ่นกลับมาส่งเสริมการปลูกข้าวในประเทศอย่างจริงจัง เพื่อการแก้ปัญหาข้าวแพงและขาดแคลนอย่างยั่งยืน

ปัญหาข้าวสารราคาแพงในญี่ปุ่นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อชาวญี่ปุ่นเท่านั้น แต่มีผลถึงนักท่องเที่ยวจำนวนมากด้วย เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศยอดนิยมที่ชาวต่างชาติชอบไปเที่ยว โดยพบว่าปัจจุบันราคาอาหารแพงขึ้น แม้ผลกระทบสำหรับนักท่องเที่ยวอาจมีไม่มากนัก เพราะส่วนใหญ่ไปเที่ยวไม่เกิน 1-2 สัปดาห์ แต่ผลกระทบกับชาวญี่ปุ่นเองถือว่ามีมาก เพราะค่าครองชีพในแต่ละวันที่สูงขึ้นมาก

นับตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ราคาข้าวในญี่ปุ่นสูงขึ้นเป็นเท่าตัวและค่อนข้างขาดแคลน จนต้องระบายข้าวสำรองในคลังออกมา และนำเข้าข้าวจากต่างประเทศเพิ่มเติม ซึ่งก็ช่วยแก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่ง แต่ในความเห็นของเจ้าของร้านขายข้าวสารและชาวญี่ปุ่นมองว่าไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ตรงจุด

ปัญหาอยู่ที่ตลอดช่วง 50 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลญี่ปุ่นให้เงินอุดหนุนแก่เกษตรกรในการปลูกพืชชนิดอื่นที่ไม่ใช่ข้าว เพื่อป้องกันไม่ให้มีผลผลิตข้าวมากเกินไปและมีราคาตกต่ำ ซึ่งกลับกลายเป็นผลเสียเมื่อปีที่แล้ว เมื่อกระทรวงเกษตรญี่ปุ่นคาดการณ์ปริมาณผลผลิตข้าวในปี 2023 ผิดพลาด สภาพอากาศแล้งทำให้ผลผลิตลดลง ส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลนข้าวอย่างรุนแรงในเดือนสิงหาคม ราคาข้าวในญี่ปุ่นจึงพุ่งสวนทางราคาข้าวในตลาดโลกที่ตกต่ำ โดยในช่วงหนึ่งราคาข้าวถุง 5 กิโลกรัม พุ่งไปแตะถึง 4,200 เยน หรือประมาณ 900 บาท เทียบกับราคาข้าวหอมมะลิบ้านเราซึ่งอยู่ที่ประมาณ 140-250 บาท ถือว่าแพงมาก แม้แต่ราคาข้าวในคลังสำรองที่รัฐบาลญี่ปุ่นระบายออกสู่ตลาดก็ยังสูงถึงถุงละ 2,000 เยน หรือประมาณ 450 บาท และยังหาซื้อยากด้วย

การนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับชาวญี่ปุ่น ซึ่งนิยมบริโภคข้าวภายในประเทศ ในที่สุด รัฐบาลญี่ปุ่นก็หันมาส่งเสริมให้เกษตรกรกลับมาปลูกข้าวอย่างจริงจังอีกครั้ง หากมีปริมาณมากก็ส่งออก หากปีไหนผลผลิน้อย แต่ความต้องการภายในประเทศมีสูงก็ลดการส่งออก บริหารทั้งราคาไม่ให้แพงหรือต่ำเกินไป ชาวนาและครอบครัวจะได้ไม่ต้องยกเลิกอาชีพไปทำงานอื่น ๆ เหมือนที่เป็นมาตลอดหลายปี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TNN ช่อง16

รู้จักกับ (Embryo freezing) การแช่แข็งตัวอ่อน เพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ ความหวังของคนอยากมีลูก

50 นาทีที่แล้ว

คนไทยอ่านหนังสืออะไร อ่านมากแค่ไหน ? สํารวจพฤติกรรมการอ่าน-ซื้อหนังสือของคนไทย ปี 67

3 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เปิดสาเหตุ "แผ่นดินไหวลำปาง" ขนาด 3.0 ประชาชนรับรู้แรงสั่นสะเทือน

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

นโยบายภาษีทรัมป์เปลี่ยนเกมการค้าโลกอย่างไรในปี 2025

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความต่างประเทศอื่น ๆ

เครื่องดื่ม 1 ชนิด ที่ "สโตรก" กลัวมาก! ดื่มวันละ 2 แก้ว ดีที่สุด แต่อย่าเติมส่วนผสมนี้

sanook.com

แม่เอะใจ ลูกชาย 2 ขวบผอมผิดปกติ เช็กกล้องดูน้ำตาไหล เห็นสิ่งที่พี่เลี้ยงเด็กทำ

sanook.com

BYD ส่งมอบ NEV คันที่ 90,000 ในไทย ฉลองครบ 1 ปี เปิดโรงงานในระยอง

Xinhua

จากริมถนนสู่ห้างใหญ่ จากเมืองหลักสู่เมืองรอง ธุรกิจ ‘อาหารไทย’ พัฒนาไม่หยุดในจีน

Xinhua

Asia Album : เกษตรกรอินโดฯ เก็บ ‘สละ’ ลูกโต หวังส่งขายสร้างรายได้ดี

Xinhua

จีนยินดีแบ่งปันความสำเร็จด้าน ‘ยุทโธปกรณ์’ กับมิตรประเทศ

Xinhua

พบจารึกโบราณ ชี้อาจช่วยยืนยันหลุมศพจริงของเจ้าชายต้นแบบ ‘เคานต์แดรกคูลา’

เดลินิวส์

นายกฯ ญี่ปุ่นชี้ภาษีอัตราใหม่ของทรัมป์ ‘น่าเศร้า’ ย้ำปกป้องผลประโยชน์ชาติ

Xinhua

ข่าวและบทความยอดนิยม

เอเชียสาหัส "โลกร้อน" กระหน่ำทุกมิติ

TNN ช่อง16

ป่าไม้ทั่วโลกวิกฤต! ปรับตัวช้า ไม่ทันโลกร้อน

TNN ช่อง16

รู้จัก “วีซ่าสภาพภูมิอากาศ” ที่ออสเตรเลียเปิดให้ “ตูวาลู” ประเทศที่กำลังจะจมน้ำหายไป!

TNN ช่อง16
ดูเพิ่ม
Loading...