โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

“ลงสรงสนาน” พระราชพิธีเก่าแก่ ที่ ร.5 ทรงจัดขึ้น เพื่อสถาปนามกุฎราชกุมาร

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา
พระราชพิธีลงสรงสนาน สมัยรัชกาลที่ 5 (ภาพจาก สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

พระราชพิธีลงสรงสนาน พระราชพิธีเก่าแก่หาชมยาก ที่ ร.5 ทรงจัดขึ้น เพื่อสถาปนา “มกุฎราชกุมาร” พระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงสถาปนา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อ พ.ศ. 2429 ขณะสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ทรงมีพระชนมายุ 9 พรรษา

วาระมหามงคลคราวนั้น รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีตามโบราณราชประเพณีครั้งกรุงศรีอยุธยา ประกอบด้วย พระราชพิธีเฉลิมพระนามจารึกพระสุพรรณบัฏ พร้อมทั้งมี พระราชพิธีลงสรงสนาน ที่เรียกว่า “พิธีใหญ่” และโปรดให้เรียกการประกอบพระราชพิธีครั้งนี้ว่า พระราชพิธีมหาพิไชยมงคลลงสรงสนานเฉลิมพระปรมาภิไธย

ผศ. ดร. นนทพร อยู่มั่งมี เล่าถึงพระราชพิธีเก่าแก่นี้ไว้ในหนังสือ“สถิตสายขัตติยราช: ธรรมเนียมการสืบราชสมบัติไทย” (สำนักพิมพ์มติชน) ว่า

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีการจัดพระราชพิธีลงสรงฯ ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2356 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ที่ทรงจัดพระราชทาน “เจ้าฟ้ามงกุฎ” ซึ่งต่อมา คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)

หลังจากนั้นได้ว่างเว้นหลายรัชกาล กระทั่งรัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริสืบทอดแบบแผนพระราชพิธีนี้มิให้สูญหาย เพราะผู้รู้ธรรมเนียมการพระราชพิธีเหลืออยู่ไม่มาก จึงทรงใช้โอกาสในการสถาปนาองค์รัชทายาทตั้งการพระราชพิธีขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2429 ห่างจากพระราชพิธีครั้งแรกกว่า 70 ปี

การประกอบพระราชพิธีลงสรงฯ มีขั้นตอนหลายอย่าง ตั้งแต่การเตรียมแพลงสรงสนาน มีลักษณะเป็นแพรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดใหญ่ กว้าง 9 วา สูงพ้นน้ำ 3 ศอก 1 คืบ 6 นิ้ว ทำเป็นแพชั้นนอก ส่วนชั้นในมีน้ำล้อมรอบกั้นราชวัติ (รั้ว) ระหว่างชั้น ศูนย์กลางแพคือปริมณฑลพระกรงเป็นน้ำสำหรับเสด็จลงสรง สร้างพระมณฑปด้วยไม้มะเดื่อครอบ

ภายในยังประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่มีรายละเอียดอีกมาก เช่น ตั้งเทวรูปประจำทั้ง 4 มุม สำหรับให้พราหมณ์อวยชัยเวลาลงสรง พร้อมทั้งสร้างบันไดลงสู่พื้นน้ำ บริเวณรายรอบปักฉัตรเครื่องสูง 7 ชั้น ส่วนกลางมณฑปมีพระกรงสำหรับสรงสนานบุผ้าขาวกรองน้ำโดยรอบทับด้วยลวด มีหลักสำหรับโผจับเวลาสรงสนาน

ด้านตะวันตกตั้งพระแท่นแว่นฟ้าและตั่งไม้มะเดื่อ สำหรับรับน้ำพระพุทธมนต์และน้ำพระกระยาสนาน ริมพระมณฑปในกรงมีมะพร้าวทอง-เงินอย่างละคู่ กุ้งทอง-นาก-เงิน อย่างละ 4 ตัว และปลาทอง-นาก-เงิน อย่างละ 4 ตัว เท่าขนาดกุ้งและปลาจริงๆ ลอยอยู่ทั้ง 4 มุม

ภายนอกแพลงสรงสนาน มีเรือพระราชพิธีลอยลำอารักขา พร้อมด้วยหมอจระเข้กระทำพิธีเวทมนตร์ คอยระวังจระเข้และสัตว์ร้ายไม่ให้เข้ามาในพระราชพิธี ส่วนบรรดาฝีพายต่างทอดแหเรียงกันเป็นลำดับเพื่อป้องกันสัตว์ร้าย

ขั้นตอนสำคัญ “พระราชพิธีลงสรงสนาน”

