โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

อาการ “โรคแพนิค” สังเกตได้จากพฤติกรรม มักเกิดขึ้นฉับพลัน

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 15 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“โรคแพนิค” (Panic Disorder) หรือโรคตื่นตระหนก เป็นโรควิตกกังวลประเภทหนึ่งที่เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติ (Automatic Nervous System) ทำงานผิดปกติ โดยระบบประสาทนี้เป็นระบบที่ควบคุมการทำงานของร่างกายหลายส่วน

จึงทำให้เกิดอาการหลายอย่างร่วมกัน เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก ท้องไส้ปั่นป่วน วิงเวียน ซึ่งอาการจะเกิดขึ้นแบบฉับพลันแม้ไม่มีสาเหตุหรือมีเรื่องให้ต้องตกใจ ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกกลัว ตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก ไม่กล้าออกไปไหน หมกมุ่นเรื่องสุขภาพ จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน

อาการโรคแพนิค

  • ใจสั่น แน่นหน้าอก
  • หัวใจเต้นแรง
  • หายใจหอบ หายใจถี่
  • เหงื่อออกมาก เหงื่อแตก
  • ตัวสั่นปั่นป่วนในท้อง
  • วิงเวียน คล้ายจะเป็นลม
  • หวาดกลัว รู้สึกกลัวไปหมดทุกอย่าง
  • มือสั่น เท้าสั่น
  • ตัวชา ควบคุมตัวเองไม่ได้

ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคแพนิค

1.อาจเกิดจากสมองส่วนควบคุมความกลัวที่เรียกว่า “อะมิกดาลา” (Amygdala) ทำงานผิดปกติ

2.กรรมพันธุ์ คนที่มีญาติหรือประวัติครอบครัวเป็นโรคแพนิค มีแนวโน้มเป็นได้มากกว่าคนทั่วไป

3.การใช้สารเสพติด

4.ความผิดปกติของฮอร์โมน อาจทำให้สารเตมีในสมองเสียสมดุลได้

5.มีประสบการณ์ เคยผ่านเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิต

6.พฤติกรรมต่างๆ ที่เป็นตัวกระตุ้น เช่น ทำงานกับคอมพิวเตอร์และมือถือนานๆ เผชิญความกดดัน อยู่ในสภาวะที่เร่งรีบ เครียดวิตกกังวล ไม่ออกกำลังกาย พักผ่อนน้อย

7.เครียดสะสม เกิดจากการใช้ชีวิตอย่างจริงจัง เคร่งเครียด อยู่ในสภาวะกดดันเป็นประจำ

วิธีการรักษาโรคแพนิค

โรคแพนิค ไม่ใช่โรคร้ายแรง หรือทำให้มีอันตรายถึงชีวิต แต่ทำให้เกิดความกังวลกับผู้ที่เป็น และต้องรักษาหากกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้โดยปกติ ซึ่งการรักษาแบ่งออกเป็น 2 วิธี ดังนี้

1.การรักษาด้วยยา

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมองเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคแพนิค ดังนั้นการรับประทานยา เพื่อไปปรับสมดุลของสารสื่อประสาทในสมองจึงมีความจำเป็น และใช้เวลาในการรักษาประมาณ 8-12 เดือน โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคของแต่ละบุคคล จากการศึกษาพบว่า ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ที่เป็นโรคนี้ สามารถหายขาดได้

2.การรักษาทางใจ

คือการทำจิตบำบัดประเภทปรับความคิดและพฤติกรรม ซึ่งมีหลายวิธี เช่น

  • ฝึกหายใจในผู้ป่วยที่มีอาการหายใจไม่อิ่ม หายใจเข้า – ออกลึก ๆ ช้า ๆ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากอาการ โดยหายใจเข้าให้ท้องป่องและหายใจออกให้ท้องยุบในจังหวะที่ช้า ซึ่งจะทำให้ร่างกายค่อย ๆ ปรับตัว หลังจากนั้นร่างกายจะเริ่มผ่อนคลายและอาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไปเอง
  • รู้เท่าทันอารมณ์ของตน ตั้งสติ บอกกับตัวเองว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นแค่เรื่องชั่วคราว สามารถหายได้และไม่อันตรายถึงแก่ชีวิต
  • การฝึกการคลายกล้ามเนื้อในผู้ป่วยที่มีอาการปวดศรีษะ หรือปวดตึงกล้ามเนื้อ
  • การฝึกสมาธิ
  • การฝึกคิดในทางบวก

โดยการศึกษาวิจัยพบว่าการรักษาด้วยยาควบคู่ไปกับการรักษาทางด้านจิตใจ เป็นการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด

ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลศิครินทร์ และโรงพยาบาลพระรามเก้า

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

ไทยเทหมดหน้าตักลดภาษี 0% หลายพันรายการให้สหรัฐเอาใจทรัมป์

34 นาทีที่แล้ว

รัฐบาลแจ้ง “เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด” ก.ค.68 เข้าบัญชีแล้ว 2.2 ล้านคน

48 นาทีที่แล้ว

ราคาทองวันนี้ 9 กรกฎาคม 2568 เปิดตลาดราคาทองปรับลดลง 200 บาท

53 นาทีที่แล้ว

ภาษีทรัมป์-หนี้ครัวเรือนพุ่ง ฉุดดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค มิ.ย.68 วูบหนัก

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่นๆ

มะเร็งรังไข่ สาเหตุการเสียชีวิตมากที่สุด ในมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิง

TNN ช่อง16

การศึกษาพบว่าคนที่ “เจ๋ง” มักจะมี 6 สิ่งนี้ที่เหมือนกัน

TNN ช่อง16

Need สตาร์ทอัป AI ด้านสุขภาพ โมเดลใหม่แห่งการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง

กรุงเทพธุรกิจ

กินคลีนห้ามกินอะไรบ้าง เช็กอาหารคลีนเพื่อสุขภาพดูเลย

ฐานเศรษฐกิจ

4 ระยะภาวะสมองเสื่อม อาการเสี่ยงระบบประสาทถดถอย ใกล้สูญเสียความทรงจำ

PPTV HD 36

ตรวจสุขภาพฟรี กทม. ใช้บัตรประชาชนใบเดียว อัปเดตที่นี่

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...