โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

“พระตัณหังกร” พระอดีตพุทธเจ้า ตรัสรู้ใต้ต้น “ตีนเป็ด” !?

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 1 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว
พระตัณหังกรพุทธเจ้า

เมื่อล่วงถึงช่วงนับถอยหลังสู่ศักราชใหม่ ลมหนาวหอบพัดเอากลิ่นหอม (ฉุน) ที่หลายคนคุ้นเคยและจำนวนหนึ่งรู้สึกแขยงเข้าไส้อย่างกลิ่นดอกพญาสัตบรรณ หรือ “ตีนเป็ด” ให้ตลบอบอวลไปทั่ว และกลิ่นรุนแรงนี้ดูจะเป็นข้อพิพาทประจำปลายปีระหว่างคนกับต้นไม้ไปเสียแล้ว

แต่รู้หรือไม่ว่า ต้นไม้เจ้าปัญหาข้างต้นมีบทบาทโดดเด่นอยู่ในคัมภีร์พุทธศาสนา ระดับเดียวกับ “ต้นโพธิ์” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เพราะ “พญาสัตบรรณ” คือต้นไม้ที่พระอดีตพุทธเจ้าประทับตอนตรัสรู้เช่นกัน

คัมภีร์บาลีพุทธวงศ์อธิบายถึง “พระอดีตพุทธเจ้า”ว่าเป็นพระพุทธเจ้าก่อนพระศากยโคดมพุทธเจ้า (พระสิทธัตถะ) พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ประกอบด้วยพระพุทธ 27 องค์ (พระโคดม ลำดับ 28)

ใน ชินกาลมาลีปกรณ์ที่พระรัตนปัญญาเถระรจนาเป็นภาษาบาลี และ ร.ต.ท. แสง มนวิทูร แปลเป็นภาษาไทย เป็นตำราเล่มสำคัญที่เล่าถึงพระอดีตพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ระบุว่า ใน “สารมัณฑกัป” มีพระพุทธเสด็จอุบัติ 4 พระองค์ ได้แก่ พระตัณหังกร พระเมธังกร พระสรณังกร และพระทีปังกร

สำหรับ พระตัณหังกรพุทธเจ้าพระอดีตพุทธเจ้าลำดับแรก ได้รับการพรรณนากาลตรัสรู้ของพระองค์ไว้ ดังนี้

“ในพระพุทธ ๔ พระองค์นั้น พระโพธิ์สัตว์ตัณหังกร บำเพ็ญบารมี ๑๖ อสงไขยแสนกัปมาแล้ว ทรงเกิดเป็นพระราชโอรสของพระนางสุนันทา อัครมเหสีของพระเจ้าอานันท ในนครปุปผวดี ครองฆราวาสอยู่ ๑๐,๐๐๐ ปี เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์

ทรงกระทำความเพียรอยู่ ๗ วัน ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธที่โคนต้น ‘พญาสัตบรรณ’ (ต้นตีนเป็ดขาว) ดำรงพระชนม์อยู่ ๑๐๐,๐๐๐ ปี จึงปรินิพพาน”

กล่าวคือ พระตัณหังกรพุทธเจ้า ตรัสรู้ใต้ต้น “ตีนเป็ด” นั่นเอง

แล้วพระอดีตพุทธเจ้าองค์อื่น ๆ ตรัสรู้ใต้ต้นอะไรบ้าง? ชินกาลมาลีปกรณ์ระบุพฤกษชาติที่พระอดีตพุทธเจ้าเสด็จประทับก่อนตรัสรู้แตกต่างกันไปในแต่ละพระองค์ เช่น

พระเมธังกรตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าที่โคนต้น “กิงสุกะ”หรือต้นทองกวาว

พระสรณังกร ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าที่โคนต้น “ปาตลี”หรือต้นแคฝอย

พระทีปังกร ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าที่โคนต้น “ปิบผลิ”หรือต้นเลียบ

และ พระโกญฑัญญะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าที่โคนต้น “สาลกัลยาณี” หรือต้นขานาง