ผศ. ดร. นนทพร เล่าถึงพระราชพิธีลงสรงสนานอีกว่า เริ่มในช่วงเช้าของวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2429 มีพิธีสงฆ์ ได้แก่ การถวายอาหารบิณฑบาต ส่วนพิธีพราหมณ์ ได้แก่ การอ่านไสยเวทบูชาเทพเจ้าประจำมุมทั้ง 4 ทิศ เมื่อถึงพระฤกษ์แล้ว มโหรีต่างประโคมพร้อมด้วยยิงสลุตต่อเนื่องจนเสร็จสิ้นพระราชพิธี

ส่วนขั้นตอนสำคัญของพระราชพิธีลงสรงสนาน หนังสือ “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร” กรมศิลปากร เล่าไว้ดังนี้

“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับพระกรสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เสด็จลงบันไดแก้วไปยังพระกรงส่งพระราชทานให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์ฯ พาเสด็จลงจุ่มพระองค์ในพระกรงสรงสนานด้วยมะพร้าวคู่ปิดเงินปิดทองถวายให้ทรงว่ายโผไปมา 3 เที่ยว แล้วขึ้นประทับบนพระแท่นแว่นฟ้าเหนือตั่งไม้อุทุมพรรองด้วยใบไม้ทรงเหยียบตามตำรับราชประเพณี ผินพระพักตร์ไปสู่มงคลทิศ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสอดพระมหาธำมรงค์นพรัตน พระราชทานน้ำพระมหาสังข์ทักษินาวัฏและน้ำพระเต้าเบญจครรภพระมหาสังข์ 5 พระมหาสังข์ 3 น้ำพระพุทธมนต์และน้ำพระกระยาสนาน กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระวันรัตน สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ถวายน้ำพระปริต ครอบพระกริ่ง แล้วพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้าฝ่ายในถวายน้ำพระพุทธมนต์”

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเป็นรัชทายาทจนถึงพระชนมายุ 16 พรรษา เนื่องด้วยเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2437

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง :

นนทพร อยู่มั่งมี. สถิตสายขัตติยราช: ธรรมเนียมการสืบราชสมบัติไทย. กรุงเทพฯ : มติชน, 2567

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2568

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : “ลงสรงสนาน” พระราชพิธีเก่าแก่ ที่ ร.5 ทรงจัดขึ้น เพื่อสถาปนามกุฎราชกุมาร

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.silpa-mag.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ศิลปวัฒนธรรม

“ทหารทั้งหลาย! อย่าสู้เพื่อระบอบทาส จงสู้เพื่อเสรีภาพเถิด” บทอมตะจากหนังล้อเผด็จการ

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

3 อันดับแซ่จีน ที่มีมากสุดในประเทศไทย มีอะไรบ้าง?

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

รัชกาลที่ 4 รับสั่ง นับถือศาสนา ต้องคิดให้ละเอียด ไม่ควรนับถือตามพ่อแม่

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

สืบหาพระญาติวงศ์สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชผู้ “ไร้ญาติขาดมิตร” ?

8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

การกินกระเทียมเพื่อลดไขมันแบบเห็นผล

Manager Online

บทเพลง รอยสัก ความรัก และ Dept ย้อนดูความทรงจำผ่านบทเพลง ก่อนฝังเป็นรอยสัก

ONCE

“ไพน์เฮิร์สท” ของดีเมืองปทุมฯ ครบทั้งกอล์ฟและไลฟ์สไตล์!

สยามรัฐวาไรตี้

ค่าใช้จ่ายศูนย์รับเลี้ยงเด็กอ่อน ต้องรู้อะไรบ้างก่อนวางแผนฝากลูก

new18

มูลนิธิรามาธิบดีฯ จับมือ 5 ศิลปินดัง ส่งต่อ “ความสุขไม่มีที่สิ้นสุด”

Manager Online

รู้จัก "นัตโตะ" ถั่วเน่าญี่ปุ่น ที่ประโยชน์ล้นเหลือ กินอย่างไรให้อร่อย แถมดีต่อสุขภาพ

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

Ozzy Osbourne ตำนานเจ้าชายความมืดแห่งวงการดนตรีเฮฟวีเมทัล

LSA Thailand

2 ไส้กรอกไทย ไส้กรอกอีสาน ไส้อั่ว ติดท็อป 5 สุดยอดไส้กรอกแห่งเอเชีย

GM Live

ข่าวและบทความยอดนิยม

สืบหาพระญาติวงศ์สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราชผู้ “ไร้ญาติขาดมิตร” ?

ศิลปวัฒนธรรม

“ลงสรงสนาน” พระราชพิธีเก่าแก่ ที่ ร.5 ทรงจัดขึ้น เพื่อสถาปนามกุฎราชกุมาร

ศิลปวัฒนธรรม

จักรพรรดิญี่ปุ่นยกพระราชธิดาให้ ร.6 (?) ไทยเกือบมีพระราชินีเป็นราชนารีแห่งแดนอาทิตย์อุทัย

ศิลปวัฒนธรรม
ดูเพิ่ม
Loading...