โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ส.อ.ท. โยนโจทย์ ผู้ว่า ธปท. คนใหม่ เร่งแก้ปัญหาหนี้ทั้งระบบ ปรับดอกเบี้ยนโยบายสอดคล้องเศรษฐกิจ

ไทยโพสต์

อัพเดต 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ส.อ.ท. โยนโจทย์ ผู้ว่า ธปท. คนใหม่ เร่งแก้ปัญหาหนี้ทั้งระบบ ลุยเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะการหนี้ครัวเรือนและหนี้เอสเอ็มอี ดำเนินการด้านการเงินที่ยืดหยุ่น ปรับดอกเบี้ยนโยบายให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน

23 ก.ค. 2568 - นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงสิ่งที่ต้องการให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คนใหม่เร่งดำเนินการ ว่า ภายใต้เศรษฐกิจไทยที่เผชิญกับความเสี่ยงรอบด้าน นโยบายด้านการเงิน หรือ Monetary Policy ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้สามารถก้าวข้ามความท้าทายทางเศรษฐกิจได้ ดังนั้น สิ่งที่ภาคเอกชนต้องการเห็นจากนายวิทัย รัตนากร ผู้ว่า ธปท. ท่านใหม่เป็นเรื่องแรก ๆ คือการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนและหนี้เอสเอ็มอี ซึ่งสะสมมานานตั้งแต่วิกฤตโควิดจนถึงปัจจุบัน ส่งผลทำให้ประชาชนต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยเงินกู้ เงินที่หาได้ไม่พอกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ผู้ประกอบการรายย่อยต่างประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินและต้องปิดกิจการ

รวมถึงปัญหาหนี้นอกระบบยังคงซ้ำเติมประชาชนและนำไปสู่ปัญหาลูกโซ่ทางสังคม ซึ่งจากงานวิจัยพบว่า คนไทยมีหนี้นอกระบบและในระบบรวมกันอยู่ถึง 104% ต่อ GDP การแก้ไขปัญหาหนี้ทั้งระบบจึงควรถูกยกระดับให้เป็นวาระแห่งชาติ แบงก์ชาติต้องบูรณาการความร่วมมือทั้งภาครัฐ ธนาคาร และกลุ่ม Non-Bank ในการแก้ไขปัญหา เช่น การลดดอกเบี้ยเงินกู้ การส่งเสริมการปรับโครงสร้างหนี้ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน มาตรการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง การส่งผ่านดอกเบี้ยนโยบายที่เป็นธรรม รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการสร้างหนี้ที่มีคุณภาพ เสริมสร้างวินัยทางการเงิน และการวางแผนหนี้สินอย่างมีคุณภาพ เพื่อเป็นเกราะคุ้มกันมิให้เกิดปัญหาซ้ำอีกในระยะยาว

ขณะเดียวกัน ภาคการส่งออกและอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากนโยบายภาษีทรัมป์ ซึ่งอาจส่งผลทำให้มูลค่าการส่งออกของไทยในปีนี้ขยายตัวได้ต่ำกว่าที่คาด

ดังนั้น ธปท.ต้องดำเนินนโยบายด้านการเงินที่มีความยืดหยุ่น โดยเฉพาะการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน มีการออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเพื่อบรรเทาผลกระทบจากภาษีทรัมป์ และช่วยในการเปลี่ยนผ่านธุรกิจ ทั้งในด้านการปรับตัวของ Supply Chain และการหาตลาดใหม่เพิ่มเติม ที่สำคัญธปท.ต้องเข้ามากำกับดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่ามากเกินไป หรือมีความผันผวนสูง ซึ่งจะเป็นการซ้ำเติมผู้ส่งออกของไทยที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า (Trade War) ในช่วงนี้

อย่างไรก็ตาม เชื่อมั่นว่าด้วยความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของนายวิทัย รัตนากร ว่าที่ผู้ว่าแบงก์ชาติท่านใหม่ จะสามารถขับเคลื่อนนโยบายทางการเงินและมาตรการต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับระบบการเงิน และยกระดับให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคนี้ได้

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ไทยโพสต์

เข้าสู่ยุคสิ้นหวัง

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ที่ปรึกษา‘หวย’?

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘สนิทเบอร์ไหน’

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘ลาง’ แห่งการ ‘อำลา’

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่น ๆ

จาก ‘กากกาแฟ’ สู่ ‘อิฐยั่งยืน’ตามเทรนด์ Second Life ตอบโจทย์ SDG

เดลินิวส์

เปิดแล้ว “ASEAN Tools Expo 2025” เวทีเครื่องมือช่างระดับอาเซียน

ฐานเศรษฐกิจ

อดีตผู้ว่าททท.ถอดรหัสตลาดท่องเที่ยวไทย ย้ำเร่งกู้จีนเที่ยวไทย

ฐานเศรษฐกิจ

อายิโนะโมะโต๊ะ เผย 3 แผนใหญ่ ปี 68 หลังทำรายได้ 3.2 หมื่นล้าน

SMART SME

ผู้ช่วยฯ “จักรพล” เดินหน้ายกระดับธุรกิจที่พักเพื่อการท่องเที่ยว จับมือกระทรวงมหาดไทย ผลักดันแนวทางเชิงรุก หนุนผู้ประกอบการเข้าระบบ

สวพ.FM91

Thai economic sectors at risk without reforms amid US trade talks

Thai PBS World

Broker ranking 23 Jul 2025

Manager Online

'รองนายกฯพิชัย' หารือประธานฯ บริษัท MinebeaMitsumi Inc. หนุนลงทุนต่อเนื่องในไทย พร้อมผลักดันด้านโลจิสติกส์และพลังงาน

VoiceTV

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...