ไม่พบหลักฐานชี้ชัดว่า เหตุใดคัมภีร์พุทธศาสนาจึงให้ความสำคัญกับต้นพญาสัตบรรณ ถึงขั้นให้เป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระอดีตพุทธเจ้าลำดับที่ 1 อย่างพระตัณหังกร มีเพียงร่องรอยความเชื่อในอินเดียที่นิยามว่า ต้นไม้นี้คือสัญลักษณ์การ “ตื่นรู้” เพราะกลิ่นฉุนของมันทำให้มนุษย์เกิดสมาธิจดจ่อ และเกิดสภาวะ “ตระหนักรู้” (หากผู้อ่านมีข้อมูลเพิ่มเติม แสดงความเห็นแลกเปลี่ยนไว้จะเป็นความกรุณาอย่างยิ่ง)

ถึงอย่างนั้น สำหรับคนแพ้กลิ่นดอกตีนเป็ดคงไม่ใช่แค่ “ตระหนัก” อย่างเดียว แต่จะพา “ตระหนก” เอาด้วย

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง :

พระรัตนปัญญาเถระ, แสง มนวิทูร แปล. (2501). ชินกาลมาลีปกรณ์.พระนคร : กรมศิลปากร.

พรสวรรค์ อัมรานนท์. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาพจิตรกรรมฝาผนังของไทย เรื่องพระอดีตพุทธเจ้ากับวรรณกรรมพุทธศาสนา. ดำรงวิชาการ. (PDF Online)

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2567

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : “พระตัณหังกร” พระอดีตพุทธเจ้า ตรัสรู้ใต้ต้น “ตีนเป็ด” !?

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.silpa-mag.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ศิลปวัฒนธรรม

26 กรกฎาคม 1956 อียิปต์ยึด “คลองสุเอซ” คืนจาก “อังกฤษ-ฝรั่งเศส”

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“เฉลว” เครื่องรางขับไล่ภูตผี มรดกความเชื่อโบราณกลุ่มชนคนไท

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“ดับบาวาลา” อาชีพส่งปิ่นโตในเมืองมุมไบ เก่าแก่กว่า 130 ปี ส่งแม่น ส่งไว ติดอันดับโลก

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

โรงเลี้ยงเด็กแห่งแรกในสยาม ของพระอรรคชายาเธอใน ร.5 ที่มา “ตรอกโรงเลี้ยงเด็ก”

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

ถ้ำทองพรรณรา...ประทับใจเมื่อได้เห็น

กรุงเทพธุรกิจ

พระซุ้มนครโกษา จังหวัดลพบุรี

สยามรัฐ

‘ลำไย’ อินทรีย์ สวนนิเวศเกษตร สู่ อาหารไฟน์ไดนิ่งสุดสร้างสรรค์

กรุงเทพธุรกิจ

บอลวันนี้ ดูบอลสด ถ่ายทอดสด โปรแกรมฟุตบอล วันเสาร์ที่ 26 ก.ค. 68

PostToday

ราดหน้ายอดผัก ‘อภิโภชน์’ สูตรต้นตำรับ 50 ปี ของอร่อยซอยมัยลาภ

กรุงเทพธุรกิจ

26 กรกฎาคม 1956 อียิปต์ยึด “คลองสุเอซ” คืนจาก “อังกฤษ-ฝรั่งเศส”

ศิลปวัฒนธรรม

“เฉลว” เครื่องรางขับไล่ภูตผี มรดกความเชื่อโบราณกลุ่มชนคนไท

ศิลปวัฒนธรรม

“ดับบาวาลา” อาชีพส่งปิ่นโตในเมืองมุมไบ เก่าแก่กว่า 130 ปี ส่งแม่น ส่งไว ติดอันดับโลก

ศิลปวัฒนธรรม

ข่าวและบทความยอดนิยม

“พระตัณหังกร” พระอดีตพุทธเจ้า ตรัสรู้ใต้ต้น “ตีนเป็ด” !?

ศิลปวัฒนธรรม

คติ “พระจักรพรรดิราช” ที่แฝงอยู่ในพระนาม “พระราชโอรส” ในรัชกาลที่ 5

ศิลปวัฒนธรรม

“สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” วีรบุรุษของ 3 กษัตริย์ไทยแห่งราชวงศ์จักรี

ศิลปวัฒนธรรม
ดูเพิ่ม
Loading...