ย้อนรอยตำนาน "พระเจ้าแตงหวาน" สู่ "คำสาปชัยวรมัน" ที่ถูกจารึกไว้ในศิลา
สำหรับสถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่าง "ไทย-กัมพูชา" ในปี พ.ศ. 2568 ที่พุ่งขึ้นสู่จุดเดือด กลายเป็นความขัดแย้งที่ชัดเจนที่สุดในรอบทศวรรษ ไม่ใช่แค่ปลุกกระแสสังคมให้หันมาสนใจเรื่องการเมืองระหว่างประเทศอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แต่ยังลามไปถึงประเด็นทางประวัติศาสตร์ หลักฐานโบราณคดี ไปจนถึงความเชื่อจากตำนานเก่าแก่ที่ถูกนำมาเชื่อมโยงกันอย่างเข้มข้น เป็นเรื่องราวที่สร้างความฮือฮาและกลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง เมื่อเหตุการณ์ฟ้าผ่ากลางปราสาทนครวัด เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2568 ที่ผ่านมา เกิดขึ้นภายหลังการ "ถอนคำสาป" ลึกลับ ทำให้ชื่อของ "พระเจ้าแตงหวาน" และ "คำสาปชัยวรมัน" กลับมาอยู่ในความสนใจของผู้คนอีกครั้ง
“คนปลูกแตง” กับ “คำสาปชัยวรมัน”
เรื่องนี้เริ่มต้นจากปลายราชวงศ์พระนคร เมื่อกษัตริย์องค์สุดท้ายของสายพระเจ้าสุริยวรมันที่๑ อย่างพระเจ้าชัยวรมันที่๙ ทรงถูกล้มอำนาจโดยชายธรรมดาผู้หนึ่ง ที่มีชื่อว่า “แตงหวาน” ชายชาวบ้านผู้มีอาชีพปลูกแตงผู้รวบรวมกลุ่มกบฏ ลุกขึ้นโค่นราชวงศ์เก่า สังหารกษัตริย์ผู้สืบสายเลือดสุริยวรมัน แล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ของอาณาจักรขอม “พระเจ้าแตงหวาน” หรือสมเด็จพระองค์ชัย หรือที่รู้จักในพระนาม “พระเจ้าตระซ็อกประแอม” พระเจ้าแผ่นดินแห่งเมืองพระนครหลวงกัมพูชา ทรงครองสิริราชสมบัตในปี ค.ศ. ๑๒๙๐ - ๑๓๑๔
แล้วทำไมจึงเกี่ยวกับ “คำสาปชัยวรมัน”?
เนื่องจาก “พระเจ้าสุริยวรมันที่๑ ” ครองราชย์ช่วงปี ค.ศ. ๑๐๐๒ - ๑๐๕๐) ทรงเป็นกษัตริย์ผู้รวมอาณาจักรได้อย่างมั่นคง ปกครองด้วยระเบียบ และมีความเข้มแข็งทางการเมือง พระองค์ทรงทำ “คำสาป” เอาไว้ในศิลาจารึก โดยระบุว่า… “ผู้ใดทรยศต่อเรา (สุริยวรมัน) และลูกหลาน จะตกอยู่ในความพินาศตลอดไป ถูกต่างชาติยึดครอง ถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ไม่พัฒนา ไม่มีวันชนะลูกหลานของเราได้ และจะเผชิญภัยพิบัติซ้ำแล้วซ้ำเล่า”
จึงสรุปได้ว่า “พระเจ้าสุริยวรมันที่๑” เป็นผู้สาป กลุ่มกบฏที่ล้มราชวงศ์ และผู้ลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของอาณาจักรขอม นั่นรวมถึง “แตงหวาน” ผู้โค่นล้มพระเจ้าชัยวรมันที่๘ กษัตริย์องค์สุดท้ายเชื้อสายสุริยวรมัน และขึ้นครองราชย์ เมื่อ “แตงหวาน” ขึ้นครองราชย์ คำสาปก็เริ่มทำงาน (ในความเชื่อของผู้คนบางส่วน) เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในกัมพูชาหลายช่วงสอดคล้องกับคำสาปนี้อย่างน่าฉงน การตกเป็นเมืองขึ้น ถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ สงครามกลางเมือง สูญเสียดินแดน
และเมื่อไม่นานมานี้ ( ๑๕ พฤษภาคม ๖๘ ) เหตุฟ้าผ่าที่นครวัด หลังจากมีการ “ถอนคำสาป” ก็ทำให้ชื่อของ “พระเจ้าแตงหวาน” และ “คำสาปชัยวรมัน” กลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้ง การที่เหตุฟ้าผ่าเกิดขึ้นหลังจากการกล่าวถึง "การถอนคำสาป" จึงทำให้ผู้คนจำนวนมากเชื่อมโยงเหตุการณ์นี้เข้ากับตำนานเก่าแก่ทั้งสอง โดยมองว่าเป็นสัญญาณหรือเหตุการณ์เหนือธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายหลังการปลดปล่อยบางสิ่งบางอย่างตามความเชื่อโบราณ เรื่องราวเหล่านี้แม้จะเป็นตำนาน แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงความผูกพันของผู้คนกับประวัติศาสตร์และความเชื่อที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานในภูมิภาคนี้