โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

AI พลิกไทย! 6 สถาบันชี้! ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ-สังคมอย่างยั่งยืน

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สถาบันวิทยาการการค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดงานสัมมนาวิชาการหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง 6 สถาบัน ครั้งที่ 14 ภายใต้หัวข้อ "Ai: THE NEXT GROWTH ENGINE FOR SUSTAINABILITY" ในวันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม 2568 ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มีผู้แทนจากแต่ละหลักสูตรร่วมนำเสนอมุมมองเกี่ยวกับบทบาทของปัญญาประดิษฐ์ (Ai) ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และความยั่งยืนของประเทศ

โดย 6 สถาบันได้นำเสนอหัวข้อที่น่าสนใจดังนี้ หลักสูตร วตท. นำเสนอหัวข้อ “Shift the Mindset, Shape the Future with Ai” หลักสูตร วปอ. นำเสนอหัวข้อ“Thailand Ai Readiness” หลักสูตร ปปร. นำเสนอหัวข้อ “Ai : นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาพลเมืองและประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน” หลักสูตร พตส นำเสนอ หัวข้อ “Ai and Election” บยส. นำเสนอ หัวข้อ “Risk and Governance in Ai Era” และปิดท้ายด้วยหลักสูตร TEPCoT กับหัวข้อ The “NEXT” Possibilities” เนื้อหาสำคัญมีดังนี้

ข่าวท่ีเกี่ยวข้อง:

4 มิติ ‘Unlocking Next Growth’ ปลดล็อกเศรษฐกิจไทยโตยั่งยืน

รู้ก่อนปังก่อน! ‘Epigenetics’ ตัวช่วยวางแผนสุขภาพเฉพาะบุคคล

Ai แรงขับเคลื่อนทุกมิติของชีวิต

อรนุช เลิศสุวรรณกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด ผู้แทนนักศึกษาจากหลักสูตร วตท. รุ่นที่ 36 กล่าวว่า เรากำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญของมนุษยชาติ เมื่อ Ai ไม่ได้เป็นเพียงเทคโนโลยี แต่เป็นแรงขับเคลื่อนที่จะหลอมรวมกับทุกมิติของชีวิต ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และจริยธรรม ในโลกที่เปลี่ยนเร็วเช่นนี้ สิ่งสำคัญไม่ไช่แค่ ‘รู้ทัน’ เทคโนโลยี แต่คือการพัฒนา Mindset ที่กล้าคิด กล้าสร้าง และกล้ารับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการนำ Ai ไปใช้เพื่อแก้ปัญหาสังคม ตั้งแต่การเข้าถึงการศึกษา สุขภาพ ไปจนถึงความเป็นธรรมและความยั่งยืน เราจึงต้องเรียนรู้ใหม่ ไม่ใช่เพื่อแข่งขันกับ Ai แต่เพื่อร่วมออกแบบอนาคตที่ดีกว่าร่วมกัน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

ดร. เสรี นนทสูติ กรรมการสหประชาชาติด้านว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ผู้แทนนักศึกษาจากหลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 67 กล่าวว่า Ai ไม่ใช่แค่เทคโนโลยีเพื่อความสะดวกสบาย แต่เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางยุทธศาสตร์ที่จะกำหนดทิศทางของเศรษฐกิจและความมั่นคงของชาติ และเราจะพร้อมด้านยุทธศาสตร์ Ai ต่อเมื่อเราเป็นคนสร้าง คนขับ และคนบำรุงรักษาเครื่องยนต์ Ai เองโดยไม่ต้องขออนุญาตใช้จากประเทศอื่น

ใช้งาน Ai ต้องตามหลักจริยธรรม โปร่งใส เท่าเทียม

ดร. ปริญญา หอมอเนก ประธานกรรมการบริหารบริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด ผู้แทนนักศึกษาจากหลักสูตร ปปร. รุ่นที่ 28 กล่าวว่า ปัจจุบัน Generative Ai เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วย เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูล มีส่วนร่วม ตรวจสอบได้ และเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ซึ่งเป็นรากฐานของสังคมประชาธิปไตยที่โปร่งใสและยั่งยืนอื่น แต่การใช้งาน Generative Ai ต้องอยู่ภายใต้หลักจริยธรรมความโปร่งใส ความเท่าเทียม และการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาเมืองที่มีคุณภาพ มีวิจารณญาณและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนสังคมอย่างสร้างสรรค์

รศ. ดร. ธนศักดิ์ สายจำปา รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ผู้แทนนักศึกษาจากหลักสูตร พตส. รุ่นที่ 14 กล่าวว่าเราสามารถสร้าง Ai ที่มีความรู้เกี่ยวกับระเบียบกฎหมายและรายละเอียดทุกด้านเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ด้วยการป้อนข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ จนกลายเป็น Ai ที่สามารถใช้เป็นกลไกสำคัญให้กับประชาชน ทั้งในด้านการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้ง รวมถึงการให้รายละเอียดสำคัญเพื่อการตัดสินใจทางการเมืองกับประชาชน นี่จะเป็นพลังขับเคลื่อนใหม่ที่ส่งผลให้การเลือกตั้งในประเทศไทยมีความเสรีและยุติธรรมมากขึ้น

พิพิธ อเนกนิธิ ผู้จัดการใหญ่บริษัท ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ผู้แทนนักศึกษาจากหลักสูตร บ.ย.ส. รุ่นที่ 29 กล่าวว่าโลกกำลังเข้าสู่การปฏิวัติทางเทคโนโลยีอีกครั้ง ความสามารถของ Ai ช่วยสร้างประโยชน์ในหลายมิติแต่ก็เป็นภัยอย่างใหญ่หลวง

แนวทางพัฒนาต้องเริ่มจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน

ปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท Accenture (ThAiland) ผู้แทนนักศึกษาจากหลักสูตร TEPCoT รุ่นที่ 17 กล่าวว่าการปลดล็อกความเป็นไปได้ของ Ai ต้องทำให้ไปได้ไกลมากกว่าแค่การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ต้องยกระดับศักยภาพของมนุษย์ให้ให้ดีขึ้นด้วย ผู้นำยุคใหม่ไม่ใช่แค่เข้าใจเทคโนโลยี แต่ต้องกล้านำด้วยหัวใจ ขับเคลื่อนด้วยจริยธรรม และยืนหยัดบนเป้าหมายที่ชัดเจน เพราะอนาคตที่ยั่งยืน คือวันที่มนุษย์และ Ai เดินไปด้วยกัน ขับเคลื่อนธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ และสร้างกรอบสังคมที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

รัตนพล วงศ์นภาจันทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท สยาม เอไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้แทนนักศึกษาจากหลักสูตร วปอ. วบ. รุ่นที่ 2 ได้กล่าวถึง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบนิเวศทางด้านปัญญาประดิษฐ์ รวมถึง 4 หัวใจหลักที่ขับเคลื่อนการสร้างอธิปไตยเอไอระดับชาติให้เกิดขึ้นได้จริง และประเด็นสำคัญที่คนไทยส่วนใหญ่มักมองข้าม

พล.ต. ธีรวุฒิ วิทยากรณ์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ผู้แทนนักศึกษาจากหลักสูตร ปปร. รุ่นที่ 28 กล่าวว่า ปัญญาประดิษฐ์ (Ai) กำลังกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ ทั้งในด้านวิถีชีวิตของประชาชน รูปแบบการดำเนินงานขององค์กร และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมผ่านแอปพลิเคชันหลากหลายรูปแบบ โดย Ai จะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความสามารถทางการแข่งขันและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ การพัฒนา Ai จำเป็นต้องเริ่มจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะในด้านทรัพยากรมนุษย์ การวิจัยและพัฒนา และการสร้างนวัตกรรม Ai Application ซึ่งเป็นจุดที่ประเทศไทยยังมีคะแนนต่ำในหลายตัวชี้วัดระหว่างประเทศ และควรได้รับการเร่งพัฒนาอย่างเร่งด่วน

พ.ต.ต. กฤติ ม่วงศิริ อาจารย์ (สบ2) คณะสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผู้แทนนักศึกษาจากหลักสูตร พตส. (พนต. รุ่นที่ 1) กล่าวว่า โลกแห่งอนาคตควรสร้างพื้นที่เปิดกว้างและยอมรับความแตกต่างของทุกคน สร้างการมีส่วนร่วมและสะท้อนความต้องการจากทุกภาคส่วน (Inclusive Society) ซึ่งมีเทคโนโลยีเป็นบันไดก้าวข้ามข้อจำกัดและความท้าทาย โดย สำนักงาน กกต. กำลังริเริ่มการต่อยอด Application (Smart Vote) ให้เป็น Single Window Platform นำนวัตกรรมเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการเลือกตั้งในอนาคต

การลงทะเบียนเลือกตั้งด้วยระบบ Facial Registration การตรวจสอบสิทธิและหน่วยเลือกตั้ง การนับคะแนนและประมวลผลแบบต่อเนื่อง เพื่อลดข้อผิดพลาดจาก Human Error การสะท้อนปัญหาและข้อร้องเรียน และการเปิดพื้นที่ ‘Pitching Ideas’ เชื่อมโยงแนวคิดเพื่อขับเคลื่อนการเมืองสร้างสรรค์และการเลือกตั้งที่สะท้อนเสียงจากทุกภาคส่วนของสังคม

ศ.ดร.คณพล จันทน์หอม รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้แทนนักศึกษาจากหลักสูตร บ.ย.ส. รุ่นที่ 29 กล่าวว่า การนำ Ai เข้ามาใช้ในการเรียนการสอนกฎหมาย การใช้และการตีความกฎหมาย จะช่วยให้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

EKH จบซื้อหุ้นคืน 342 ล้านบาท 55 ล้านหุ้น จากวงเงินไม่เกิน 400 ล้านบาท ตั้งแต่ 13ม.ค.-11ก.ค.

8 นาทีที่แล้ว

สรรพสามิตจ่อปรับ ‘เนต้า’ 2 เท่า ค่ายรถผลิตไม่ครบเงื่อนไข EV3.0 กว่า 1.9 หมื่นคัน

28 นาทีที่แล้ว

Infinite Workday การงานล้ำเส้นชีวิต เป็นมือที่ 3 เพิ่มการหย่าร้าง

31 นาทีที่แล้ว

‘ชัยชนะ’ ลุยแก้ยาเสพติด-สุขภาพจิต นำร่องมินิธัญญารักษ์ 5 อปท.

32 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

ชัยชนะ ลุยแก้ปัญหายาเสพติด นำร่อง มินิธัญญารักษ์ 5 อปท.

ฐานเศรษฐกิจ

เปิดโปรเจกต์ 'Part-Time Job Hunter' ปั้นเด็กมีงานทำตั้งแต่ปี 1

กรุงเทพธุรกิจ

โอกาสทอง! รับสมัครฝึกงานญี่ปุ่น IM Japan ฟรี จบแล้วมีเงินก้อน 6แสนบาท

กรุงเทพธุรกิจ

กลาก เกลื้อน โรคที่โดนตีตราว่าสกปรก ผู้ป่วยอายปิดบังเสี่ยงรักษาผิดวิธี

Amarin TV

เผยสาเหตุ ที่ทำให้การแพ้อาหารเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ ทั้งที่ตอนเด็กไม่เคยแพ้

News In Thailand

ม็อบกัญชา 16 ก.ค.นี้! รมว.สธ.ไม่หวั่น สั่งเพิก-ถอนใบอนุญาตเพียบ

กรุงเทพธุรกิจ

PRINC Group ลุยจัดมหกรรมเสริมแกร่งด้านสุขภาพ พร้อมรักษาทันท่วงที

ฐานเศรษฐกิจ

"ศิครินทร์" ติดทำเนียบ "ESG100" 5 ปีซ้อน เดินหน้าพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...